อโนชา ปันจ้อย คือหญิงสัญชาติไทยที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวไปในมาเก๊าเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2521[2][3][4] เรื่องของเธอเป็นที่รู้จักเนื่องจากการปล่อยตัวทหารชาวอเมริกันชื่อชาลส์ โรเบิร์ต เจนคินส์ ในปี พ.ศ. 2547

อโนชา ปันจ้อย
อโนชาก่อนการลักพาตัว
เกิดบัวผา ปันจ้อย
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)[1]
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
สาบสูญ21 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (ผ่านมาแล้ว 46 ปี)
มาเก๊าของโปรตุเกส
สถานะคาดว่าอาศัยอยู่ที่ประเทศเกาหลีเหนือ
สัญชาติไทย
คู่สมรสแลร์รี แอลเลน แอบเชียร์
ชายชาวเยอรมันตะวันออกไม่ทราบชื่อ

วัยเด็กและการถูกลักพาตัว แก้

อโนชาเกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ที่บ้านหนองแสะ ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่[5] มีนามเดิมว่า บัวผา บิดาชื่อสม ปันจ้อย เป็นทหารผ่านศึกสงครามเกาหลี ส่วนมารดาของอโนชาเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเด็ก ปัจจุบันนายสมเสียชีวิตแล้วเช่นกัน

อโนชาย้ายไปกรุงเทพหลังจากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4[5] ก่อนที่จะย้ายไปที่อาณานิคมมาเก๊าของโปรตุเกสเพื่อไปทำงานเป็นหมอนวดในโรงแรมท้องถิ่น[6]

ในวันที่ 21 พฤษภาคม อโนชาออกจากอพาร์ตเมนต์โดยบอกว่าจะไปร้านเสริมสวย ตามคำกล่าวอ้างของชาลส์ โรเบิร์ต เจนคินส์ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Reluctant Communist ซึ่งกล่าวอ้างว่าเขียนตามที่อโนชาเล่าให้ผู้แต่งฟัง โดยอโนชาบอกว่าเธอพานักท่องเที่ยวที่อ้างว่าเป็นคนญี่ปุ่นไปขึ้นเรือนำเที่ยว ก่อนที่จะถูกซุ่มทำร้ายที่ชายหาดใกล้เคียงและถูกพาขึ้นเรือไปเกาหลีเหนือ[6][7] เชื่อกันว่าสาเหตุที่มีการลักพาตัวชาวต่างชาติไปยังเกาหลีเหนือก็เพื่อให้ชาวต่างชาติเหล่านั้นไปทำหน้าที่ครูสอนภาษาให้กับสายลับชาวเกาหลีเหนือเพื่อการปลอมตัวให้แนบเนียนยิ่งขึ้น[8]

ชีวิตในเกาหลีเหนือ แก้

หลังจากที่อโนชามาถึงในกรุงเปียงยางได้ไม่นาน เธอก็แต่งงานกับทหารอเมริกันแปรพักตร์ชื่อ แลร์รี แอลเลน แอบเชียร์ ราวปี พ.ศ. 2523 ทั้งคู่ย้ายไปอยู่ในอพาร์ตเมนต์ใกล้กับของชาลส์ เจนคินส์ และฮิโตะมิ โซะกะ ภรรยาของเขาที่ถูกลักพาตัวมาเช่นกัน อโนชาสนิทกับครอบครัวเจนคินส์และบางครั้งก็ช่วยดูแลลูก ๆ ของครอบครัวเจนคินส์ที่ชื่อมิกะ (Mika) และโรเบิร์ตา (Roberta) แอบเชียร์ สามีของอโนชาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2526 เธอยังสนิทกับครอบครัวเจนคินส์ต่อไปจนกระทั่งปี พ.ศ. 2532 ซึ่งเธอได้แต่งงานใหม่กับนักธุรกิจชาวเยอรมันตะวันออกที่ทำงานให้รัฐบาล ครอบครัวเจนคินส์เห็นอโนชาครั้งสุดท้ายในปีนั้น ก่อนการแต่งงานครั้งที่สองของเธอไม่นาน[7][9]

เจนคินส์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อโนชาบอกเขาว่าเธอถูกลักพาตัวมาพร้อมกับคนอีก 2 คน[5][7] รวมถึงบอกว่าเธอยังคงอยากกลับประเทศไทยเพื่อกลับมาหาญาติพี่น้องอีกครั้ง[2]

การพบเห็นและข้อมูลอื่น ๆ หลังการแต่งงานครั้งที่สอง แก้

 
ภาพที่พี่ชายของอโนชาจำเธอได้ (ในภาพซ้ายสุด มองต่ำ)

ในปี พ.ศ. 2546 ก่อนที่เจนคินส์จะย้ายตามภรรยาไปญี่ปุ่น รัฐบาลเกาหลีเหนือหลอกเขาว่าถ้ากลับญี่ปุ่นจะโดนจับตัว แต่หากอยู่ต่อจะให้อยู่กับอโนชา[5] นั่นทำให้เจนคินส์เชื่อว่าอโนชายังคงมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น

