อีดี อามิน

(เปลี่ยนทางจาก อีดี้ อามิน)

อีดี อามิน (พ.ศ. 2468[A] – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546) เป็นเผด็จการทหาร และประธานาธิบดีของประเทศยูกันดาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514–2522 อามินเข้าเป็นสมาชิกในกองทัพอาณานิคมบริเตน สังกัดกรมทหารปืนเล็กยาวแอฟริกา หรือ KAR (King's African Rifles) ในปี พ.ศ. 2489 และในที่สุดเขาก็รั้งตำแหน่งนายพลและผู้บัญชาการกองทัพยูกันดา เขาขึ้นมามีอำนาจในเดือนมกราคม พ.ศ. 2514 หลังจากทำการขับไล่อดีตประธานาธิบดีมิลตัน โอโบเต

อีดี อามิน
ประธานาธิบดีของประเทศยูกันดา คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม พ.ศ. 2514 – 11 เมษายน พ.ศ. 2522
ก่อนหน้ามิลตัน โอโบเต
ถัดไปยุซุฟู ลูเล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2468
กัมปาลา จักรวรรดิบริติช ประเทศยูกันดา
เสียชีวิต16 สิงหาคม พ.ศ. 2546
เจดดะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
คู่สมรสมัลยามู อามิน (หย่าร้าง)
เคย์ อามิน (หย่าร้าง)
นอร่า อามิน (หย่าร้าง)
มาดินา อามิน
ซาราห์ อามิน

ประเทศยูกันดาภายใต้การปกครองของอามินถือได้ว่าไร้ซึ่งสิทธิมนุษยชน มีนโยบายในการสังหารผู้คน เป็นพวกเผ่าพันธุ์นิยม มีการลงโทษนอกกระบวนการยุติธรรม เห็นแก่พวกพ้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีการบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ ข้อมูลจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนคาดว่ามีผู้เสียชีวิตในขณะที่อามินดำรงตำแหน่งประมาณ 100,000[1] ถึง 500,000 คน

ผู้ที่หนุนหลังอามินอย่างชัดเจนก็คือ นายพลมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟีแห่งลิเบีย, สหภาพโซเวียต และเยอรมนีตะวันออก[2][3][4] โดยสนับสนุนอามินในการต่อต้านบริเตนใหญ่, อิสราเอล, และแอฟริกาใต้สมัยแบ่งแยกสีผิว[5]

ในปี พ.ศ. 2518–2519 อามินได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organisation of Africa Unity) ของขบวนการแพนแอฟริกาเพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในทวีปแอฟริกา[6] ตลอดปี พ.ศ. 2520–2522 อามินเรียกชื่อตนเองว่า "ฯพณฯ ประธานาธิบดีตลอดชีพ จอมพล อัล หัจญี ด็อกเตอร์[B] อีดี อามิน ดาดา, วีซี.[C], ดีเอสโอ., เอ็มซี., ซีบีอี., ผู้พิชิตจักรวรรดิอังกฤษในทวีปแอฟริกาทั้งหมดและผู้พิชิตยูกันดาโดยเฉพาะ"[7]

ความแตกร้าวระหว่างประเทศยูกันดาและอามินก่อตัวขึ้นเมื่อเขาพยายามเข้ายึดเมืองคาเกลาของประเทศแทนซาเนีย เกิดเป็นสงครามยูกันดา-แทนซาเนียขึ้นในปี พ.ศ. 2521 และถือเป็นการจบสิ้นการปกครองของเขา อามินหนีไปอยู่ประเทศลิเบียเป็นที่แรก ก่อนที่เขาจะย้ายไปอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ที่เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2546

ชีวิตช่วงเริ่มต้นและการเป็นทหาร แก้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญของอามินทางการทหาร
 
King's African Rifles
2489 เข้าร่วมกองพันในกรมทหารปืนเล็กยาวแอฟริกา แห่งกองทัพอาณานิคมบริเตน
2490 พลทหาร
2495 ปราบจลาจลที่ประเทศเคนยา
2496 สิบเอก
2501 จ่านายสิบ
2503 ร้อยโท
 
กองทัพยูกันดา
2504 ร้อยเอก
2505 พันตรี
2506 รักษาการผู้บัญชาการกองทัพ
2508 พันเอกผู้บัญชาการกองทัพ
2511 พลตรี
2514 ประมุข
ประธานสภากลาโหม
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เสนาธิการทหารบกและเสนาธิการอากาศ
2515 อธิปดีกรมตำรวจ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
2518 รับตำแหน่งจอมพลซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในประเทศยูกันดา

อามินไม่เคยเขียนอัตชีวประวัติเกี่ยวกับตนเอง และเขาก็ไม่ได้ให้ใครได้กล่าวถึงชีวิตของเขาเลย แต่จากแหล่งที่มาเกี่ยวกับชีวประวัติของอามินส่วนใหญ่ชี้ว่าอามินเกิดประมาณ พ.ศ. 2468 ที่เมืองโกโบโกหรือไม่ก็กัมปาลา สมัครเข้าเป็นลูกน้องของเฟร็ด กูเว็ดเดโกจากมหาวิทยาลัยมาเกเรเร (มหาวิทยาลัยมาเกเรเรตั้งอยู่ที่เมืองกัมปาลา) อีดี อามินเป็นลูกชายของอันเดรส ไนอาไบเร (Andreas Nyabire พ.ศ. 2432–2519) ซึ่งบิดาของอามินเป็นชาวกากวา (Kakwa) ซึ่งได้เปลี่ยนศาสนาจากคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอิสลาม และได้เปลี่ยนชื่อลูกชายของเขาเป็นอามิน ดาดานั่นเอง เมื่อเขาถูกผู้เป็นบิดาทอดทิ้ง อามินได้เติบโตในครอบครัวของมารดาของเขา ข้อมูลจากกูเว็ดเดโกบอกว่ามารดาของอามินชื่อแอสซา แอตเต (Assa Aatte พ.ศ. 2447–2513) เป็นชาวเผ่าลุกบาราและเป็นผู้สืบทอดความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรประจำเผ่าและทำหน้าที่รักษากษัตริย์แห่งอาณาจักรบูกันดา (Buganda) และชาวบ้านทั่วไป เมื่อปี พ.ศ. 2484 อามินเป็นนักเรียนโรงเรียนมุสลิมในเมืองบอมโบ หลังจากนั้น 2–3 ปี อามินออกจากโรงเรียนและทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนที่จะผันตัวเองเข้าเป็นทหารในสังกัดกองทัพอาณานิคมบริเตน[8]

