อำเภอขุขันธ์

อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.ขุขันธ์)

ขุขันธ์ (ภาษาเขมร ស្រុកគោកខណ្ឌ) เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับจังหวัดศรีสะเกษ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมร

อำเภอขุขันธ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khukhan
คำขวัญ: 
ขุขันธ์เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี
บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน
กะอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน
ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอขุขันธ์
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอขุขันธ์
พิกัด: 14°42′48″N 104°11′54″E / 14.71333°N 104.19833°E / 14.71333; 104.19833
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด914.309 ตร.กม. (353.017 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด149,683 คน
 • ความหนาแน่น163.71 คน/ตร.กม. (424.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33140
รหัสภูมิศาสตร์3305
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ ถนนไกรภักดี ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

และเป็นที่ตั้งดั้งเดิมของ "เมืองขุขันธ์" "จังหวัดขุขันธ์" ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน และเขตอำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก ซึ่งรวมพื้นที่ของอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอน้ำขุ่น และอำเภอนาเยีย  จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบันนี้ด้วย และยังลงไปถึงดินแดนในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งหมด 3 เมืองที่ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ในอดีต ได้แก่ เมืองมโนไพร เมืองอุทุมพรพิไสย(บ้านกันตวด) และเมืองกันทรรักษ์(ตำบลห้วยลำแสนไพรอาบาล)

ประวัติเมืองขุขันธ์ แก้

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณที่เป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ ในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนชาติพันธุ์เขมรและชนชาติพันธ์กวย ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนที่สำคัญ คือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ซึ่งต่อมาเป็นเมืองขุขันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๒ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกได้แตกโรงไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเขตภูเขาพนมดงรัก จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทหารคู่พระทัย คือ ทองด้วงและบุญมา นำไพร่พลออกติดตาม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก ตากะจะ หัวหน้ากลุ่มชนบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน และเชียงขัน ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง​คือ เชียงปุ่มแห่งบ้านเมืองที เชียงสีแห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะแห่งบ้านอัจจะปะนึง และเชียงไชยแห่งบ้านจาระพัด ออกติดตามจนพบและสามารถจับพระยาช้างเผือกได้ และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน และเชียงขัน เป็นหลวงปราบ ผู้ช่วยนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน

  • ปี พุทธศักราช ๒๓๐๒ ทองด้วงและบุญมา ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชาวเขมรป่าดง ทั้ง 5 กลุ่มข้างต้น ออกติดตามจับพระยาช้างเผือกแห่งกรุงศรีอยุธยาได้
  • ปี พุทธศักราช ๒๓๐๖ โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ขึ้นเป็น เมืองขุขันธ์ และ หลวงแก้วสุวรรณ ได้เลื่อนเป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๔๐ โปรดเกล้าฯเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง เจ้าเมืองขุขันธ์ เป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์
  • ปลายปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ ย้ายศาลากลางเมืองขุขันธ์ไปตั้งบริเวณศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ แต่ยังคงใช่ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ เปลี่ยนชื่ออำเภอขุขันธ์ เป็นอำเภอห้วยเหนือ
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ ยุบเมืองศรีสะเกษและเมืองเดชอุดมโดยให้อำเภอที่ขึ้นกับเมืองทั้งสองไปขึ้นกับเมืองขุขันธ์
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯเปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็นจังหวัดขุขันธ์
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติการตั้งตำบลต่าง ๆ แก้

