อุทยานโอลิมปิกพระราชินีเอลิซาเบธ
อุทยานโอลิมปิกลอนดอน (อังกฤษ: London Olympic Park) เป็นศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะซึ่งจัดสร้างขึ้น สำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของลอนดอน ประเทศอังกฤษ ติดกับพื้นที่ขยายของย่านสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ภายในมีหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก และสนามกีฬานานาชนิด รวมทั้งสนามกีฬาโอลิมปิกและศูนย์กีฬาทางน้ำ
อุทยานโอลิมปิกลอนดอน London Olympic Park | |
---|---|
อุทยานโอลิมปิก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 | |
แผนที่ของอุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ | |
พิกัด: 51°32′46″N 0°00′46″W / 51.54615°N 0.01269°W | |
ประเทศ | อังกฤษ, สหราชอาณาจักร |
เมือง | กรุงลอนดอน |
เขต | สแตรตเฟิร์ด, โบว์, เลย์ตัน, โฮเมอร์ตัน |
เขตเวลา | UTC0 (เวลาสากลเชิงพิกัด) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 (BST) |
รหัสไปรษณีย์ | E20 |
เว็บไซต์ | ลอนดอน 2012 (อังกฤษ) |
หลังจากโอลิมปิกผ่านไป อุทยานแห่งนี้จะเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ” (Queen Elizabeth Olympic Park) เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาส พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[1] แม้จะไม่ได้เป็นอุทยานหลวงแห่งลอนดอนอย่างเป็นทางการก็ตาม[2]
ทำเลที่ตั้ง
แก้อุทยานแห่งนี้ มีที่ตั้งครอบคลุมบางส่วนของแขวงสแตรตเฟิร์ด, แขวงโบว์ (Bow), แขวงเลย์ตัน (Leyton), และแขวงโฮเมอร์ตัน (Homerton) ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน โดยการไปรษณีย์หลวงแห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Mail) กำหนดให้อุทยานและเมืองสแตรตเฟิร์ด ใช้รหัสไปรษณีย์ E20 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการใช้กับชานเมืองวัลเฟิร์ด (Walford) ซึ่งไม่มีอยู่จริง เนื่องจากปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง “อีสต์เอ็นเดอรส์” (EastEnders)[3]
การก่อสร้าง
แก้แผนแม่บทซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) กำหนดให้มีอาคารกีฬาภายในอุทยานทั้งหมด 3 หลัง โดยการแข่งขันวอลเลย์บอลย้ายไปเล่นที่ ศูนย์นิทรรศการเอิร์ลสคอร์ต (Earls Court Exhibition Centre)[4] ส่วนกีฬาฟันดาบย้ายไปแข่งขันที่ ศูนย์นิทรรศการเอ็กซ์เซล (Exhibition Centre London) ซึ่งอาคารกีฬาในร่มที่ยังคงอยู่คือ อาคารกีฬาบาสเกตบอล (Basketball Arena) และ ค็อปเปอร์บ็อกซ์ (Copper Box) ทั้งนี้เมื่อการก่อสร้างระยะหลักเริ่มขึ้น มีการเคลื่อนย้ายเสาไฟฟ้าสูง 65 เมตร จำนวน 52 ต้นออกไป แล้วเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าผ่านอุโมงค์ใต้ดินแทน[5]
สนามกีฬาที่จัดแข่งขัน
แก้- สนามกีฬาโอลิมปิก (ลอนดอน) - เป็นสนามกีฬาหลัก
- ศูนย์กีฬาทางน้ำแห่งลอนดอน - เป็นสนามแข่งขันกีฬาทางน้ำ ซึ่งประกอบด้วยว่ายน้ำ กระโดดน้ำ และระบำใต้น้ำ ซึ่งในบริเวณเดียวกัน มีสนามกีฬาโปโลน้ำ (Water Polo Arena) สำหรับการแข่งขันโปโลน้ำโดยเฉพาะด้วย
- ค็อปเปอร์บ็อกซ์ (แปลว่า กล่องทองแดง; ชื่อเดิม: สนามกีฬาแฮนด์บอล; Handball Arena) - แรกเริ่มจะใช้เป็นสนามแข่งขันแฮนด์บอล ทว่าไอโอซีประกาศให้งดไปเสียก่อน จึงนำมาใช้แข่งขันกีฬาฟันดาบ และปัญจกีฬาสมัยใหม่แทน รวมทั้งกีฬาโกล์บอลในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012
- อาคารกีฬาบาสเกตบอล - เป็นสนามแข่งขันบาสเกตบอล
- ลอนดอนเวโลปาร์ก (London Velopark) - เป็นเวโลโดรม หรือสนามแข่งขันประเภทลู่ ของจักรยานรวมถึงบีเอ็มเอ็กซ์