กองทัพอาณานิคมบริเตน แก้

อามินเข้าเป็นสมาชิกของกรมทหารปืนเล็กยาวแอฟริกา (King's African Rifles) แห่งกองทัพอาณานิคมบริเตนในปี พ.ศ. 2489 ในตำแหน่งผู้ช่วยคนครัว[9] เขาอ้างว่าได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทำการรบที่ประเทศพม่า[10] แต่ในบันทึกบอกเอาไว้ว่าอามินได้เข้าร่วมกองทัพหลังจากที่สงครามได้ยุติไปแล้ว[7][11] ในปี พ.ศ. 2490 เขาถูกย้ายไปประจำการเป็นพลทหารของกองพันทหารปืนเล็กยาวแอฟริกาที่ 21 ณ เมืองจิลจิล ประเทศเคนยา จนถึงปี พ.ศ. 2492 ในปีนั้นหน่วยรบของเขาได้แปรแถวไปที่ประเทศโซมาเลียเพื่อต่อสู้กับผู้ก่อจลาจลในโซมาเลีย ในปี พ.ศ. 2495 หมู่ทหารของอามินได้ทำการปราบจลาจลมัว มัว ในประเทศเคนย่า ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสิบเอกในปี พ.ศ. 2496[8]

ในปี พ.ศ. 2501 อามินได้รับตำแหน่งจ่านายสิบ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดที่ชาวแอฟริกันผิวดำในกองทัพอาณานิคมบริเตนจะได้รับในเวลานั้น อามินกลับสู่มาตุภูมิในปีเดียวกัน ต่อมาอีก 2 ปีเขาได้รับการนำเสนอให้ได้รับตำแหน่งร้อยโท เป็นหนึ่งในสองชาวยูกันดาแรกที่ได้รับตำแหน่งสูงขนาดนั้น ในทันทีเขาได้รับหน้าที่ให้ปราบปรามปัญหาการขโมยปศุสัตว์ในคาราโมจองของยูกันดาและเตอกานาของเคนยา ในปี พ.ศ. 2504 เขาได้ถูกเสนอชื่อให้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก และพันตรีในปีถัดมา และอีกปีถัดมาก็รั้งตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการกองทัพ[8]

อามินยังเป็นนักกีฬาขณะที่รับใช้กองทัพ เขาสูง 193 เซนติเมตรและมีพลังสูงมาก เขาชนะเลิศในการชกมวยรุ่นไลท์เฮฟวีเวทของยูกันดาระหว่างปี พ.ศ. 2494–2503 ทั้งยังว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วย อามินเป็นนักกีฬารักบี้ตัวรุกที่ดุดัน[12][13] เคยเล่นให้กับทีมไนล์ อาร์เอฟซี (Nile RFC) [14] และทีมบริติชและไอริช ไลอ้อนส์ (British and Irish Lions) เกือบได้อามินมาร่วมเล่นให้กับทีมที่ประเทศแอฟริกาใต้ในฤดูกาลปี พ.ศ. 2498 แต่เขาเลือกที่จะเป็นตัวสำรองของทีมแอฟริกาตะวันออก 15 (East Afica XV) [13][14] ซึ่งเขาเป็นผู้เล่นผิวดำคนเดียวของทีม[14] อย่างไรก็ตามเขาไม่เคยได้โอกาสลงเล่นในสนามเลย หลังจบการแข่งขันเขามักจะนั่งนอกอาคารของสโมสรเพื่อดื่มน้ำอัดลมโค้กเป็นประจำ[14]

ผู้บัญชาการกองทัพ แก้

 
อีดี อามิน

ในปี พ.ศ. 2508 มิลตัน โอโบเตขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับอีดี อามิน ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการลักลอบนำงาช้างและทองคำเข้าประเทศยูกันดาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกอย่างผิดกฎหมาย เรื่องการลักลอบนำเข้านั้นเป็นข้อมูลที่ได้รับการกล่าวอ้างจากนายพลนิโคลาส โอเล็นกา ผู้ที่มีส่วนร่วมกับผู้นำชาวคองโกพาทริค ลูมัมบาในภายหลัง การลักลอบเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับกับรัฐบาลของคองโกให้มีการลักลอบงาช้างกับทองคำเพื่อไม่ให้มีการเผชิญหน้าทางการทหารกับกองทัพของอามิน ในปี พ.ศ. 2509 ทางรัฐสภาได้มีข้อเรียกร้องให้สืบสวนเรื่องดังกล่าว โอโบเตได้กำหนดกฎหมายข้อบังคับใหม่ ให้ยกเลิกพิธีแต่งตั้งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยกาบากา (กษัตริย์) เอ็ดเวิร์ด มูเทซาที่ 2 แห่งบูกันดาลง และประกาศแต่งตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีบริหารบ้านเมือง เขาสนับสนุนให้อามินเป็นผู้บัญชาการกองทัพ อามินได้เข้าทำลายพระราชวังของกาบากา และใช้กำลังเนรเทศมูเทซาไปที่สหราชอาณาจักร ที่ที่มูเทซาอยู่จนกระทั่งชีวิตในปี พ.ศ. 2512[15][16]

อามินเริ่มรับทหารใหม่จากกากวา, ลักบารา, นูเบียน และชนเผ่าอื่น ๆ ในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนประเทศซูดาน ชาวนูเบียนได้อพยพจากประเทศซูดานเข้ามาสังกัดกองพันทหารอยู่ในประเทศยูกันดามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 แล้ว ในประเทศยูกันดานั้น ชาวนูเบียนถือเป็นชาวต่างด้าวและถูกมองเป็นพวกอพยพจากการก่อจลาจลในสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่ 1 (First Sudanese Civil War) ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศยูกันดาเลย เพราะว่ามีชนเผ่าอยู่มากมายทางตอนเหนือของประเทศยูกันดาอาศัยอยู่ในทั้งยูกันดาและซูดาน ดังนั้นจึงอาจกล่าวอ้างได้ว่ากองทัพของอามินนั้นกอปรขึ้นจากเลือดเนื้อเชื้อไขทหารชาวซูดานด้วย[17]

การยึดอำนาจ แก้

 
มิลตัน โอเบเต (Milton Obete)

ในที่สุดก็เกิดรอยร้าวระหว่างอีดี อามินกับประธานาธิบดีมิลตัน โอเบเต ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายลงนั้นเกิดจากมีการหนุนให้อามินสร้างกองทัพทหารด้วยการรับทหารใหม่จากดินแดนแถบตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ความเกี่ยวข้องของเขาในการปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการก่อจลาจลทางตอนใต้ของประเทศซูดาน และพยายามสังหารโอเบเต้ในปี พ.ศ. 2512 ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 โอเบเตได้เข้ามาควบคุมกองทัพทหารด้วยตัวเอง ทำให้ลดอำนาจของอามินโดยปริยาย[18]