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์ มณฑลอุบล เป็น อำเภอห้วยเหนือ[1]
  • วันที่ 24 มิถุนายน 2466 ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอห้วยเหนือ[2]
  • วันที่ 2 ธันวาคม 2466 ยุบตำบลห้วยใต้ ไปรวมกับท้องที่ตำบลห้วยเหนือ และยุบตำบลดินแดง ไปรวมกับท้องที่ตำบลลาวเดิม[3]
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2467 โอนพื้นที่ตำบลกันทรารมย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ไปขึ้นกับ อำเภอห้วยเหนือ (อำเภอขุขันธ์)[4]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2481 โอนพื้นที่ตำบลผักไหม (ยกเว้นหมู่ 6,10,13,14) ของอำเภอขุขันธ์ ไปขึ้นกับ อำเภออุทุมพรพิสัย[5]
  • วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 6,10,13,14 (ในขณะนั้น) ของตำบลผักไหม ไปขึ้นกับตำบลพิมาย[6]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2481 ยุบตำบลตาอุด ไปรวมกับท้องที่ของตำบลสะเดาใหญ่[7]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลลาวเดิม อำเภอขุขันธ์ เป็น ตำบลดินแดง[8]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 12,13,14 (ในขณะนั้น) ของตำบลโสน ไปขึ้นกับตำบลปรือใหญ่[9]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2484 ตั้งตำบลหนองเชียงทูน แยกออกจากตำบลสมอ[10]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลในเขตท้องที่อำเภอขุขันธ์ (1,2,3)[11]
    • (1) ตั้งตำบลตะเคียน แยกออกจากตำบลจะกง และตำบลดินแดง
    • (2) ตั้งตำบลบักดอง แยกออกจากตำบลสิ
    • (3) ตั้งตำบลดองกำเม็ด แยกออกจากตำบลใจดี
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2494 เปลี่ยนแปลงเขตตำบล และหมู่บ้านในท้องที่อำเภอขุขันธ์ (1,2,3,4,5,6,7)[12]
    • (1) โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลจะกง ไปตั้งเป็นหมู่ 1 ของตำบลตะเคียน
    • (2) โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลตะเคียน ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลจะกง
    • (3) โอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลตะเคียน ไปตั้งเป็นหมู่ 7 ของตำบลดินแดง
    • (4) โอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลดินแดง ไปตั้งเป็นหมู่ 11 ของตำบลปราสาทเยอ
    • (5) โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลดินแดง ไปตั้งเป็นหมู่ 12 ของตำบลปราสาทเยอ
    • (6) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลดินแดง ไปตั้งเป็นหมู่ 13 ของตำบลปราสาทเยอ
    • (7) โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลสมอ ไปตั้งเป็นหมู่ 12 ของตำบลกันทรารมย์
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2498 แยกพื้นที่ตำบลขุนหาญ ตำบลสิ ตำบลกันทรอม และตำบลบักดอง อำเภอขุขันธ์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอขุนหาญ ขึ้นกับอำเภอขุขันธ์ และเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอขุขันธ์ และอำเภอกันทรลักษ์ โดย โอนพื้นที่ตำบลพราน และตำบลไพร อำเภอกันทรลักษ์ ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอขุนหาญ อำเภอขุขันธ์ และโอนพื้นที่หมู่ 6,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ ไปขึ้นกับตำบลบักดอง กิ่งอำเภอขุนหาญ อำเภอขุขันธ์[13]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยเหนือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยเหนือ[14]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลขุนหาญ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสิ[15]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขุนหาญ อำเภอขุขันธ์ เป็น อำเภอขุนหาญ[16]
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2503 แยกพื้นที่ตำบลหนองเชียงทูน ตำบลสมอ ตำบลพิมาย และตำบลกู่ อำเภอขุขันธ์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปรางค์กู่ ขึ้นกับอำเภอขุขันธ์[17]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุขันธ์ เป็น อำเภอปรางค์กู่[18]
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลไพรบึง ตำบลสำโรงพลัน ตำบลปราสาทเยอ และตำบลดินแดง อำเภอขุขันธ์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอไพรบึง ขึ้นกับอำเภอขุขันธ์[19]
  • วันที่ 5 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลตาอุด แยกออกจากตำบลสะเดาใหญ่[20]
  • วันที่ 5 กันยายน 2515 ตั้งตำบลห้วยใต้ แยกออกจากตำบลห้วยเหนือ[21]
  • วันที่ 14 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลละลม แยกออกจากตำบลโสน[22]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2518 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอไพรบึง อำเภอขุขันธ์ เป็น อำเภอไพรบึง[23]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลโคกตาล แยกออกจากตำบลปรือใหญ่ ตั้งตำบลนิคมพัฒนา แยกออกจากตำบลปรือใหญ่ ตำบลห้วยเหนือ ตำบลห้วยใต้ และตำบลตาอุด[24]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลห้วยตามอญ แยกออกจากตำบลละลม[25]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลโคกเพชร แยกออกจากตำบลใจดี[26]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลปราสาท แยกออกจากตำบลกันทรารมย์ ตั้งตำบลตะเคียนราม แยกออกจากตำบลปรือใหญ่ ตั้งตำบลห้วยตึ๊กชู แยกออกจากตำบลละลม และตำบลโสน[27]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลสำโรงตาเจ็น แยกออกจากตำบลหัวเสือ ตั้งตำบลห้วยสำราญ แยกออกจากตำบลห้วยเหนือ[28]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลดงรัก แยกออกจากตำบลโคกตาล ตั้งตำบลกฤษณา แยกออกจากตำบลจะกง[29]
  • วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลโคกตาล ตำบลห้วยตามอญ ตำบลห้วยตึ๊กชู ตำบลละลม ตำบลตะเคียนราม และตำบลดงรัก อำเภอขุขันธ์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูสิงห์ ขึ้นกับอำเภอขุขันธ์[30]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลลมศักดิ์ แยกออกจากตำบลตะเคียน ตั้งตำบลหนองฉลอง แยกออกจากตำบลนิคมพัฒนา[31]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลศรีตระกูล แยกออกจากตำบลตาอุด[32]
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2536 ตั้งตำบลไพรพัฒนา แยกออกจากตำบลห้วยตามอญ[33]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอภูสิงห์ อำเภอขุขันธ์ เป็น อำเภอภูสิงห์[34]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลศรีสะอาด แยกออกจากตำบลกันทรารมย์[35]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลห้วยเหนือ เป็นเทศบาลตำบลห้วยเหนือ[36]
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ เป็น เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์[37]

ดูเพิ่ม แก้

 
ต้นตาลเก้ายอด
  • ตาลโตนดมียอดถึง 9 ยอด และมีอายุอยู่คู่กับเจ้าเมืองถึง 9 คน เป็นต้นตาลที่มีความแปลกเพราะลำต้นเดียว แต่แตกแขนงลำต้นออกเป็น 9 แขนง 9 ยอด เคยมีชีวิตและตั้งต้นตระหง่านมาตั้งแต่กำเนิดเมืองขุขันธ์ ณ หมู่บ้านตาดม หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษได้ล้มตายลงเมื่อปี พ.ศ. 2509 ปัจจุบันยังคงเหลือแต่เพียงร่องรอยภาพถ่ายแห่งอดีตมาถึงปัจจุบัน
  • วัดทั้ง 4 แห่งเมืองขุขันธ์ ประกอบด้วย วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์ วัดเขียนบูรพาราม วัดบกจันทร์นคร และวัดไทยเทพนิมิต วัดทั้ง 4 วัด เป็นวัดที่เก่าแก่มีความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของเมือง คู่กับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัดกลางอัมรินทราวาสเป็นศูนย์กลาง

วัดเก่าแก่ของเมืองขุขันธ์ แก้

  • ทิศเหนือ วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ปัจจุบันคือ บ้านเจ๊ก หมูที่ 7 ตำบลห้วยเหนือ
  • ทิศตะวันออก วัดเขียนบูรพาราม (เดิมชื่อ วัดเขมร แต่เรียกเพี้ยนเป็น วัดเขียน) ชุมชนชาวเขมร ปัจจุบันคือ บ้านพราน หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยเหนือ
  • ทิศใต้ วัดบกจันทร์นคร ชุมชนชาวลาว(เวียงจันทน์) ปัจจุบันคือ บ้านบก หมู่ที่ 13 ตำบลห้วยเหนือ
  • ทิศตะวันตก วัดไทยเทพนิมิต ชุมชนชาวไทย ปัจจุบันคือ บ้านห้วย หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยเหนือ

