อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นที่ตั้งของบริษัทและศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก รวมถึงสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและศูนย์วิจัยแห่งชาติในสังกัดอื่น ๆ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทางเหนือของกรุงเทพมหานคร ติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ เป็นผู้อำนวยการ

ภาพถ่ายมุมสูงของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ประวัติ แก้

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยถือเป็น “นิคมวิจัยสำหรับเอกชน” แห่งแรกของเมืองไทย ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีภารกิจหลักในการสร้างให้เกิดนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน รวมถึงการสร้างให้เกิดการพัฒนากำลังคนในด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของ สวทช. รวมถึงศูนย์วิจัยแห่งชาติ 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ นอกจากนี้ ที่ตั้งของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยยังติดกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ซึ่งทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นทำเลที่มีความพร้อมสูงสุดสำหรับกิจกรรมวิจัยและพัฒนา เป็นที่ซึ่งมีนักวิจัยอยู่รวมกันมากกว่า 3,700 คนและเป็นแหล่งรวมบุคลากรที่มีความสามารถขนาดใหญ่

ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ผู้เช่าพื้นที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากร นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ศูนย์ประชุมที่มีพื้นที่แสดงนิทรรศการขนาด 2,000 ตารางเมตร และห้องประชุมขนาดใหญ่ จุ 350 ที่นั่ง ห้องประชุมที่พร้อมสำหรับการจัดประชุมทางไกล ฐานข้อมูลงานวิจัย รวมถึงระบบโทรคมนาคมความเร็วสูง กิจการที่เริ่มก่อตั้งและกิจการขนาดเล็ก สามารถเช่าใช้พื้นที่เพื่อการทำวิจัยและพัฒนาภายในหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี ด้วยอัตราพิเศษ กิจการขนาดใหญ่สามารถเลือกระหว่างพื้นที่ในอาคารหรือที่ดินเปล่า เพื่อสร้างอาคารสำหรับการวิจัยและพัฒนาของตนเอง พร้อมด้วยการให้บริการทางเทคนิค การเงิน บุคลากร ธุรกิจ

นอกจากเป็นที่ตั้งของ สวทช. และศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ ยังมีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ เช่าพื้นที่เพื่อที่วิจัยกว่า 60 ราย ทำให้ต้องมีการขยายพื้นที่ใช้สอยของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จาก 140,000 ตารางเมตร ในระยะที่ 1 เพิ่มขึ้น อีก 126,000 ตารางเมตร ในระยะที่ 2 และพร้อมเปิดให้บริการในปี 2556

องค์กรและโครงสร้าง แก้

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของ สวทช. และศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ ดังนี้:

อ้างอิง แก้

  1. "Overview". The National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  2. "Mission and Framework". National Metal and Material Technology Center (MTEC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  3. "About". National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC). สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  4. "About NANOTEC". National Nanotechnology Center (NANOTEC). สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้