อามินทราบถึงแผนการที่โอเบเต้จะจับกุมตัวเขาในข้อหายักยอกเงินทุนของกองทัพ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2514 อามินจึงทำการยึดอำนาจ ขณะที่โอเบเตกำลังเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำเครือจักรภพแห่งชาติประเทศสิงคโปร์ ทหารที่จงรักภักดีต่ออามินทำการยึดท่าอากาศยานนานาชาติเอนเทบเบ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักสำคัญในการเข้าประเทศยูกันดาและเมืองกัมปาลา ทหารเข้าห้อมล้อมทำเนียบของโอเบเตและปิดถนนหลัก มีการออกอากาศทางวิทยุ[19]ของยูกันดากล่าวหาว่ารัฐบาลของโอเบเต้ฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีสิทธิพิเศษเหนือดินแดนแลนโก (เมืองหนึ่งในประเทศยูกันดา) หลังจบการรายงานทางวิทยุฝูงชนต่างออกมาไชโยโห่ร้องกันทั่วท้องถนนของเมืองกัมปาลา อามินประกาศว่าเขานั้นเป็นทหาร ไม่ใช่นักการเมือง และนี่คือรัฐบาลทหารที่อยู่เพื่อปกครองดูแลบ้านเมืองจนกระทั่งมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เท่านั้น ซึ่งการประกาศนั้นเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์เริ่มเป็นปกติ และเขายังให้สัญญาว่าจะปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองอีกด้วย[20]

อีดี อามิน ได้รับการยอมรับทั้งภายในประเทศยูกันดาและนานาอารยประเทศ เขาอนุญาตให้มีการนำร่างของอดีตกษัตริย์และประธานาธิบาดีมูเทซา เอ็ดเวิร์ดที่ 2 (สิ้นพระชนม์ระหว่างถูกเนรเทศ) มาประกอบพิธีฝังพระศพไว้ในประเทศเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 ทำการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองหลายคน และอามินยังย้ำคำมั่นสัญญาที่จะให้มีการจัดการเลือกตั้งเพื่อคืนอำนาจประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนในเวลาอันสั้น[21]

ประเทศยูกันดาภายใต้การปกครองของอีดี อามิน แก้

การปกครองกองทัพ แก้

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 หนึ่งสัปดาห์หลังจากทำการรัฐประหาร อามินได้สถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีของประเทศยูกันดา, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, หัวหน้าเสนาธิการกองทัพและหัวหน้าเสนาธิการทหารอากาศ อามินประกาศเอาไว้ว่าจะลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ อย่างแน่นอนเมื่อเขาได้จัดการเลือกตั้งเรียบร้อยและในไม่ช้าจะมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษากลาโหมโดยมีอามินนั่งเป็นประธานสภา อามินอยู่ภายใต้ศาลทหารที่เหนือกว่าศาลพลเรือนทั่วไป มีคำสั่งให้ทหารไปที่ทำการหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลกับรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการโฆษณาเพื่อทำการแจ้งข่าวแนะนำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พวกเขาล้วนได้รับการฝึกวินัยทางทหารอย่างเคร่งครัด[18][22] อามินเปลี่ยนชื่อที่ทำการของประธานาธิบดีจากทำเนียบรัฐบาล (Government House) เป็น "กองบัญชาการ (The Command Post)" เขายกเลิกหน่วยงานบริการทั่วไป (The General Service Unit : GSU) ซึ่งเป็นองค์การที่สืบข่าวให้กับรัฐบาลชุดก่อน และเปลี่ยนมันเป็นสำนักงานสืบค้นข่าว (State Reserch Bureau : SRB) สำนักงานใหญ่ของ SRB ตั้งอยู่ชานกรุงกัมปาลา เป็นที่ซึ่งเหมาะแก่การทรมานและสังหารผู้คนในอีก 2–3 ปีต่อมา[23] องค์กรอื่นที่ถูกถอดถอนเช่น หน่วยงานสารวัตรทหาร, หน่วยรักษาความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety Unit : PSU) [23]

โอโบเตได้ลี้ภัยอยู่ประเทศแทนซาเนีย โดยจูเลียส ไนเรอร์ ประธานาธิบดีแห่งแทนซาเนียได้จัดไว้ให้ โอโบเตกับผู้ลี้ภัยชาวยูกันดาราว 20,000 คนพยายามเข้าประเทศยูกันดาเรื่อยมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเลย[24] (โอโบเตกลับมาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2523)

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แก้

 
อีดี อามิน ณ ที่ทำการสหประชาชาติ นิวยอร์ก พ.ศ. 2518

อามินเริ่มจัดการกับกลุ่มคนที่ยังจงรักภักดีโอโบเต ในปี พ.ศ. 2515 อันได้แก่กลุ่มชนเผ่าอะโชลีและแลนโก[25] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2514 ทหารของอะโชลีและแลนโก้ถูกสังหารหมู่ในโรงเรียนทหารจากจินจาและมบาราราจำนวนมาก[26] และต้นปี พ.ศ. 2515 ทหารของอะโชลีและแลนโกประมาณ 5,000 นายกับชาวบ้านบางส่วนหายสาบสูญ[27] ไม่นานเหล่าผู้เคราะห์ร้ายก็หันไปพึ่งชนเผ่าอื่น, ผู้นำลัทธิ, นักหนังสือพิมพ์, ข้าราชการอาวุโส, ผู้พิพากษา, นักกฎหมาย, นักศึกษา, อาชญากร และชาวต่างชาติ เพื่อกระจายข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และจะมีผู้คนถูกสังหารอีกเป็นจำนวนมาก[28]

การสังหารถูกกระตุ้นโดยชนเผ่าตามปัจจัยทางนโยบายและการคลังดำเนินอยู่ตลอด 8 ปีที่อามินดำรงตำแหน่ง[27] ไม่มีใครทราบจำนวนตัวเลขแน่นอนของคนที่ถูกสังหาร คณะกรรมาธิการนักกฎหมายสากลประมาณตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ไม่ต่ำกว่า 80,000 คนและอยู่ประมาณ 300,000 คน แต่การประมาณตัวเลขผู้เสียชีวิตขององค์กรผู้ลี้ภัยที่ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การนิรโทษกรรมสากลได้คาดไว้ถึง 500,000 คน ในกลุ่มผู้ที่ถูกสังหาร ชื่อที่สะดุดตานั้นมีเบเนดิกโต กิวานุกา อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งในภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา, จานานี ลุวุม แองกลิคันอาร์ชบิชอปแห่งคริสตจักรแห่งยูกันดา, โจเซฟ มูบิรุ ผู้ว่าการธนาคารกลาง, แฟรงค์ มาลิมุโซ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเกเรเร, ไบรอน กาวาดวา นักประพันธ์บทละครผู้มีชื่อเสียงและสองรัฐมนตรีของอามินเองคืออีรินาโย วิลสัน ออร์เยมา กับชาลส์ โอบอธ โอโฟมบิ[29]

