อุทยานแห่งชาติแควน้อย

อุทยานแห่งชาติแควน้อย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว และวนอุทยานภูแดงร้อน มีพื้นที่ประมาณ 139,915.33 ไร่ หรือ (223.86 ตารางกิโลเมตร)

อุทยานแห่งชาติแควน้อย
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย อำเภอวังทอง และอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
พิกัด17°05′35″N 100°37′22″E / 17.09306°N 100.62278°E / 17.09306; 100.62278
พื้นที่198 km2 (124,000 rai)[1]
ผู้เยี่ยมชม5,692[2] (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติแควน้อยมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นทิวเขายาวสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

  • ฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นช่วงอากาศค่อนข้างร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.2องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน อากาศเย็นสบายเพราะได้รับลมจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน โดยปริมาณมากที่สุดในเดือนกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,482 มิลลิเมตร/ปี
  • ฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม อากาศไม่หนาวจัดเหมาะแก่การท่องเที่ยว อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรป่าไม้ แก้

สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง หนาแน่นด้วยพรรณไม้ที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิด เช่น สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะเคียน ยาง ฯลฯ

ทรัพยากรสัตว์ป่า แก้

เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เช่น เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง อีเห็น เม่น กระต่าย นกมากมายหลายชนิด งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด โดยเฉพาะสัตว์น้ำจำพวกปลามีมากมายหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ แก้

  • แก่งคันนาน้อย
  • แก่งเจ็ดแคว
  • แก่งโจน
  • แก่งเตาเหล็ก
  • แก่งบัวคำ
  • แก่งลานกลอย
  • จุดชมทิวทัศน์บ้านหนองหิน
  • ทางเดินศึกษาธรรมชาติแก่งเจ็ดแคว
  • น้ำตก 5 ชั้น
  • น้ำตก 9 ชั้น

อ้างอิง แก้

  1. "แควน้อย". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 20 July 2021.
  2. "สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ 2562". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021, no.98 Kwae Noi N.P.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  3. "Protected areas". UNEP-WCMC. 2020. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้