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอขุขันธ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านขาม บ้านหนองครอง บ้านหนองหิน บ้านหนองตลาด ตำบลดู่ ตำบลโพธิ์ศรี ตำบลสมอ ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ และ ตำบลศรีสำราญ ตำบลวังหิน อำเภอวังหิน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโนนปูน ตำบลดินแดง ตำบลไพรบึง ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโพธิ์กระสังข์ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ และ ตำบลโคกตาล ตำบลตะเคียนราม ตำบลห้วยตึ๊กชู ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด ตำบลตาคง อำเภอสังขะ ตำบลหนองแวง อำเภอศรีณรงค์ (จังหวัดสุรินทร์)
     
    อาณาเขตของเมืองขุขันธ์ ในอดีต ครอบคลุมถึงเขตอำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก ซึ่งรวมพื้นที่ของอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอทุ่งศรีนคร และกิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบันนี้ด้วย ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ เล่ม ๓๔ หน้า ๔๐ และหน้า ๖๓ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๖๐ ซึ่งลงนามโดยมหาเสวกเอก เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ประกาศมา ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้เป็นที่สะดวกในทางราชการและเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งแห่งประชุมชนทั่วไปว่าอำเภอใดคงเรียกตามชื่อเดิม อำเภอใดเปลี่ยนชื่อเรียกตามนามตำบล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศชื่ออำเภอ ทั้งที่คงชื่อเดิมและเปลี่ยนชื่อใหม่ ดังบัญชีท้ายประกาศนี้ใช้เป็นระเบียบในราชการสืบไป - อำเภอเมือง เป็น อำเภอห้วยเหนือ - อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ เป็น อำเภอศีร์ษะเกษ - อำเภอราษีไสล เป็น อำเภอคง - อำเภอกันทรารักษ์ เป็น อำเภอน้ำอ้อม - กิ่งบัวบุณฑริก เป็น กิ่งโพนงาม - อำเภออุทุมพรพิสัย คงเรียก อำเภออุทุมพรพิสัย - อำเภอกันทรารมย์ คงเรียก อำเภอกันทรารมย์ - อำเภอเดชอุดม คงเรียก อำเภอเดชอุดม

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอขุขันธ์ แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 หลวงสุรัตนามัย (บุญมี ขุขันธิน) 2450-2453
2 พระพิชัยราชวงษา (บุญมี ศรีอุทุมพร) 2453-2456
3 ขุนศิริไศลรักษ์ (แป้น ส่องศรี) 2459-2461
4 นายสุวรรณ ศรีเพ็ญ 2461-2462
5 ขุนชิต สารการ (เคลือบ ประถมรักษ์) 2462-2464
6 หลวงวัฒนวงษ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฎ) 2464-2468
7 หลวงประชากรเกษม (เป้ย ส่องศรี) 2468-2476
8 นายโสภณ อรจันทร์ 2476-2480
9 นายตุ้ม สุวรรณกูฎ 2480-2488
10 นายสุวิช ศิริกูล 2488-2493
11 นายมนูญ สุวรรณสำริด 2493-2495
12 ร.ต.ท. ยนต์ ประพิตภา 2495-2499
13 นายอำนาจ รักษาสัตย์ 2499-2500
14 นายเทิ้ม ช่างเรียน 2500-2501
15 นายยอด อ่อนโอภาส 2501-2511
16 นายสม ทัดศรี 2511-2514
17 นายสมศักดิ์ ไทยสะเทือน 2514-2519
18 นายสมัย รัตนจันทร์ 2519-2520
19 นายสงวน วัฒนานันท์ 2520-2521
20 ร.อ.อริยะ อุปาระมี 2521-2523
21 นายวิศิษฐ์ วรรณศิริ 2523-2526
22 นายบุญตา หาญวงศ์ 2526-2529
23 นายปริญญา ปานทอง 2529-2530
24 เรือตรี สนอง มโหทาน 2530-2532
25 นายสุนาย ลาดคำกรุง 2532-2535
26 นายวนิชย์ ฤทธิ์เดช 2535-2539
27 นายเนาวรัตน์ บุญหล้า 2539-2542
28 นายฉันท์ กาเมือง 2542-2543
29 นายชูศักดิ์ อุปนันท์ 2543-2547
30 นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา 2547-2550
31 นายเผด็จ แนบเนียน 2550-2551
32 นายอนุรัตน์ ลีธีระประเสริฐ 2551-2557
33 นายสมศักดิ์ นิสัยสม 2557-2558
34 นายสำรวย เกษกุล 2558-2560
35 นายสุรชัย ยุติธรรมนนท์ 2560-2561
36 นายสะอาด วงศ์รักษ์ 2561-2563
37 นายสุริยา บุตรจินดา 2563-2564
38 นายอรรถพล อรรคบุตร 2564-2565

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

อำเภอขุขันธ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 914.3 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งเหมาะสำหรับการทำนาปลูกข้าวและเพาะปลูกพืชไร่

สภาพสังคม แก้

อำเภอขุขันธ์ ทั้งหมดเป็นสังคมชนบทแบบเกษตรกรรม ประกอบด้วยประชากรหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ ได้แก่ เขมร กูย(กวย) ลาว และจีน โดยภาษาที่ใช้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาไทยอีสาน ภาษาถิ่นเขมร และภาษากูย(กวย) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

สภาพเศรษฐกิจ แก้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม จะประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ โดยมีพื้นที่การเกษตร 313,504 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา และพืชไร่ มีอาชีพเสริม ที่สำคัญ ตามข้อมูลจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มผลิตภัณฑ์จากมือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ครุน้อย กลุ่มผลิตภัณฑ์เกวียนน้อย และ กลุ่มผลิตอบใบตาล ฯลฯ รายได้เฉลี่ยต่อคน/ต่อปี 32,440 บาท โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง ธนาคาร 8 แห่ง