ในปี พ.ศ. 2520 เฮนรี เกมบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลอามินและอดีตข้าราชการในสมัยโอโบเต้เป็นประธานาธิบดีครั้งแรก ได้ละทิ้งตำแหน่งและไปตั้งรกรากใหม่ที่สหราชอาณาจักร เขาเขียนและตีพิมพ์หนังสือ "A State of Blood" เกมบาคือบุคคลภายในคนแรกที่ออกมาเปิดเผยเรื่องราวการปกครองของอามิน

การขับไล่ชาวเอเชีย 60,000 คนออกนอกประเทศ แก้

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2515 อามินประกาศสิ่งที่เขาเรียกว่า "สงครามเศรษฐกิจ (Economic War)" มีนโยบายอย่างเช่น ยึดอสังหาริมทรัพย์ของชาวเอเชียและชาวยุโรป ชาวเอเชียในยูกันดา 80,000 คนส่วนใหญ่เป็นชาวอนุทวีปอินเดียที่เกิดในยูกันดา บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาประกอบวิชาชีพ เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมของขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของประเทศยูกันดา ตั้งแต่สมัยที่ประเทศของพวกเขายังอยู่ในเครือจักรภพ

4 สิงหาคม พ.ศ. 2515 อามินออกคำสั่งให้ขับไล่ชาวเอเชียในประเทศยูกันดา 60,000 คน (ส่วนใหญ่ถือหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักร) ต่อมาภายหลังเขาได้ออกมาขอโทษกับชาวเอเชียทั้งหมด 80,000 คนต่อมาตรการดังกล่าว และขอยกเว้นชาวเอเชียที่ประกอบอาชีพจำพวกแพทย์, นักกฎหมาย และครู แต่ชาวเอเชียราว 30,000 คนที่ถือหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักรก็ตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศยูกันดาไปที่บริเตนใหญ่ ที่เหลือได้เดินทางไปที่ประเทศออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, ปากีสถาน, สวีเดนและสหรัฐอเมริกา[30][31][32] อามินได้ยึดเอาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ของชาวเอเชีย ยกให้แก่พวกพ้องของอามิน ธุรกิจเหล่านั้นประสบความล้มเหลว อุตสากหรรมล้มละลายเนื่องจากขาดการดูแล เริ่มปรากฏหายนะทางเศรษฐกิจ[22]

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แก้

ภายหลังทำการขับไล่ชาวเอเชียในประเทศยูกันดาในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ประเทศอินเดียได้ลดความสำคัญทางการทูตลงกับประเทศยูกันดา ในปีเดียวกัน ส่วนหนึ่งของนโยบายสงครามเศรษฐกิจของอามิน ได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหราชอาณาจักรลงและทำการกำกับดูแลธุกิจของชาวสหราชอาณาจักร 85 ธุรกิจโดยรัฐบาล

ในปีนั้นอามินได้ทำการขับไล่ที่ปรึกษาทางทหารอิสราเอลออก และหันไปรับการสนับสนุนจากมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้นำลิเบียและสหภาพโซเวียตแทน[25]และออกมาต่อว่าอิสราเอลอย่างไม่พอใจ[33] ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง General Idi Amin Dada: A Self Portrait เขาได้พูดถึงแผนการที่จะสร้างสงครามต่อต้านอิสราเอลขึ้น จะใช้พลร่ม, ระเบิดและกองทัพระเบิดพลีชีพ[10] ภายหลังอามินออกมากล่าวถึงฮิตเลอร์ว่า "ทำถูกแล้วที่เผาทำลายยิว 6 ล้านคน"[34]

พ.ศ. 2516 โธมัส พาทริค เมลาดี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศยูกันดาในขณะนั้น แนะนำให้สหรัฐอเมริกาลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศยูกันดาลง เมลาดีพรรณนาถึงการปกครองของอามินว่า "เห็นแก่พวกพ้อง, เอาแน่เอานอนและคาดเดาไม่ได้, ทารุณโหดร้าย, งี่เง่า, ก้าวร้าว, ไร้เหตุผล, น่าหัวร่อ และเป็นพวกทหารนิยม"[35] ฉะนั้นสหรัฐอเมริกาจึงทำการถอนคณะทูตออกจากเมืองกัมปาลา

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 อามินยอมให้เครื่องบินของสายการบินแอร์ฟรานซ์ที่ถูกสมาชิกขบวนการปลดแอกปาเลสไตน์-ปฏิบัติการนอกดินแดน (PFLP-EO) และสมาชิกกลุ่มปฏิวัติเยอรมนี (RZ) จี้กลางอากาศลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเอนเทบเบ ตัวประกัน 156 คนที่ไม่ได้ถือหนังสือเดินทางประเทศอิสราเอลถูกปล่อยตัวและได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ส่วนชาวยิวและพลเมืองชาวอิสราเอล 83 คนกับพนักงานเครื่องบินและพวกที่เหลืออีก 20 คนยังคงเป็นตัวประกันอยู่ ในภายหลังทางอิสราเอลได้เข้าช่วยเหลือตัวประกันในปฏิบัติการณ์ที่ชื่อว่า "ปฏิบัติการณ์สายฟ้า (Thunderbolt Operation)" หรือรู้จักกันในชื่อ "ปฏิบัติการณ์เอนเทบเบ" ตัวประกันเกือบทั้งหมดรอดเป็นอิสระ แต่ตัวประกัน 3 คนเสียชีวิตและอีก 10 คนบาดเจ็บ ผู้ก่อการร้าย 6 คน, ทหารยูกันดา 45 คนและทหารอิสราเอล 1 คนคือโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu) ถูกสังหาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับนานาประเทศของยูกันดาย่ำแย่ลง ทางบริเตนทำการถอนข้าหลวงออกจากประเทศยูกันดาทันที[36]

ประเทศยูกันดาภายใต้อำนาจการปกครองของอามินได้ดำเนินการส่งเสริมการทหารให้แข็งแกร่งขึ้น เนื่องด้วยการสะสมกองกำลังของประเทศเคนยา ทางการเคนยาได้ทำการยึดเรือสินค้าของโซเวียตลำที่มีเส้นทางเข้าประเทศยูกันดาเอาไว้ที่ท่าเรือมอมบาซ่าของประเทศเคนยา สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูกันดาและเคนยาบรรลุมาถึงจุดแตกหักในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เมื่ออามินประกาศว่าเขาจะสืบสาวเหตุการณ์ในซูดานตอนใต้และภาคตะวันตกกับภาคกลางของเคนยา เข้าไปถึง 32 กิโลเมตร (20 ไมล์) ของกรุงไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งอาณานิคมของยูกันดา รัฐบาลของเคนยาได้ตอกกลับไปว่าเคนยาไม่เคยเป็นส่วนหนึ่ง"แม้แต่นิ้วเดียว" ต่อมาอามินเปลี่ยนใจเนื่องจากเคนยาได้ส่งกองกำลังและยานหุ้มเกราะบรรทุกทหารมาที่บริเวณเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างยูกันดาและเคนยา[37]