ครอบครัวปันจ้อยไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้างจนถึงปี พ.ศ. 2548 เมื่อพี่ชายของเธอจำเธอได้จากรูปถ่ายที่เจนคินส์ถือในการให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์[7][10][11][12][13] เมื่อครอบครัวปันจ้อยตระหนักว่าอโนชาถูกลักพาตัวไปที่เกาหลีเหนือแล้ว ครอบครัวของเธอก็เริ่มตามหาทางช่วยเหลือให้เธอกลับมา เนื่องจากพ่อของอโนชาเสียชีวิตไปแล้ว พี่ชายและหลานชายของอโนชาจึงเป็นตัวแทนหลักของครอบครัว

ในปี พ.ศ. 2548 พี่ของอโนชาเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อพบกับ เทะรุอะกิ มะสึโมโตะ เลขาธิการของสมาคมเพื่อการให้ความช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ รุอิมโกะ พี่สาวของมะสึโมโตะก็ถูกลักพาตัวเช่นกันในปี พ.ศ. 2521

ในปี พ.ศ. 2549 ทางการนครเชียงใหม่ได้จัดงานแสดงภาพเพื่อเรียกร้องให้เพิ่มความใส่ใจในเรื่องของเธอให้มากขึ้น[14] นอกจากนั้นครอบครัวของเธอยังได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงเธออีกด้วย

และเนื่องจากการตายของคิม จองอิลในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ครอบครัวปันจ้อยหวังว่าอโนชาจะยังคงมีชีวิตอยู่[15] และหวังว่าจะเห็นความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างสองชาติ

จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเปียงยางยังคงปฏิเสธว่าอโนชาถูกลักพาตัวโดยสายลับชาวเกาหลีเหนือ รวมถึงความมีตัวตนของเธอในประเทศดังกล่าว[16] แม้ว่าจะถูกรัฐบาลไทยสอบถามไปหลายครั้ง[17]รัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงปฏิเสธการลักพาตัวบุคคลสัญชาติอื่น ยกเว้นชาวญี่ปุ่นบางส่วนซึ่งใช้เวลานับสิบปีกว่าทางการเกาหลีเหนือจะยอมรับ

อ้างอิง แก้

  1. อโนชา ปันจ้อย ผู้ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ
  2. 2.0 2.1 "Anocha 'keen' to come home". Nationmultimedia.com. 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 2013-01-06.
  3. "The Abductees We Must Not Forget". Daily NK. 2010-04-28. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  4. "Asia-Pacific | N Korea 'kidnapped Thai woman'". BBC News. 2005-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "รายงาน "พลเมืองเหนือ": โสมแดงลักพาคนไทย เชื่อ! ไม่ใช่แค่อโนชา". ประชาไท. 2006-01-22. สืบค้นเมื่อ 2013-01-06.
  6. 6.0 6.1 "NARKN". Sukuukai.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Frederick, Jim (2005-11-14). "North Korea: Prisoner of Pyongyang?". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  8. "สาวไทยถูกโสมแดงลักตัว32ปีญาติร้องรบ.ช่วยแต่เงียบ". ไทยรัฐออนไลน์. 2005-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  9. Chongkittavorn, Kavi (2010-11-09). "The Nation: Thailand's top English news website". Nationmultimedia.com. สืบค้นเมื่อ 2013-01-06.
  10. "Brother of Thai abductee to North seeks assistance | The Japan Times Online". Japantimes.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  11. "Anocha's family ask govt to get her back". Nationmultimedia.com. 2006-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  12. "Lost, Without a Trace - Newsweek and The Daily Beast". Thedailybeast.com. 2006-02-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  13. "Jenkins Photo Proof Of Kidnapping?". CBS News. 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  14. "Exhibition on Thai North Korean Abductees Held". Daily NK. 2008-07-16. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  15. "The Chosun Ilbo (English Edition): Daily News from Korea - N.Korea Kidnapped Other Asian Women: Monthly Chosun". English.chosun.com. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  16. "บัวแก้วหารือญี่ปุ่นเรื่องอโนชา ปันจ้อย และการฉลอง 120 ปี ความสัมพันธ์-ญี่ปุ่น". RYT9.com. 2006-05-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-06.
  17. ไม่ปรากฏ. อโนชา - ยังไม่สิ้นหวังที่จะตามหาเธอ. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05. {{cite AV media}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |date2= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month2= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |year2= ถูกละเว้น (help)[ลิงก์เสีย]
  • Jenkins, Charles Robert (2007). The Reluctant Communist: My Desertion, Court-Martial, and Forty-Year Imprisonment in North Korea, University of California Press, Berkley. ISBN 0520253337

แหล่งข้อมูลอื่น แก้