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอขุขันธ์แบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 22 ตำบล 276 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กันทรารมย์ (Kanthararom) 11 หมู่บ้าน
2. จะกง (Chakong) 13 หมู่บ้าน
3. ใจดี (Chai Di) 11 หมู่บ้าน
4. ดองกำเม็ด (Dong Kammet) 11 หมู่บ้าน
5. โสน (Sano) 23 หมู่บ้าน
6. ปรือใหญ่ (Prue Yai) 20 หมู่บ้าน
7. สะเดาใหญ่ (Sadao Yai) 17 หมู่บ้าน
8. ตาอุด (Ta Ut) 9 หมู่บ้าน
9. ห้วยเหนือ (Huai Nuea) 14 หมู่บ้าน
10. ห้วยใต้ (Huai Tai) 13 หมู่บ้าน
11. หัวเสือ (Hua Suea) 14 หมู่บ้าน
12. ตะเคียน (Takhian) 12 หมู่บ้าน
13. นิคมพัฒนา (Nikhom Phatthana) 10 หมู่บ้าน
14. โคกเพชร (Khok Phet) 11 หมู่บ้าน
15. ปราสาท (Prasat) 9 หมู่บ้าน
16. สำโรงตาเจ็น (Samrong Ta Chen) 17 หมู่บ้าน
17. ห้วยสำราญ (Huai Samran) 11 หมู่บ้าน
18. กฤษณา (Kritsana) 13 หมู่บ้าน
19. ลมศักดิ์ (Lom Sak) 11 หมู่บ้าน
20. หนองฉลอง (Nong Chalong) 10 หมู่บ้าน
21. ศรีตระกูล (Si Trakun) 7 หมู่บ้าน
22. ศรีสะอาด (Si Sa-at) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอขุขันธ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 23 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเหนือ เฉพาะหมู่ที่ 1, 6, 14
  • เทศบาลตำบลศรีสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันทรารมย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจะกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะกงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลใจดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลใจดีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดองกำเม็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปรือใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาอุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาอุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเหนือ เฉพาะหมู่ที่ 2–5, 7–13
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเสือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเพชรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงตาเจ็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงตาเจ็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสำราญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกฤษณาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลมศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลมศักดิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองฉลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีตระกูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีตระกูลทั้งตำบล

สภาพทางสังคม แก้

การสาธารณสุข แก้

  • โรงพยาบาลขนาด 120 เตียง ระดับแม่ข่าย 1 แห่ง
    • โรงพยาบาลขุขันธ์
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 27 แห่ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนบังอีง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใจดี
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันจาน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอาวอย
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนุน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคล้า
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือใหญ่
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือคัน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับทิมสยาม 06
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองลุง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมบูรณ์
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเสือ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนช่างเหล็ก
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกวางขาว
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองกลาง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเพชร
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปราสาท
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรงตาเจ็น
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาก๊อก
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกฤษณา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวิทย์
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรอย
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมซอยกลาง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนน
  • ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 1 แห่ง
    • ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ
  • สำนักงานสาธารณสุข 1 แห่ง
    • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์

การศึกษา แก้

โรงเรียนในตัวอำเภอ 4 แห่ง แก้

  • โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล
  • โรงเรียนขุขันธ์วิทยา
  • โรงเรียนขุขันธ์
  • โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง

ระดับประถมศึกษา 89 แห่ง แก้

อาทิ

  • โรงเรียนทับทิมสยาม 06
  • โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์
  • โรงเรียนบ้านปรือใหญ่
  • โรงเรียนบ้านหลัก
  • โรงเรียนบ้านปรือคัน
  • โรงเรียนบ้านสมบูรณ์
  • โรงเรียนบ้านแขว
  • โรงเรียนตาดม
  • โรงเรียนบ้านปราสาทกวางขาว

ระดับมัธยมศึกษา 9 แห่ง แก้

สถาบันการอาชีวศึกษา 2 แห่ง แก้

สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง แก้

  • มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์ขุขันธ์ (โต้รุ่งขุขันธ์)
  • สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยชีวิตขุขันธ์ (มรภ.สุรินทร์)
  • วิทยาลัยเอเชียไซเบอร์เทคโนโลยี ศูนย์โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์การศึกษาทางไกล ศูนย์อำเภอขุขันธ์

อื่น ๆ แก้

  • สกร.อำเภอขุขันธ์ (เดิม กศน.อำเภอขุขันธ์)
  • ห้องสมุดประชาชนอำเภอขุขันธ์
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แก้

  • สถานีตำรวจ 3 แห่ง
    • สถานีตำรวจภูธรขุขันธ์
    • สถานีตำรวจภูธรปรือใหญ่
    • สถานีตำรวจภูธรจะกง
  • ตู้ยาม 6 แห่ง
    • ตู้ยามรัตนากรวิสุทธิ์ (สภ.ขุขันธ์)
    • ตู้ยามตรางสวาย (สภ.ขุขันธ์)
    • ตู้ยามนาเจริญ (สภ.ขุขันธ์)
    • ตู้ยามกันทรารมย์-ปราสาท-ศรีสะอาด (สภ.ขุขันธ์)
    • ตู้ยามสะเดาใหญ่ประชาร่วมใจ (สภ.ขุขันธ์)
    • ตู้ยามนิคมพัฒนา (สภ.ปรือใหญ่)

ธนาคาร 7 แห่ง แก้

การศาสนา แก้

วัดและที่พักสงฆ์สังกัดมหานิกาย แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๖ ตำบลคณะสงฆ์ ดังนี้