ความสัมพันธ์กับประเทศลิเบียนั้น ผู้นำเผด็จการทหารมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟีก็ถือหางอามินอยู่[2] เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่เป็นผู้สนับสนุนหลักของกองทัพทหารของอามิน[3]

เยอรมนีตะวันออกนั้นมีส่วนพัวพันอยู่กับหน่วยงานบริการทั่วไป (GSU) และสำนักงานสืบค้นข่าวกรอง (SRB) ซึ่งเป็นสององค์กรที่ขึ้นชื่อเรื่องความสยดสยอง จนกระทั่งแทนซาเนียได้เข้าทำการบุกรุกเมื่อปี พ.ศ. 2522 เยอรมนีตะวันออกจึงได้พยายามนำหลักฐานต่าง ๆ ออกมาจากสถานที่เหล่านั้น[4]

พฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้และอามินในสายตาสื่อ แก้

 
ภาพล้อเลียนอีดี อามินในชุดทหารและประธานาธิบดี วาดโดยเอ็ดมันด์ เอส. วาลต์แมน

อามินพูดจาขวานผ่าซากและมีพฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้มาโดยตลอด สหราชอาณาจักรยุติสัมพันธ์ทางการทูตกับยูกันดาภายใต้อำนาจการปกครองของเขา วิทยุในประเทศยูกันดาได้อ่านคำนำหน้าชื่อของเขาใหม่ว่า "ฯพณฯ ประธานาธิบดีตลอดชีพ จอมพล อัล หัจญี ดร.อีดี อามิน ดาดา, วีซี., ดีเอสโอ., เอ็มซี., ซีบีอี.," อามินกับโมบูตู เซเซ เซโกประธานาธิบดีของประเทศซาเอียร์ (หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน) ได้ร่วมกันเปลี่ยนชื่อทะเลสาบอัลเบิร์ตกับทะเลสาบเอ็ดเวิร์ดเป็นทะเลสาบโมบูตู เซเซ เซโก กับทะเลสาบอีดี อามิน ดาดา ตามลำดับ[38]

มีข่าวลือหรือและเรื่องโกหกเกี่ยวกับอามิน เช่นมีเรื่องที่เชื่อกันแพร่หลายว่าเขาเป็นพวกที่ชอบกินเนื้อมนุษย์[39][40] บ้างก็มีข่าวลือที่ไม่มีแหล่งที่มาว่าเขาฉีกร่างของภรรยาคนหนึ่งซึ่งเป็นข่าวลือที่ถูกแพร่ขยายและโด่งดังโดยภาพยนตร์ Rise and Fall of Idi Amin ในปี พ.ศ. 2524 และในปี พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์เรื่อง The Last King of Scotland ก็ได้พาดพิงถึงเรื่องนี้เช่นกัน[41]

ในช่วงที่อามินเรืองอำนาจ สื่อนอกประเทศยูกันดามักวาดภาพของเขาให้มีรูปร่างตลก พ.ศ. 2520 นิตยสารไทม์ได้วิเคราะห์เรื่องของอามินในหัวข้อ "ฆาตกรและตัวตลก, ตลกหยาบช้าผู้กล้าและมีเคร่งต่อท่าทางอันจองหอง"[42] บทความมุ่งเน้นไปที่เรื่องนิสัยชอบละเมิดและการยกระดับอัจฉริยภาพของอามิน บ่อยครั้งสื่อต่างชาติออกมาตำหนิการกลบเกลื่อนและแก้ตัวในพฤติกรรมที่ชอบสังหารผู้คนของตน[43] นักวิจารณ์บางกลุ่มแนะนำให้อามินบ่มเพาะตนเองใหม่เพราะสื่อต่างชาติต่างมองการปกครองของอามินเป็นตลกร้ายไปเสียแล้ว[44]

สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย แก้

สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย
วันที่30 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2522
สถานที่
ผล แทนซาเนียชนะ; เกิดการล้มล้างอำนาจของอีดี อามินในยูกันดา
คู่สงคราม
  ยูกันดา
  ลิเบีย
องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) [45]
  แทนซาเนีย
กองทัพปลดแอกแห่งชาติยูกันดา (UNLA)
  อิสราเอล(ในส่วนปฏิบัติการเอนเทบเบ)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ยูกันดา:

  • อีดี อามิน

ลิเบีย:

กองทัพประชาชนแทนซาเนีย:

กองทัพปลดแอกแห่งชาติยูกันดา:

หน่วยรบพิเศษอิสราเอล(ในส่วนปฏิบัติการเอนเทบเบ):

กำลัง
70,000+ กองทัพยูกันดา
3,000 กองทหารลิเบีย
30,000 ชาวแทนซาเนีย
6,000 กองทหารต่อต้านยูกันดา
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ไม่ทราบ

สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย (ในยูกันดาถูกอ้างถึงในชื่อสงครามปลดแอก) เป็นสงครามระหว่างประเทศยูกันดาและประเทศแทนซาเนีบระหว่างปี พ.ศ. 2521–2522 กองทหารบางส่วนของอามินมาจากกองทหารของมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย สงครามนี้นำไปสู่การล้มล้างระบอบการปกครองของอีดี อามิน

สาเหตุการเกิดสงคราม แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยูกันดากับแทนซาเนียกระท่อนกระแท่นมานานหลายปีก่อนเกิดสงคราม หลังการยึดอำนาจของอามินในปี พ.ศ. 2514 ผู้นำแทนซาเนียจูเลียส ไนเรอร์เสนอให้มิลตัน โอโบเตลี้ภัยมาที่ประเทศของตน โอโบเตและผู้ลี้ภัยอีก 20,000 คนตอบตกลง ในปีถัดมากลุ่มของผู้ลี้ภัยเข้าบุกยูกันดาเพื่อทำการปลดอามินออกจากตำแหน่งแต่ไม่สำเร็จ อามินตำหนิไนเรอร์ที่คิดเป็นศัตรูของเขา ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเข้าสู่สถานการณ์ตึงเครียดหลายปี

ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2521 มีกองกำลังทหารเข้าซุ่มโจมตีอามิน ณ ที่ทำการประธานาธิบดีในกรุงกัมปาลา แต่อามินและครอบครัวหลบหนีออกมาได้ทางเฮลิคอปเตอร์[46] เหตุการณ์แบบนี้เริ่มเกิดขึ้นอยู่บ่อนครั้งเมื่อคนใกล้ชิดของอามินแสดงอาการหวั่นกลัว เขาต้องเผชิญกับความแตกแยกภายในประเทศยูกันดามากขึ้น[47] เมื่อมุสตาฟา อดริซี รองประธานาธิบดีของอามินได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่มีพิรุธว่ามีผู้บงการอยู่เบื้องหลัง กองทหารที่อารักขาอดริซี (และทหารอื่นที่ไม่พอใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) ทำการขัดขืนต่อคำสั่งทางทหาร อามินได้ส่งกองพันราชสีห์ (Simba) ที่คัดสรรมาเพื่อปราบปรามกลุ่มทหารกบฏที่ทำการขัดขืน กลุ่มกบฏบางส่วนข้ามไปยังชายแดนของประเทศแทนซาเนีย[22] กลุ่มกบฏตั้งฐานต่อต้านกองทัพของอามินในประเทศแทนซาเนีย

