อำเภอกระทุ่มแบน

อำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.กระทุ่มแบน)

กระทุ่มแบน เป็นหนึ่งในสามอำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นที่ตั้งของเทศบาลนครอ้อมน้อยและเป็นอำเภอปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร

อำเภอกระทุ่มแบน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Krathum Baen
คำขวัญ: 
ท่าจีนไหลผ่าน โรงงานมากมี
ของดีเบญจรงค์ ดงกล้วยไม้งาม
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอกระทุ่มแบน
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอกระทุ่มแบน
พิกัด: 13°39′24″N 100°16′6″E / 13.65667°N 100.26833°E / 13.65667; 100.26833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด135.276 ตร.กม. (52.230 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด182,112 คน
 • ความหนาแน่น1,346.23 คน/ตร.กม. (3,486.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 74110, 74130 (เฉพาะตำบลอ้อมน้อย)
รหัสภูมิศาสตร์7402
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน
ถนนเจริญสวัสดิ์ ตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอกระทุ่มแบนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

อำเภอกระทุ่มแบนตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ ตามประวัติศาสตร์อำเภอกระทุ่มแบนได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 116 ตรงกับปี พ.ศ. 2440 ประกอบด้วยตำบลต่าง ๆ รวม 7 ตำบล ดังนี้

  1. ตำบลตลาดกระทุ่มแบน
  2. ตำบลปลายคลองกระทุ่มแบน (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลแคราย)
  3. ตำบลคลองกระทุ่ม (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลคลองมะเดื่อ)
  4. ตำบลดอนไก่ดี
  5. ตำบลท่าเสา
  6. ตำบลหนองแขม (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลสวนหลวง)
  7. ตำบลดำเนินสะดวก (ปัจจุบันนี้ขึ้นกับอำเภอบ้านแพ้ว และ เรียกว่าตำบลสวนส้ม)

ทั้ง 7 ตำบล ได้จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอกระทุ่มแบนขึ้นตรงต่อเมืองสมุทรสาคร ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในราชอาณาจักร ขึ้นตรงต่อมณฑลนครชัยศรี

  • ในปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้มีคำสั่งโอนตำบลดำเนินสะดวกไปขึ้นกับอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในจังหวัดสมุทรสาคร และในปีเดียวกันนี้ได้มีคำสั่งโอนตำบลท่าไม้ ตำบลบางยาง ตำบลซูกั้ง (หนองนกไข่) ตำบลอ้อมน้อย รวม 4 ตำบล ซึ่งอยู่ในความปกครองของอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มาขึ้นกับอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
  • ในปี พ.ศ. 2483 ได้ยกฐานะพื้นที่ของตำบลกระทุ่มแบนหรือตำบลตลาดกระทุ่มแบนในปัจจุบันขึ้นเป็นเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน[1]
  • ในปี พ.ศ. 2486 สมัยพลโท หลวงพรหมโยธี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จังหวัดสมุทรสาครได้ถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี ซึ่งมีผลให้อำเภอกระทุ่มแบนขึ้นกับจังหวัดธนบุรีไปด้วย ในระยะนั้นรัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งปลัดตำบล จึงได้ยุบตำบลดังต่อไปนี้
  1. ตำบลดอนไก่ดีกับตำบลท่าเสา เรียกว่าตำบลท่าเสา
  2. ตำบลแครายกับตำบลสวนหลวง เรียกว่าตำบลสวนหลวง
  3. ตำบลอื่น ๆ ยังคงสถานะเดิม
  • ในปี พ.ศ. 2489 ได้ประกาศยกฐานะจังหวัดสมุทรสาครขึ้นใหม่ ซึ่งอำเภอกระทุ่มแบนก็ได้กลับเข้ามาอยู่ในการปกครองของจังหวัดสมุทรสาครพร้อมทั้งได้มีการประกาศแยกตำบลที่รวมกันข้างต้นเป็นตำบลเหมือนเดิมที่เป็นอยู่ก่อน[2]
  • ในปี พ.ศ. 2504 เปลี่ยนชื่อจากตำบลหนองแขม เป็น ตำบลสวนหลวง
  • ในปี พ.ศ. 2510 ได้ยกฐานะพื้นที่ของตำบลอ้อมน้อย ขึ้นเป็น สุขาภิบาลอ้อมน้อย[3]
  • ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เกิดการนัดหยุดงานของกรรมกรหญิงโรงงานกระเบื้องเคลือบวัฒนาวินิลไทม์ อำเภอกระทุ่มแบน ฝ่ายนายจ้างใช้อันธพาลเข้าคุ้มครองโรงงาน เกิดการปะทะกับฝ่ายกรรมกร เป็นเหตุให้ น.ส.สำราญ คำกลั่น กรรมกรหญิงอายุ 15 ปี ถูกยิงเสียชีวิต ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในการนัดหยุดงาน[4]
  • ในปี พ.ศ. 2537 ได้ยกฐานะพื้นที่ของสุขาภิบาลอ้อมน้อย ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอ้อมน้อย[5]
  • ในปี พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน เป็น เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน[6]
  • ในปี พ.ศ. 2545 ได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลอ้อมน้อย เป็น เทศบาลเมืองอ้อมน้อย[7]
  • เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 ได้ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง เป็นเทศบาลตำบลสวนหลวง
  • เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 ได้ยกฐานะจาก เทศบาลเมืองอ้อมน้อย เป็น เทศบาลนครอ้อมน้อย[8]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอกระทุ่มแบนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[9]
แผนที่
1. ตลาดกระทุ่มแบน Talat Krathum Baen
26,255
  