  • คณะสงฆ์ตำบลห้วยเหนือ ประกอบด้วย
    • วัดกลาง ขุขันธ์ พระราชปริยัตยาทร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ
    • วัดไทยเทพนิมิตร
    • วัดเขียนบูรพาราม
    • วัดสะอางโพธิญาณ
    • วัดบกจันทร์นคร
    • วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์
    • ที่พักสงฆ์ชัยมงคลพัฒนาราม
    • ที่พักสงฆ์บ้านตะแบก
  • คณะสงฆ์ตำบลห้วยใต้ ประกอบด้วย
    • วัดปราสาทใต้
    • วัดบ้านแขว
    • วัดสมบูรณ์
    • วัดตาดม
    • วัดนิคมสายเอก
    • ที่พักสงฆ์บ้านสระรุน
    • ที่พักสงฆ์ทุ่งอินทราวาส
  • คณะสงฆ์ตำบลห้วยสำราญ ประกอบด้วย
    • วัดบ้านแทรง
    • วัดเสลานาก๊อก
    • วัดราษีพัฒนา
    • วัดคะนาสามัคคี
    • ที่พักสงฆ์บ้านนาก๊อก
    • ที่พักสงฆ์ป่าทอง
  • คณะสงฆ์ตำบลใจดี-ศรีสะอาด ประกอบด้วย
    • วัดทะลอก
    • วัดลำภู
    • วัดใจดี
    • วัดศรีสะอาด
    • วัดทุ่งบังอีงวิหาร
    • ที่พักสงฆ์อังกุลสมใจ
    • ที่พักสงฆ์ป่าพะเยียว
    • ที่พักสงฆ์ภูมิร่มเย็น
  • คณะสงฆ์ตำบลดองกำเม็ด ประกอบด้วย
    • วัดกระโพธิ์ช่างหม้อ
    • วัดบ้านบิง
    • วัดดองกำเม็ด
    • วัดกันจาน
    • วัดตราดพัฒนาราม
    • ที่พักสงฆ์พิหารตรางสวาย
    • ที่พักสงฆ์ตาโคล
  • คณะสงฆ์ตำบลโคกเพชร ประกอบด้วย
    • วัดโนนสำราญ
    • วัดภูมิศาลา
    • วัดโคกเพชร
    • วัดระกา
    • วัดเสลาสุขเกษม
    • วัดเกาะบึงโบราณ
    • ที่พักสงฆ์เปี่ยมตะลวก
  • คณะสงฆ์ตำบลหัวเสือ ประกอบด้วย
    • วัดหัวเสือ พระสุภัทรกิจจากร รองเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์
    • วัดบ้านสวงษ์
    • วัดห้วยสระภูมิ
    • วัดคลองสุด
    • วัดประปุนราษฎร์บำรุง
    • วัดหนองกันแจ่ม
  • คณะสงฆ์ตำบลสำโรงตาเจ็น ประกอบด้วย
    • วัดบ้านศาลา
    • วัดสำโรงตาเจ็น
    • วัดป่าโนนสาย
    • วัดกระโพธิ์เริมรมย์
    • วัดเริงรมย์
    • วัดเสวตวนาราม
  • คณะสงฆ์ตำบลกฤษณา ประกอบด้วย
    • วัดกฤษณา
    • วัดสวัสดี
    • วัดฮ่องธาตุ
    • วัดหนองเข็ง
    • วัดสระบานสนวน
  • คณะสงฆ์ตำบลจะกง ประกอบด้วย
    • วัดกะกำ
    • วัดตาสุด
    • วัดจะกง
    • วัดตะเคียนน้อย
    • วัดศรีกองหลวง
    • วัดไลย์ชัยมงคล
    • ที่พักสงฆ์โนนเจียงเฒ่า
  • คณะสงฆ์ตำบลตะเคียน-ลมศักดิ์ ประกอบด้วย
    • วัดตะเคียน
    • วัดจันลม
    • วัดหนองกาด
    • วัดอาทิ
    • วัดบ้านกลาง-ป่าใหญ่
    • ที่พักสงฆ์ตาเสก
    • ที่พักสงฆ์ป่ามหาศรีนวล
    • ที่พักสงฆ์ประชานิมิตบ้านเวียน
  • คณะสงฆ์ตำบลสะเดาใหญ่ ประกอบด้วย
    • วัดเขวิกศรีสระจันทร์
    • วัดสำโรงสูง
    • วัดบ้านติมรัตนาราม
    • วัดตาอุด
    • วัดศรีโกธาราราม
    • ที่พักสงฆ์อุดมมงคล
  • คณะสงฆ์ตำบลนิคมพัฒนา-ศรีตระกูล ประกอบด้วย
    • วัดค่ายนิคม
    • วัดกวางขาว
    • วัดตรอยนิคม
    • วัดเคาะกุปวารีย์
    • วัดศรีตระกูล
    • ที่พักสงฆ์สนวนไตรสามัคคี
  • คณะสงฆ์ตำบลปรือใหญ่ ประกอบด้วย
    • วัดปรือคัน พระครูพิศิษฏ์ธรรมานุศาสก์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์
    • วัดปรือใหญ่ พระครูประภัศรสุตาลังการ เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์
    • วัดตาเบ๊าะเกษมงคล พระครูโสตถิขันธคุณ เจ้าคณะตำบลปรือใหญ่
    • วัดโนนสมบูรณ์
    • วัดโพธิ์สว่าง
    • วัดป่าเสรีธรรม
    • ที่พักสงฆ์คลองแก้ว
    • ที่พักสงฆ์ร่มโพธิ์บุญ
  • คณะสงฆ์ตำบลโสน ประกอบด้วย
    • วัดอาวอย พระครูสุตธรรมวิวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์
    • วัดขนุน
    • วัดโสน
    • วัดหนองคล้า
    • วัดป่าหนองคล้าใต้
    • วัดสนามสามัคคี
    • วัดนาเจริญพัฒนา
    • วัดหนองผือเทพสถิตย์
    • ที่พักสงฆ์ป่าหนองจอก
    • ที่พักสงฆ์ป่าบารมีธรรม (สวาย)
    • ที่พักสงฆ์คำเผือ
    • ที่พักสงฆ์โคกกี่
    • ที่พักสงฆ์แหลมทอง
  • คณะสงฆ์ตำบลกันทรารมย์-ปราสาท ประกอบด้วย
    • วัดโคกโพน พระมหามังกร กนฺตปุญโญ เจ้าคณะอำเภอขุขันธ์
    • วัดโสภณวิหาร
    • วัดโคกสูง
    • วัดจันทราปราสาท
    • วัดบ่อทอง
    • ที่พักสงฆ์ศรีหนองไผ่
    • ที่พักสงฆ์บ้านสะพาน
    • ที่พักสงฆ์โคกเพชรสวาย