อามินประกาศสงครามต่อแทนซาเนีย ส่งกองทหารไปโจมตีและยึดเอาบางส่วนของเมืองคาเกลา ดินแดนของประเทศแทนซาเนีย และอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของยูกันดา

สงคราม แก้

ไนเรอร์ระดมพลกองทัพประชาชนแทนซาเนีย (Tanzania People's Defence Force) และทำการโต้กลับกองทัพของอามิน ในอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมากองทัพแทนซาเนียมีสมาชิกมากมายอาทิตำรวจ, ราชทัณฑ์, ข้าราชการและกองทหารอาสาสมัคร แทนซาเนียรับกลุ่มต่อต้านอามินมากมายที่ถูกเนรเทศ รวมตัวเป็นกองทัพปลดแอกแห่งชาติยูกันดา (Uganda National Liberation Army : UNLA) ที่ประกอบไปด้วยกองทหารกิโกซี มาลุม (เป็นภาษาสวาฮีลีแปลว่ากองกำลังพิเศษ) นำโดยติโต โอเกลโลและเดวิด โอยิเต-โอจ็อก, กลุ่มแนวหน้าพาชาติพ้นภัย (Front for National Salvation : FRONASA) นำโดยโยเวลี มุเซเวนี และกลุ่มคุ้มครองการเคลื่อนไหวของยูกันดานำโดยอเกน่า พี'โอจ็อก, วิลเลียม โอมาเรียและอเตเกอร์ อีจาลู

กองทัพแทนซาเนียได้นำเครื่องยิงจรวดคัทยูชา (Katyucha Rocket Launcher) ของรัสเซีย (ในยูกันดาเรียกว่า saba saba) มาใช้ในการยิงเป้าหมายภายในประเทศยูกันดา[48] จนทำให้กองทัพของยูกันดาต้องถอยไปตั้งหลักกันใหม่ มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้นำลิเบียจัดส่งกองทหาร 2,500 นายให้แก่อามิน พร้อมรถถัง T-54, รถถัง T-55, รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ BTR APCs, เครื่องยิงจรวด BM-21 Katyusha MRLs, เหล่าทหารปืนใหญ่, เครื่องบินรบ MiG-21s และเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22[49] อย่างไรก็ตามลิเบียก็ได้รับรายงานจากทางแนวหน้าว่าลับหลังลิเบีย กองทัพยูกันดาได้ใช้รถถังที่ได้มาขนทรัพย์สมบัติที่ปล้นมาได้จากศัตรู[50]

กองพันทหารของลิเบียเป็นการผสมรวมกันของกองทัพลิเบีย, ประชาชนอาสาสมัคร และกองทหารอาหรับ หน่วยย่อยซาฮาราน-แอฟริกัน กองพันนี้ถึงส่งมาปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ[49]

แทนซาเนียได้ร่วมกับกลุ่ม UNLA เคลื่อนที่ไปยังตอนเหนือของกรุงกัมปาลา แต่ต้องล่าช้าด้วยหนองบึงที่ลึกทางเหนือของเมืองลุกายาเป็นอุปสรรค ทางแทนซาเนียจึงตัดสินใจส่งทหาร 201 หมู่ข้ามถนนที่จองไว้เหนือหนองดังกล่าวตราบที่ถนนยังใช้งานได้อยู่ ทหารอีก 208 หมู่เดินตามริมตลิ่งด้านตะวันตกของหนองน้ำลึกในกรณีที่ถนนที่จองไว้เหนือบึงแออัดหรือถูกทำลาย แทนซาเนียมีแผนที่จะเข้าตีกองพันทหารของลิเบียเพื่อยึดเอารถถัง T-55 12 คัน, รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ APCs 12 คันและเครื่องยิงจรวด BM-21 MRLs มีเจตนาที่จะขยายกำลังถึงเมืองมาซากา แต่เกิดการปะทะกันที่เมืองลุกายาในวันที่ 10 มีนาคม แทนซาเนียส่งกองทหาร 201 หมู่ถอยกลับในช่วงชุลมุนอย่างทุลักทุเล อย่างไรก็ตามแทนซาเนียได้ทำการตีโต้ในคืนวันที่ 11–12 มีนาคมจาก 2 ทิศทาง ดังนี้ ทหาร 201 หมู่ที่จัดทัพใหม่เข้าตีทางทิศใต้ อีก 208 หมู่เข้าตีทางตะวันตกเฉียงเหนื แทนซาเนียพิชิตชัยชนะ กองทัพใหญ่จากลิเบียที่ส่วนใหญ่เป็นทหารอาสาสมัครแตกและถอยหนีอย่างรวดเร็ว มีรายงานว่ามีชาวลิเบียเสียชีวิตมากกว่า 200 คนและอีก 200 คนเป็นพันธมิตรทหารยูกันดา

แทนซาเนียและกองกำลัง UNLA พบกับศึกเล็กศึกน้อยหลังสมรภูมิที่ลุกายา ขณะที่เคลื่อนทัพต่อไปยังด้านตะวันตกของกรุงกัมปาลา สถานที่แรกที่เคลื่อนทัพไปถึงคือสนามบินเอนเทบเบ และที่นั่นได้ทำการปลดแอกอิสรภาพกรุงกัมปาลาในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2522 มีกองทหารยูกันดาหรือไม่ก็ลิเบียเพีง 2-3 หน่วยเป็นอุปสรรคไม่น้อย เคนเน็ธ มิชาเอล โพลลัก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและการทหารของตะวันออกกลางได้กล่าวเอาไว้ว่า ปัญหาใหญ่ของกองทหารแทนซาเนียคือขาดแคลนแผนที่ของกรุงกัมปาลา[49] อามินหนีไปยังลิเบียเป็นที่แรก ก่อนจะเดินทางลี้ภัยไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย กองกำลังของลิเบียถอนกำลังไปยังเมืองจินจาก่อนจะถอยไปยังประเทศเคนยาและเอธิโอเปียเป็นที่สุดท้าย กองทัพของแทนซาเนียยังคงอยู่ในยูกันดาจนสถานการณ์สงบเมื่อกลุ่มปกป้องการเมือง UNLA (UNLF) จัดระเบียบการเลือกตั้งลงรัฐธรรมนูญของประเทศอีกครั้ง

