อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร
อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (อังกฤษ: Princess Sirindhorn AstroPark) เป็นศูนย์ดาราศาสตร์แห่งชาติของประเทศไทยและเป็นที่ตั้งสำนักงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Princess Sirindhorn AstroPark | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 27 มกราคม 2563 |
สำนักงานใหญ่ | 260 หมู่ 4 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | www |
อุทยานดาราศาสตร์สิรินธรเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางดาราศาสตร์ของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ เป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษาวิจัย บ่มเพาะและสร้างนักวิจัยดาราศาสตร์ เป็นศูนย์บริการข้อมูล ฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีดาราศาสตร์ จัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่สำคัญ
ประวัติ
แก้โครงการอุทยานดาราศาสตร์สิรินธรได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 รัฐบาลได้อุดหนุนงบประมาณก้อนแรกจำนวน 406 ล้านบาท มีกำหนดเริ่มก่อสร้างปี 2556 และเปิดใช้งานในปี 2559 แต่กระบวนการล่าช้าจนเริ่มก่อสร้างได้จริงในปี 2558 และมีกำหนดเปิดใช้งานในปี 2561[1] อย่างไรก็ตามการก่อสร้างยังคงล่าช้าจากเนื่องจากงบประมาณที่บานปลาย โครงการนี้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปี 2563 ปัจจุบันคาดว่ารัฐได้ลงทุนในอาคารและอุปกรณ์ภายในอุทยานแห่งนี้ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท
ส่วนประกอบในอุทยาน
แก้อาคารสำนักงาน
แก้ประกอบด้วย งานวิจัยและพัฒนา ห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์ ศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดดาราศาสตร์ ศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติ และส่วนงานสนับสนุนภารกิจหลัก
อาคารปฏิบัติการ
แก้เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวแห่งชาติ และวิศวกรรม ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ห้องปฏิบัติการเคลือบกระจก
อาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ
แก้ประกอบด้วย ส่วนท้องฟ้าจำลองระบบฟูลโดมดิจิทัล 360 องศา รองรับความละเอียดสูงสุด 8K ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 17 เมตร ความจุ 160 ที่นั่ง[2] และพื้นที่สำหรับรถผู้พิการ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของไทย แต่มีความคมชัดที่สุดในอาเซียน ส่วนนิทรรศการดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ 19 โซน ได้แก่ การสำรวจระบบสุริยะ เสียงแห่งเอกภพ การเกิดเฟสดวงจันทร์ การเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง เครื่องตรวจจับรังสีคอสมิกฝีมือคนไทย สเปกตรัมกับการศึกษาทางดาราศาสตร์ การสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า รูม่านตากับความเข้มแสง การเกิดฤดูกาล การเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ น้ำหนักของคุณบนดาวเคราะห์ การเกิดพายุบนดาวเคราะห์แก๊ส อุกกาบาต วิวัฒนาการดาวฤกษ์ ไทม์ไลน์การกำเนิดเอกภพ ลูกตุ้มเพนดูลัมกับการพิสูจน์การหมุนของโลก ภารกิจยานสำรวจดาวอังคาร ภารกิจพิชิตดวงจันทร์ นิทรรศการภาพถ่ายดาราศาสตร์
หอดูดาว
แก้เป็นอาคารสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์แบบต่าง ๆ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ด้านข้างเป็นระเบียงดาวมีหลังคาแบบเลื่อนเปิดออกได้ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีขีดความสามารถสูง จำนวน 5 ชุด สำหรับให้บริการดูดาว สังเกตวัตถุท้องฟ้า รวมทั้งถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้า เปิดบริการทุกวันเสาร์ 18:00-22:00 น. ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม
ลานกิจกรรมกลางแจ้ง
แก้ใช้ในการจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ และกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ เช่น กิจกรรมดูดาวสำหรับประชาชน การสังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ
ส่วนให้บริการประชาชน
แก้การให้บริการ | อังคาร-ศุกร์ | เสาร์ | อาทิตย์ | ค่าธรรมเนียม |
---|---|---|---|---|
นิทรรศการดาราศาสตร์ | 09:00 - 16:00 น. | 10:00 - 17:00 น. | 10:00 - 17:00 น. | ไม่มี |
ท้องฟ้าจำลอง : เรียนรู้การชมท้องฟ้าและดวงดาว 30 นาที ภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 30 นาที | 11:00 น. / 14:00 น. | 11:00 น. / 14:00 น. / 17:00 น. | 11:00 น. / 14:00 น. | นักเรียน นักศึกษา 30 บาท
บุคคลทั่วไป 50 บาท |
กิจกรรมดูดาว NARIT Public Night เฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม | 18:00-22:00 น. | ไม่มี |
อ้างอิง
แก้- ↑ ทุ่มงบสร้างเชียงใหม่ เป็นศูนย์ดาราศาสตร์ ไทยรัฐ. 4 ส.ค. 2558
- ↑ สดร.เตรียมเปิดท้องฟ้าจำลองขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 17 ม. เต็มรูปแบบกุมภาพันธ์ 2563 25 ธันวาคม 2562. เชียงใหม่นิวส์.