วัดและที่พักสงฆ์สังกัดธรรมยุติกนิกาย ได้แก่

    • วัดป่าหนองโพธิ์ พระครูวิศาลธรรมพินิจ เจ้าคณะอำเภอขุขันธ์ (ธ)
    • วัดถ้ำสระพงษ์ พระครูเขมจิตสุนทร เจ้าคณะอำเภอบัวเชด-สังขะ (ธ)
    • วัดป่าอาวอย
    • ที่พักสงฆ์ป่าเรียมพัฒนาราม
    • ที่พักสงฆ์ป่ามะม่วงบารมีธรรม

การคมนาคม แก้

ทางหลวงแผ่นดินที่ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ แก้

ทางหลวงชนบทที่ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ แก้

  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.2002 (บ้านตาคง-บ้านนาเวียง) ระยะทางรวม 21.3 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 13 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.2043 (บ้านตาอุด-ขุนหาญ) ระยะทางรวม 19.3 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 6.03 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.2046 (แยก ทล.24-บ้านห้วย) ระยะทางรวม 20.7 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 0.2 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.2048 (บ้านสมบูรณ์-บ้านแดง) ระยะทางรวม 7.51 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 7.51 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3015 (แยก ทล.221-บ้านจันลม) ระยะทางรวม 36.09 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 3.49 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3016 (บ้านบิง-ไพรบึง) ระยะทางรวม 17.9 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 12.4 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3023 (บ้านบุสูง-บ้านตะเคียนช่างเหล็ก) ระยะทางรวม 27 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 15.1 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3027 (บ้านศาลา-บ้านกำแมด) ระยะทางรวม 7.41 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 6.38 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3082 (เลียบคลองส่งน้ำชลประทานเขื่อนห้วยศาลา-บ้านสวายเพ็ง) ระยะทางรวม 17.98 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 9.18 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.4035 (บ้านละลม-แยก รร.ปรือใหญ่วิทยบัลลังก์) ระยะทางรวม 15.9 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 1.11 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.4047 (บ้านราษีพัฒนา-บ้านบ่อทอง) ระยะทางรวม 24.8 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 24.8 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.4066 (เลียบคลองส่งน้ำชลประทานเขื่อนห้วยศาลา-บ้านกระเบา) ระยะทางรวม 21.13 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 11.2 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.5050 (ขุขันธ์-บ้านสำโรงพลัน) ระยะทางรวม 16.72 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 12.2 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.5079 (ทางไปฝายบ้านยางชุมภูมิตำรวจ) ระยะทางรวม 2.56 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 2.56 กม.
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.5080 (ทางไปฝายบ้านเศวต) ระยะทางรวม 1.67 กม. ตัดผ่านพื้นที่อำเภอ 1.67 กม.

แยกที่สำคัญ แก้

  • แยกขุขันธ์ ตำบลห้วยเหนือ (จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 และทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.5050 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกขุขันธ์ ตำบลห้วยใต้ (จุดสิ้นสุดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 ที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24)
  • แยกโคกตาล ตำบลนิคมพัฒนา (จุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24)
  • แยกนาเจริญ ตำบลโสน (จุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24)
  • แยกนิคมสายเอก ตำบลหนองฉลอง (จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกตรางสวาย ตำบลดองกำเม็ด (จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกบ้านบิง ตำบลดองกำเม็ด (จุดเริ่มต้นของทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3016 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกบ้านแทรง ตำบลห้วยสำราญ (จุดเริ่มต้นของทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.7075 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201)

ระยะทางจากอำเภอขุขันธ์ไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด แก้

อำเภอ ระยะทาง (กิโลเมตร)
อำเภอเมืองศรีสะเกษ 50
กันทรลักษ์ 59
กันทรารมย์ 77
อุทุมพรพิสัย 76
ราษีไศล 86
อำเภอไพรบึง 25
อำเภอขุนหาญ 33
ปรางค์กู่ 30
ห้วยทับทัน 87
บึงบูรพ์ 90
อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ 78
อำเภอเมืองจันทร์ 80
อำเภอศิลาลาด 112
อำเภอโนนคูณ 85
อำเภอศรีรัตนะ 42
อำเภอพยุห์ 40
อำเภอเบญจลักษ์ 66
อำเภอยางชุมน้อย 80
อำเภอวังหิน 26
อำเภอภูสิงห์ 26
อำเภอน้ำเกลี้ยง 70

ระยะทางจากอำเภอขุขันธ์ไปยังอำเภอสำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดใกล้เคียง แก้

อำเภอ ระยะทาง (กิโลเมตร)
เมืองอุบลราชธานี 122
วารินชำราบ 118
เดชอุดม 109
พิบูลมังสาหาร 153
น้ำยืน 112
เมืองสุรินทร์ 93
สังขะ 45
ปราสาท 93.4
รัตนบุรี 105
เมืองบุรีรัมย์ 148
ประโคนชัย 128
นางรอง 160
ลำปลายมาศ 180
เมืองนครราชสีมา 260
ปักธงชัย 250
โชคชัย 231
สีคิ้ว 289
ปากช่อง 325
กรุงเทพมหานคร 483

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์ แก้

อยู่ในตำบลห้วยเหนือ เป็นวัดที่มีประวัติแปลกไปจากวัดอื่น ๆ เพราะสร้างโดยคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองขุขันธ์ในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

  • ปราสาทกุด หรือปราสาทวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ ตั้งอยู่ในเขตวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ บริเวณบ้านเจ๊ก ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลาย กลายเป็นเนินโบราณสถาน มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนเนินดินใหญ่ ผนังแต่ละด้านจะก่ออิฐเป็นช่องคล้ายประตู โดยก่ออิฐทึบทั้งหมด มีความสูงประมาณ 15 เมตร ส่วนยอดหักพังลงมาจนถึงเรือนธาตุ โบราณสถานแห่งนี้คงสร้างมาในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือพุทธศตวรรษที่ 23-24 และปราสาทนี่เองสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ปราสาทสี่เลี่ยมโคกลำดวน ในอดีต ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน หรือเมืองขุขันธ์
     
    ปราสาทวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์
  • ตู้พระธรรมของวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ เป็นงานศิลปะฝีมือที่สวยงามมาก ผู้พระธรรมลายรดน้ำมีขนาด 1.58 เมตร กว้าง 0.64 เมตร ยาว 0.93 เมตร บานประตูเขียนลายกนกเปลว ด้านข้างทั้งสองเขียนลวดลายพันธุ์ไม้ลวดลายที่เขียนขึ้นมีภาพเล่าเรื่องประกอบทุกด้านลักษณะลวดลายของตู้พระธรรมนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก ภาคกลางอยู่มาก ถึงแม้จะมีสอดแทรกลายพื้นเมืองอยู่บ้านก็ตามลายกรอบบานประตูดอกไม้คล้ายดอกพุดตานและขาตู้ซึ่งมีลักษณะแบบจีนนิยมทำกันอย่างแพร่หลายในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสันนิษฐานได้ว่าตู้พระธรรมนี้มีอายุได้ 100 ปี มาแล้วหรือ ในราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์
วัดเขียนบูรพาราม แก้

วัดเขียนบูรพาราม เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ ตั้งอยู่ที่บ้านพราน ตำบลห้วยเหนือ​ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2323 สมัยพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(เชียงขัน) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 2 ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปศักดิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์อีกองค์หนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลต่างพากันมากราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต เมื่อได้แวะเวียนมาเยี่ยมเยือนเมืองขุขันธ์ ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้มุงด้วยสังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบแกะสลักเป็นลายพันธุ์พฤกษา ส่วนที่จั่วสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่เรียกว่า หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูง 6.80 เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกัน ระหว่างศิลปล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวขุขันธ์มาแต่ในอดีต ภายนอกอุโบสถทั้งสี่มุมมีธาตุ ลักษณะศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียงสามองค์ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุด อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย ที่จังหวัดยโสธร วัดเขียนบูรพาราม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 50 ตารางวา

วัดกลางอัมรินทราวาส แก้

เป็นวัดขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์การศึกษาและการบริหารการปกครองสงฆ์อำเภอขุขันธ์

วัดโสภณวิหาร แก้

ตั้งอยู่ที่ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

วัดลำภูรัมพนิวาส แก้

วัดลำภู ตั้งอยู่ ณ ตำบลใจดี เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรกเริ่มของการก่อเกิดของเมืองขุขันธ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2133 เชื่อกันว่าเป็นวัดเคยเป็นที่จำพรรษาของพระราชครูบัว ซึ่งเป็นอาจารย์ของตากะจะ หรือพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก เมื่อระหว่างปี พ.ศ. 2249-2321 ในอดีตยุคนั้นวัดลำภู แห่งนี้เป็นจุดรวมพล และเป็นสถานที่ประกอบพิธีปรกพลให้ฮึกเหิมก่อนที่จะนำทัพของเมืองขุขันธ์ออกไปร่วมรบกับกองทัพของกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี ในสมรภูมิต่างๆจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง และนอกจากนี้ วัดลำภู ยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วเนรมิต และองค์พญาครุฑ” สิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศต่างแวะเวียนกันมากราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลและเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

ศาลหลักเมืองขุขันธ์ แก้
  • ศาลหลักเมืองเก่า ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดกลางอัมรินทราวาส มีลักษณะเหมือนศาลเจ้าของคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากได้รับการดูแลจากชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ ไม่ทราบหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองขุขันธ์ ซึ่งมีอายุ 200 กว่าปีมาแล้ว และมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2488 ฝ่ายพันธมิตรได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่เมืองขุขันธ์ กะจะทิ้งระเบิดให้ตกลงตรงใจกลางเมือง ขณะนั้นก็ได้ยินเสียงเหมือนมีคนควบม้าไปทั่วเมือง ทำให้นักบินมองไม่เห็น จึงได้ปลดระเบิดลงที่"เวียลตาย"แทน ซึ่งก็คือพื้นที่ระหว่างโรงเรียนขุขันธ์วิทยากับบ้านบกในปัจจุบัน จึงทำให้เมืองขุขันธ์รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตรในคราวนั้น
  • ศาลหลักเมืองใหม่ ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณอนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(ตากะจะ) วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 และยกเสาเอกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากมีการประชุมกันระหว่างฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสในพื้นที่เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน เห็นว่าศาลหลักเมืองเก่ามีขนาดเล็ก พื้นที่คับแคบ ทัศนียภาพไม่สง่างาม และไม่เป็นที่สังเกตของผู้ที่ผ่านไปมา จึงมีมติให้สร้างศาลหลักเมืองใหม่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว โดยมีท่านเจ้าคุณพระรัตนากรวิสุทธิ์ รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้าง และได้รับการร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการบริจาคทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ในปัจจุบันก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) แก้

ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอ ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ดำเนินการก่อสร้างโดยเทศบาลตำบลห้วยเหนือ (ปัจจุบัน คือ เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์) โดยได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างส่วนหนึ่งจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ บริเวณโดยรอบของอนุสาวรีย์จะเป็นสวนหย่อม บริเวณด้านทิศใต้จะมีรูปปั้นพระยาช้างเผือกและครอบครัว ส่วนบริเวณด้านหน้าจะเป็นลานอนุสาวรีย์ ซึ่งจะถูกใช้ประโยชน์เป็นลานออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปชาวอำเภอขุขันธ์ ทุก ๆ ช่วงเวลาเย็น และใช้เป็นลานจัดกิจกรรม "งานรำลึกพระยาไกรภักดีฯ ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี" ซึ่งเป็นงานบุญปประเพณีที่สำคัญของอำเภอขุขันธ์ และจัดอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี

    • วัตถุประสงค์ในการสร้างอนุสาวรีย์เจ้าเมืองขุขันธ์
  • 1. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงประวัติศาสตร์ของเมืองขุขันธ์และความดีของบรรพบุรุษ สมัยนั้นมีเจ้าเมืองทั้งหมดกี่คนและมีใครบ้าง
  • 2. เพื่อต้องการเทิดทูนความกล้าหาญ คุณงามความดีที่ท่านได้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์ขึ้นมาเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเกียรติคุณของเจ้าเมืองขุขันธ์
  • 3. เป็นศูนย์รวมใจของชาวอำเภอขุขันธ์
  • 4. เป็นที่สักการะบูชาของชาวอำเภอขุขันธ์ และนักท่องเที่ยวที่สัญจรไปมาได้กราบไหว้
  • 5. เสริมสร้างความสามัคคีของชาวอำเภอขุขันธ์ทุกคนให้เกิดความรักชาติ รักแผ่นดินเกิด
  • 6. ให้เกิดความภาคภูมิใจในบ้านเกิด
วิหารเจ้าแม่กวนอิมพันมือ แก้

ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณด้านทิศเหนือของวัดเจ็กโพธิพฤกษ์

ปราสาทตาเล็ง แก้
 
ปราสาทตาเล็ง

ปราสาทตาเล็ง ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท หมู่ที่ 1 ตำบลปราสาท เป้นปราสาทหินโบราณที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17

หนองสะอาง แก้

ตั้งอยู่ที่หมู่ 12 บ้านสะอาง ตำบลห้วยเหนือ เป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ และเป็นหนองที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ และยังเป็นแหล่งหาปลาของคนในชุมชน

โครงการทับทิมสยาม 06 แก้
  • หมู่บ้านทับทิมสยาม 06
  • อ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 06
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ตั้งอยู่ภายในโครงการทับทิมสยาม 06 บ้านนาจะเรีย หมู่ที่ 13 ตำบลปรือใหญ่ อยู่ทางทิศใต้ของตำบลตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ระยะทางห่างจากตัวอำเภอขุขันธ์ ประมาณ 18 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่สองตำบลในสองอำเภอ คือ ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ กับ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ
  • ผาประสพชัย เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
  • สถานีเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ทับทิมสยาม 06
วัดถ้ำสระพงษ์ แก้

ประเพณีที่สำคัญ แก้

 
ประเพณีแซนโฎนตา

ถึงแม้ว่าอำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบันจะมีหลายเผ่าพันธุ์ มีจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นอันหลากหลาย แต่เราทุกชนทุกเผ่าก็อาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างมีความสุข เมื่อสังคมเปลี่ยน อารยธรรมเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรมย่อมบูรณาการ ดังจะเห็นได้ว่า การจัดงานประเพณีแซนโฎนตาของอำเภอขุขันธ์ทุกปีนั้น ไม่ได้มีเฉพาะคนไทยเชื้อสายเขมร กูย(กวย) เท่านั้น แต่ยังมีคนไทยเชื้อสายลาว ไทย และจีน มาร่วมกันบูชาเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเมืองขุขันธ์ร่วมกันอีกด้วย ซึ่งก็ยิ่งทำให้ “งานประเพณีแซนโฎนตาของอำเภอขุขันธ์” เป็นที่รู้จักเลื่องลือไปไกลระดับประเทศ และต่างประเทศ ประเพณีแซนโฎนตาของอำเภอขุขันธ์ เป็นประเพณีแห่งความกตัญญูของลูกหลาน ช่วงแห่งการรวมญาติ และแสดงออกถึงความสมัครสมานสามัคคีของบุตรหลานที่จะต้องมาร่วมกันเซ่นไหว้ทำบุญอุทิสส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษของตน และเมืองขุขันธ์ร่วมกัน

อำเภอขุขันธ์ ร่วมกับ ส่วนราชการ กลุ่มพลังมวลชน ราชการท้องถิ่น ท้องที่ และสภาวัฒนาธรรมอำเภอขุขันธ์ จึงได้ร่วมกันจัดงาน และยกระดับการจัดงานเป็นประเพณีแซนโฎนตาของอำเภอขุขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงาม และให้คนไทยทุกชนชาติพันธุ์ที่อาศัยในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้สมัครสมานสามัคคีกัน ร่วมกันอนุรักษ์สืบสาน และส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพบุรุษ และร่วมกันแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษของชาวเมืองขุขันธ์ทุกท่าน และเป็นการประชาสัมพันธ์ประเพณีสำคัญอันเป็นรากเหง้าของความรุ่งเรืองด้านวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณของเมืองขุขันธ์ ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ภายใต้ชื่องานอันเป็นที่รู้จักกันดีว่า "งานรำลึกพระยาไกรภักดีฯ ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี" ซึ่งลูกหลานชาวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในช่วงข้างแรม ของเดือนสิบ ทุกปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. [1] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
  2. [2]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย แผนกสุขาภิบาล เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอห้วยเหนือ
  3. [3]ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่อำเภอห้วยเหนือ จังหวัดขุขันธ์ สำหรับตำบลห้วยใต้ ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลห้วยเหนือ และตำบลดินแดง ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลลาวเดิม
  4. [4]ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลกันทรารมย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งโอนไปขึ้นในท้องที่อำเภอห้วยเหนือ จังหวัดขุขันธ์
  5. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอในจังหวัดขุขันธ์
  6. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอห้วยเหนือ จังหวัดขุขันธ์
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  8. [8] เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓
  9. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ
  10. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ
  11. [11] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  12. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  13. [13]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ๒๔๙๘
  14. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศีรษะเกษ
  15. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขุนหาร กิ่งอำเภอขุนหาร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  16. [16] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑
  17. [17] เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ
  18. [18] เก็บถาวร 2009-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖
  19. [19] เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
  20. [20]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอปรางค์กู่ และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  21. [21]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  22. [22]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  23. [23] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘
  24. [24]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  25. [25]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
  26. [26]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ กันทรลักษ์ ราษีไศลปรางค์กู่ และอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
  27. [27]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  28. [28]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  29. [29]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
  30. [30] เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูสิงห์
  31. [31]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
  32. [32]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
  33. [33]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอภูสิงห์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  34. [34] เก็บถาวร 2009-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘
  35. [35]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอปรางค์กู่ อำเภอวังหินและอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  36. [36] เก็บถาวร 2008-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒
  37. [37]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล

แหล่งข้อมูลอื่น แก้