รัฐบาลแทนซาเนียได้แจกจ่ายเหรียญกล้าหาญ Nishani ya Vita โดยเหรียญจารึกคำว่า Vita-1978-1979 (ด้านบน) และ Tanzania (ด้านล่าง) ส่วนด้านหลังเป็นด้านเรียบ

การลี้ภัย แก้

ภายหลังจากแพ้สงครามแล้ว อามินได้รับการช่วยเหลือจากมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟีให้ลี้ภัยมายังประเทศลิเบีย หลังกรุงกัมปาลาถูกยึดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2522 ต่อมาอามินเดินทางต่อไปที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ที่ราชวงศ์ซาอุจะจ่ายค่ากินอยู่ของอามินขณะลี้ภัยทางการเมือง[9] อามินอาศัยอยู่ที่ชั้น 2 ของโรงแรมโนโวเทล ถนนปาเลสไตน์ กรุงเจดดะห์นานหลายปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ไบรอัน บาร์รอน หัวหน้าผู้สื่อข่าวแอฟริกาของ BBC ผู้รับผิดชอบข่าวสงครามอูกันดา-แทนซาเนีย ได้ตามหาตัวอามินจนเจอ และได้เป็นผู้สัมภาษณ์อามินเป็นคนแรกหลังลงจากอำนาจ

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 มาดินา อามิน (ภรรยาของอามิน) รายงานว่าอามินอยู่ในอาการโคม่าและใกล้จะถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลเฉพาะทางกษัตริย์ไฟแซล (King Faisal Specialist Hospital) เมืองเจดดะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เธออ้อนวอนให้โยเวรี มุเซเวนี ประธานาธิบดีของยูกันดาอนุญาตให้อามินกลับมาสิ้นใจที่ประเทศบ้านเกิด มุเซเวนีตอบกลับไปว่า "คำตอบสำหรับบาปกรรมของเขาที่ได้กระทำไว้นั้นนำประเทศไปสู่ความล้าหลัง"[51] อามินถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ร่างของเขาถูกฝังที่ป่าช้ารูวาอิสในเมืองเจดดะห์[52]

ครอบครัว แก้

ด้วยประเพณีที่สามารถมีภรรยาได้หลายคน อีดี อามินแต่งงานอย่างน้อย 6 ครั้ง ภรรยา 3 คนหย่าร้าง ภรรยาคนแรกมัลยามูและเคย์ ภรรยาคนที่สองแต่งงานกับอามินในปี พ.ศ. 2509 แต่งงานกับนอราในปีถัดมาและแต่งงานกับมาดินา พ.ศ. 2515 ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2517 เขาประกาศทางวิทยุประเทศยูกันดาว่าได้ทำการหย่ากับมัลยามู, นอราและเคย์[53][54] ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน มัลยามูถูกจับขังไว้ที่เมืองโตโรโร่ชายแดนติดกับประเทศเคนยา ในข้อหาพยายามปล้นกระชอนผ้าในเคนยา ภายหลังเธอย้ายไปอยู่ที่กรุงลอนดอน[53][55] เคย์ อามินเสียชีวิตในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ตามรายงานเธอเสียชีวิตเนื่องจากพยายามทำแท้งโดยนายแพทย์มบาลู มุกาซา คนรักของเธอ (เขาได้ฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา) ร่างของเธอถูกพบในสภาพฉีกขาด ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2518 ขณะที่องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organisation of African Unity : OAU) จัดการประชุมกลุ่มผู้นำในกรุงกัมปาลา อามินได้แต่งงานกับซาราห์ เกียวลาบา คนรักของซาร่าห์ที่อยู่ด้วยกันก่อนที่ซาราห์จะพบกับอามินได้หายตัวไปและไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย มีรายงานว่าในปี พ.ศ. 2546 อามินได้แต่งงานอีกครั้งก่อนที่จะเสียชีวิตเพียงไม่กี่เดือน[55]

จากแหล่งข่าวที่ต่างกัน คาดว่าอามินมีบุตรและธิดารวม 35-40 คน[D] กระทั่ง พ.ศ. 2546 ทาบาน อามิน ลูกชายคนโตของอามิน นำกลุ่ม West Nile Bank Front (WNBF) ก่อจลาจลต่อต้านรัฐบาลของโยเวลี มุเซเวนี พ.ศ. 2548 ได้รับนิรโทษกรรมจากมุเซเวนี ปีถัดมารั้งตำแหน่งเป็นสมาชิกขององค์กรรักษาความสงบภายในประเทศ[56] ซึ่งเป็นองค์กรลับของรัฐบาลยูกันดา ลูกชายคนอื่นของอามินที่มีชื่อเสียงก็มีหัจญี อาลี อามิน ที่ลงสมัครเป็นประธานสภาเมืองนเจรู แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[57] ต้นปี พ.ศ. 2550 จาฟฟาร์ อามิน ออกมาตอบโต้ทีมงานของภาพยนตร์เรื่อง เผด็จการแผ่นดินเลือด จาฟฟาร์ อามิน กล่าวว่าเขาต้องเขียนหนังสือ เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของพ่อเขาคืน[58] 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ไฟแซล วานกิตา ลูกชายคนหนึ่งของอามินถูกจับกุมในคดีฆาตกรรมที่กรุงลอนดอน[59]

อามินในสื่อต่าง ๆ แก้

ภาพยนตร์ แก้

สารคดี แก้

หนังสือ แก้

หมายเหตุ แก้

  • ^ จากหลายแหล่งข้อมูล เหมือนกับสารานุกรมประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2311 กับสารานุกรมโคลัมเบีย กล่าวว่าอามินกำเนิดที่เมืองโกโบโกหรือไม่ก็เมืองกัมปาลา ราว ๆ ปี พ.ศ. 2468 ไม่ปรากฏวันเกิดของเขา นักสำรวจเฟร็ด กูเว็ดเดโกอ้างว่าอามินเกิดวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2471[8] แต่นั่นไม่ตรงกับข้อมูลอื่นที่ได้มา[60]
  • ^ เขาได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยมาเกเรเร[6]
  • ^ วีซี. หรือ เหรียญอิสริยาภรณ์วิคตอเรียสครอส (The Victorious Cross : VC) เป็นเหรียญอิสริยาภรณ์ที่เลียนแบบมาจากเหรียญราชอิสริยาภรณ์วิคตอเรียครอส ซึ่งเป็นเหรียญกล้าหาญชั้นสูงสุดของสหราชอาณาจักร [61]
  • ^ ตามที่เฮนรี กีมาและหนังสือ African Studies Review[62] อีดี อามินมีบุตรและธิดารวม 34 คน บางแหล่งข้อมูลบอกว่ามี 32 คน จากรายงานของหนังสือพิมพ์ The Monitor ของยูกันดามี 45 คน[55] BBC คาดว่ามี 54 คน[63]