2. อ้อมน้อย Om Noi
53,584
3. ท่าไม้ Tha Mai
9,861
4. สวนหลวง Suan Luang
36,766
5. บางยาง Bang Yang
5,443
6. คลองมะเดื่อ Khlong Maduea
22,115
7. หนองนกไข่ Nong Nok Khai
3,821
8. ดอนไก่ดี Don Kai Di
8,348
9. แคราย Khae Rai
8,907
10. ท่าเสา Tha Sao
7,809

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอกระทุ่มแบนประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครอ้อมน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมน้อยทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดกระทุ่มแบนทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองมะเดื่อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสวนหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอนไก่ดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนไก่ดีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแคราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแครายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนกไข่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองนกไข่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสาทั้งตำบล

การคมนาคม แก้

ถนน แก้

ถนนสายสำคัญในอำเภอกระทุ่มแบน ได้แก่

การขนส่ง แก้

เส้นทางรถประจำทางในอำเภอกระทุ่มแบน ได้แก่

หมวด 1 แก้

  • สาย 80ก หมู่บ้าน วปอ.11 - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ (ขสมก.)
  • สาย 80A หมู่บ้าน วปอ.11 - สวนหลวงพระราม 8 (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 81 พุทธมณฑลสาย 5 - ท่าราชวรดิฐ (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 84 อ้อมใหญ่ - BTS กรุงธนบุรี (ขสมก.)
  • สาย ปอ.84 วัดไร่ขิง - BTS กรุงธนบุรี (ขสมก./ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 84ก หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา - วงเวียนใหญ่ (ขสมก.)
  • สาย 123 สวนสามพราน - ท่าราชวรดิฐ (สมาร์ทบัส)
  • สาย 163 ศาลายา - BTS สนามกีฬาแห่งชาติ (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 189 วัดบางยาง - สนามหลวง (ขสมก.)
  • สาย 539 อ้อมน้อย - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เอกชน)
  • สาย 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา - ถนนตก (สมาร์ทบัส

หมวด 3 แก้

  • สาย 402 นครปฐม - สมุทรสาคร

สถานศึกษา แก้

สังกัดเทศบาลนครอ้อมน้อย แก้

สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน แก้

  • โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
  • โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร แก้

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 แก้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน แก้

  • โรงเรียนปัญจพรพิทยา
  • โรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
  • โรงเรียนอนุบาลยุวธัช
  • โรงเรียนประชินนุสรณ์

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร แก้

  • โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พุทธศักราช 2483" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 549–553. 15 ตุลาคม 2483.
  2. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (พิเศษ 51 ง): 1–2. 5 มิถุนายน 2510.
  4. https://doct6.com/learn-about/how/chapter-2/2-2/2-2-1
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (12 ก): 18–20. 1 เมษายน 2537.
  6. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 62–65. 24 กันยายน 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 1–3. 20 กันยายน 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (พิเศษ 149 ง): 45. 27 ธันวาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2012-11-04.
  9. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.