อ้น
อ้น ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคสุดท้าย - ปัจจุบัน | |
---|---|
อ้นเล็ก (Cannomys badius) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์ใหญ่: | Muroidea |
วงศ์: | Spalacidae |
วงศ์ย่อย: | Rhizomyinae |
เผ่า: | Rhizomyini Winge, 1887 |
สกุล | |
อ้น หรือ หนูอ้น เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเผ่า Rhizomyini ในวงศ์ย่อย Rhizomyinae [1]ในวงศ์ Spalacidae มีรูปร่างคล้ายหนูขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวกลม อ้วน ป้อม ขนสีน้ำตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้นไม่มีขน อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด [2]
มีทั้งหมด 4 ชนิด ใน 2 สกุล ที่พบในทวีปเอเชีย แถบภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนตอนใต้ ได้แก่
- สกุล Rhizomys
- อ้นใหญ่ (R. sumatrensis) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยวัดความยาวจากหัวจนถึงปลายหางได้ 48 เซนติเมตร
- อ้นกลาง (R. pruinosus) เป็นชนิดที่มีขนาดรองลงมา
- อ้นเมืองจีน (R. sinensis) เป็นชนิดที่พบได้ในประเทศจีนตอนใต้
- สกุล Cannomys
โดยอ้นทั้งหมด จะขุดรูอาศัยอยู่ในป่า โดยเฉพาะป่าไผ่ เพราะกินไผ่และหน่อไม้เป็นอาหารหลัก ส่วนอาหารอื่น ๆ ได้แก่ ผลไม้ประเภทต่าง ๆ ที่หล่นตามพื้น ภายในรูมีทางยาวมากและแบ่งเป็นห้องได้หลายห้อง ใช้สำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อนและเก็บอาหาร แต่จะขึ้นมาหากินบนพื้นดิน โดยปกติแล้วอ้นจะไม่กินน้ำโดยตรง แต่จะกินน้ำโดยผ่านจากการกัดแทะจากไม้ประเภทต่าง ๆ ที่กินเข้าไป อ้นจะผสมพันธุ์ในฤดูฝน ออกลูกครั้งละ 1-8 ตัว ซึ่งอ้นในภาษาเหนือมักถูกเรียกว่า "ตุ่น" ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน แต่เป็นสัตว์ที่อยู่คนละอันดับกัน[4] ซึ่งตามกฏกระทรวง พ.ศ.2546 อ้น ไม่มีรายชื่ออยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 แล้ว[5]
ปัจจุบัน เกษตรกรที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้ทำการเลี้ยงอ้นในเชิงเกษตรกรรมเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสัตว์เศรษฐกิจและเพื่อการอนุรักษ์ โดยเลี้ยงไว้ในบ่อซีเมนต์ หรือโอ่ง ให้ไผ่กินเป็นอาหาร[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ ความหมายของคำว่า อ้น ๑ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ อ้นเล็ก
- ↑ อ้นเล็ก โดย สุรชิต แวงโสธรณ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กฏกระทรวง พ.ศ.2546"
- ↑ เพื่อนเกษตร, เช้าข่าว 7 สี: อังคารที่ 23 ตุลาคม 2555 ทางช่อง 7