อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู
อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู (มลายู: Taman Negara Kinabalu) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ๆ ในมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 และเป็นสถานที่แห่งแรกในมาเลเซียที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ที่ตั้ง | รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย |
พิกัด | 6°09′N 116°39′E / 6.15°N 116.65°E |
พื้นที่ | 754 ตารางกิโลเมตร (471,000 ไร่) |
จัดตั้ง | พ.ศ. 2507 |
ผู้เยี่ยมชม | 611,624 (2553) |
หน่วยราชการ | ซาบะฮ์พากส์ |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู |
ประเภท | มรดกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์ | ธรรมชาติ: (ix), (x) |
ขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2543 (คณะกรรมการสมัยที่ 24) |
เลขอ้างอิง | 1012 |
ภูมิภาค | เอเชียและแปซิฟิก |
อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของรัฐซาบะฮ์บนเกาะบอร์เนียว ทางตะวันออกของมาเลเซีย มีพื้นที่ 754 ตารางกิโลเมตร หรือ 471,250 ไร่ อยู่รอบ ๆ ภูเขากีนาบาลูซึ่งสูง 4,095.2 เมตร และเป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะบอร์เนียว
ภายในอุทยานเป็นแหล่งที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์หลากหลายชนิด โดยแบ่งเขตแหล่งที่อยู่ออกตามสภาพทางภูมิศาสตร์ออกได้เป็น 4 เขต ได้แก่ ป่า lowland dipterocarp ป่าสนเขา ทุ่งหญ้าบนที่สูง และพุ่มไม้บนยอดเขา บริเวณภูเขาเป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้และพืชกินแมลงหลายสายพันธุ์ ที่มีชื่อเสียงคือสายพันธุ์ Nepenthes rajah และยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ประจำถิ่นอีกมากมาย เช่น ปลิงแดงยักษ์กีนาบาลู ไส้เดือนยักษ์กีนาบาลู นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้ากีนาบาลู
ที่ทำการอุทยาน
แก้ที่ทำการอุทยานอยู่ห่างจากโกตากีนาบาลู 88 กิโลเมตร เข้าถึงได้ง่ายจากทางด่วน ตั้งอยู่ที่ชายขอบเขตอุทยานด้านทิศใต้ บนระดับความสูง 1,563 เมตร
บริการที่ทำการเป็นที่ตั้งของสถานพักตากอากาศ ร้านอาหาร และศูนย์แสดงนิทรรศการ นักปีนเขาและผู้มาเยี่ยมชมที่ต้องการค้างคืนภายในอุทยานจะต้องลงทะเบียนที่ที่ทำการเสียก่อน