ปุ่มกระดูกหัวไหล่

(เปลี่ยนทางจาก อโครเมียน)

อโครเมียน โพรเซส (อังกฤษ: acromion process) หรือย่อว่า อโครเมียน (อังกฤษ: acromion) หรือ ปุ่มกระดูกหัวไหล่ เป็นลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสะบัก (scapula)

อโครเมียน
(Acromion)
บริเวณที่เกิดการสร้างกระดูกของกระดูกสะบัก มีศุนย์กลางอยู่ 7 บริเวณ (อโครเมียนแสดงเป็นสีฟ้า อยู่ทางด้านบนซ้าย)
มุมมองทางด้านข้างของกระดูกสะบักด้านซ้าย (อโครเมียนอยู่ทางด้านบนขวาของภาพ)
ตัวระบุ
MeSHD000174
TA98A02.4.01.009
TA21152
FMA23260
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ในมนุษย์

แก้

อโครเมียน โพรเซสต่อเนื่องกับแนวสันกระดูกสะบัก (scapular spine) และมีลักษณะเป็นตะขอยื่นไปทางด้านหน้า อโครเมียนมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า เกิดเป็นข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์ (acromioclavicular joint)

อโครเมียนเป็นจุดยอดสุดของไหล่ มีลักษณะเป็นส่วนยื่นขนาดใหญ่ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปขอบขนาน แบนจากด้านหลังมาด้านหน้า ยื่นในแนวออกด้านข้างลำตัว แล้วจึงโค้งมาด้านหน้าและขึ้นด้านบน เพื่อยื่นออกมาหาแอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity)

พื้นผิว

แก้

อโครเมียน โพรเซสมี 2 พื้นผิว ได้แก่

  • พื้นผิวด้านบน ยื่นขึ้นทางด้านบน ทางด้านหลัง และทางด้านข้างลำตัว มีลักษณะนูน ขรุขระ และเป็นที่ยึดเกาะของใยบางส่วนของกล้ามเนื้อเดลทอยด์ ขอบเขตทั้งหมดอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง
  • พื้นผิวด้านล่าง มีลักษณะเรียบ และเว้า

ขอบเขต

แก้

อโครเมียน โพรเซส มี 2 ขอบเขต ได้แก่

  • ขอบเขตด้านข้าง มีลักษณะหนา และไม่สม่ำเสมอ เป็น 3 หรือ 4 ปุ่มกระดูกที่เป็นจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อเดลทอยด์
  • ขอบเขตด้านใกล้กลาง สั้นกว่าขอบเขตด้านข้าง มีลักษณะเว้า เป็นจุดเกาะของส่วนของกล้ามเนื้อทราพีเซียส และประมาณบริเวณศูนย์กลางเป็นพื้นผิวขนาดเล็ก รูปไข่ เป็นข้อต่อกับปลายด้านกระดูกสะบัก (หรือปลายอโครเมียน) ของกระดูกไหปลาร้า

ในสัตว์ชนิดอื่น

แก้

อโครเมียน โพรเซสของค้างคาว (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับค้างคาว (Chiroptera)) จะมีลักษณะยาวกว่าของมนุษย์

ภาพอื่นๆ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้