- ลานกีฬาริเวอร์แบงก์ (Riverbank Arena) - เป็นสนามแข่งขันฮอกกี รวมถึงฟุตบอลเจ็ดคนกับฟุตบอลห้าคน ในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012
สิ่งก่อสร้างสำคัญอื่น
แก้- หมู่บ้านโอลิมปิก - เป็นที่พักของนักกีฬาชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งในโอลิมปิกและพาราลิมปิก
- ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน - เป็นอาคารศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ และศูนย์สื่อมวลชนหลักที่รวมอยู่ด้วยกัน ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยาน
- ร้านแมคโดนัลด์ สาขาภายในอุทยาน - ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และจะเป็นจุดสนใจพิเศษระหว่างการแข่งขัน โดยเป็นแห่งแรกที่สร้างขึ้น จากโครงอาคารและอุปกรณ์ร้อยละ 75 ซึ่งทำจากวัสดุใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างแข็งแรงทนทาน แต่จะต้องทำลายลงไป หลังจากสิ้นสุดกีฬาพาราลิมปิก[6]
- พิพิธภัณฑ์โอลิมปิก - จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2557[7]
โครงการหลังการแข่งขัน
แก้หลังจากสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก อุทยานจะรองรับการใช้งานมากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- เป็นส่วนสำคัญของศูนย์กลางทางเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งใหม่ ซึ่งจะก่อตั้งขึ้นในลอนดอนตะวันออก[8]
- เป็นหนึ่งในสวนสาธารณะภายในเขตเมือง ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรป ในรอบกว่า 150 ปีที่ผ่านมา โดยมีการออกแบบเพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศของท้องถิ่น ด้วยการฟื้นป่าพื้นเมืองดั้งเดิมอันชุ่มชื้นกลับคืนมา[9]
- ก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์จากสนามและอุปกรณ์กีฬา ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดขึ้นเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิก โดยเฉพาะในเชิงวิทยาศาสตร์การกีฬา การสื่อสารที่ทันสมัย สื่อดิจิตัล และเทคโนโลยีอนุรักษ์[10]
- เปิดให้สโมสรกีฬาในท้องถิ่นรวมถึงชุมชน เข้าใช้งานสนามและอุปกรณ์กีฬาภายในอุทยาน
- หมู่บ้านโอลิมปิกจะแปลงสภาพเป็นห้องชุด (อพาร์ตเมนต์) ขนาด 3,600 ห้อง สำหรับการพัฒนาแขวงเมืองสแตรตเฟิร์ด
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Staff (7 October 2010). "Games Site Renamed the Queen Elizabeth Olympic Park". BBC News. Retrieved 12 May 2012.
- ↑ Minton, Anna (2012). Ground Control (2nd ed.). Penguin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ June 25, 2012.
- ↑ Staff (19 March 2011). "Olympic Park To Share EastEnders' Walford E20 Postcode". BBC News. Retrieved 12 May 2012.
- ↑ "London Unveils Olympic Masterplan". BBC News. 7 June 2006.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2013-01-04 ที่ archive.today.
- ↑ "The Largest McDonald's Outlet To Open In London Olympic Park". DesignTaxi. 26 Jun 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
- ↑ "Olympic Museum To Be Opened on Olympic Park after London 2012".
- ↑ "Cameron Reveals Silicon Valley Vision for East London". BBC News. 4 November 2010. สืบค้นเมื่อ 4 November 2010.
- ↑ "London Games promises beautiful green legacy". London Press Service. 01 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Gourlay, Chris (2009-04-19). "University to be built in London Olympic Park". Times Online. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการแข่งขัน เก็บถาวร 2013-02-28 ที่ UK Government Web Archive (อังกฤษ)
- เว็บไซต์อิสระว่าด้วยการแข่งขัน (อังกฤษ)