อ้างอิง แก้

  1. Ullman, Richard H. (April 1978). "Human Rights and Economic Power: The United States Versus Idi Amin". Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ 2009-03-26. The most conservative estimates by informed observers hold that President Idi Amin Dada and the terror squads operating under his loose direction have killed 100,000 Ugandans in the seven years he has held power.
  2. 2.0 2.1 Roland Anthony Oliver, Anthony Atmore. Africa since 1800. p. 272.
  3. 3.0 3.1 Dale C. Tatum. Who influenced whom?. p. 177.
  4. 4.0 4.1 Gareth M. Winrow: The foreign policy of the GDR in Africa, p. 141
  5. Jørgensen, Jan Jelmert (1981). Uganda: a modern history. St. Martin's Press. p. 272. ISBN 0312827865.
  6. 6.0 6.1 "Idi Amin: a byword for brutality". News24. 2003-07-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
  7. 7.0 7.1 Keatley, Patrick (18 August 2003). "Obituary: Idi Amin". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Guweddeko, Fred (12 June 2007). "Rejected then taken in by dad; a timeline". The Monitor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2007. สืบค้นเมื่อ 8 August 2009.
  9. 9.0 9.1 "Idi Amin". Encyclopædia Britannica. 19 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  10. 10.0 10.1 General Idi Amin Dada: A Self Portrait. Le Figaro Films. 1974. ISBN 0-78002-507-5.
  11. Bay, Austin (20 August 2003). "Why Didn't Amin Rot and Die in Jail?". Strategy Page. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  12. Bridgland, Fred (16 August 2003). "Idi Amin". Scotsman. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  13. 13.0 13.1 Cain, Nick & Growden, Greg "Chapter 21: Ten Peculiar Facts about Rugby" in Rugby Union for Dummies (2nd Edition), p294 (pub: John Wiley and Sons, Chichester, England) ISBN 978-0-470-03537-5
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Cotton, p111
  15. "Country Studies: Uganda: Independence: The Early Years". Federal Research Division. United States Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  16. "Idi Amin Dada Biography". Encyclopedia of World Biography. Thomson Gale. 2005.
  17. Nantulya, Paul (2001). "Exclusion, Identity and Armed Conflict: A Historical Survey of the Politics of Confrontation in Uganda with Specific Reference to the Independence Era" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-03-16.
  18. 18.0 18.1 "General Idi Amin overthrows Ugandan government". British Council. 2 February 1971. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  19. "On this day: 25 January 1971: Idi Amin ousts Ugandan president". BBC. 1971-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  20. Fairhall, John (26 January 1971). "Curfew in Uganda after military coup topples Obote". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  21. Mbabaali, Jude (August 2005). "The Role of Opposition Parties in a Democracy: The Experience of the Democratic Party of Uganda" (PDF). Regional Conference on Political Parties and Democratisation in East Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  22. 22.0 22.1 22.2 "Country Studies: Uganda: Military Rule Under Amin". Federal Research Division. United States Library of Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2012. สืบค้นเมื่อ 8 August 2009.
  23. 23.0 23.1 "Country Studies: Uganda: Post-Independence Security Services". Federal Research Division. United States Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  24. "An Idi-otic Invasion". Time. 13 November 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  25. 25.0 25.1 Tall, Mamadou (Spring–Summer 1982). "Notes on the Civil and Political Strife in Uganda". Issue: A Journal of Opinion. 12 (1/2): 41–44. doi:10.2307/1166537. JSTOR 1166537.
  26. Lautze, Sue. "Research on Violent Institutions in Unstable Environments: The livelihoods systems of Ugandan army soldiers and their families in a war zone" (PDF). Hertford College, Oxford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  27. 27.0 27.1 "Obituary: Idi Amin". Daily Telegraph. 17 September 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  28. "Disappearances and Political Killings: Human Rights Crisis of the 1990s: A Manual for Action" (PDF). Amnesty International. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
  29. "Special report: Who were Amin's victims?". The Daily Monitor. 13 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
  30. Luganda, Patrick (29 July 2003). "Amin's Economic War Left Uganda on Crutches". New Vision. Kampala.
  31. "On this day: August 7th 1972: Asians given 90 days to leave Uganda". BBC. 1972-08-07. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  32. "Flight of the Asians". Time. 11 September 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-29. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  33. Jamison, M. Idi Amin and Uganda: An Annotated Bibliography, Greenwood Press, 1992, p.155-6
  34. End for Amin the executioner The Sun-Herald August 17, 2003
  35. "240. Telegram 1 From the Embassy in Uganda to the Department of State, January 2nd, 1973, 0700Z". United States Department of State. Office of the Historian. E-6. 2 January 1973. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  36. "On this day: July 7th 1976: British grandmother missing in Uganda". BBC. 1976-07-07. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  37. "'Dada' always rubbed Kenya the wrong way". Sunday Nation. 17 August 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
  38. "Purges and Peace Talks". Time. 16 October 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-29. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  39. Orizio, Riccardo (21 August 2003). "Idi Amin's Exile Dream". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  40. "Museveni, munificent with monarch". The Economist. 29 November 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-06-27.
  41. Serugo, Moses (28 May 2007). "Special Report: The myths surrounding Idi Amin". The Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
  42. "Amin:The Wild Man of Africa". Time. 28 February 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  43. Kibazo, Joel (13 January 2007). "A Brute, Not a Buffoon". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08. ... Amin was widely portrayed as a comic figure. Yes, he had expelled the Asians and murdered a few people, but isn't that what was expected of Africa, I used to hear.
  44. "Obituary: Idi Amin". Daily Telegraph. 17 September 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09. Throughout his disastrous reign, he encouraged the West to cultivate a dangerous ambivalence towards him. His genial grin, penchant for grandiose self-publicity and ludicrous public statements on international affairs led to his adoption as a comic figure. He was easily parodied ... however, this fascination, verging on affection, for the grotesqueness of the individual occluded the singular plight of his nation.
  45. "Idi Amin and Military Rule". Country Study: Uganda. Library of Congress. December 1990. สืบค้นเมื่อ 5 February 2010. By mid-March 1979, about 2,000 Libyan troops and several hundred Palestine Liberation Organization (PLO) fighters had joined in the fight to save Amin's regime
  46. "An Idi-otic Invasion" เก็บถาวร 2012-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TIME magazine, Nov. 13, 1978.
  47. "Not even an archbishop was spared" เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Weekly Observer, February 16, 2006.
  48. "Fighting for Amin", The East African, April 8, 2002.
  49. 49.0 49.1 49.2 Kenneth M. Pollack, Arabs at War: Military Effectiveness 1948–91, University of Nebraska Press, Lincoln and London, 2002, p.369-373, ISBN 0-8032-3733-2
  50. OnWar.com
  51. "Idi Amin back in media spotlight". BBC. 25 July 2003. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  52. "Idi Amin, ex-dictator of Uganda, dies". USA Today. 16 August 2003. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08. Amin was buried in Jiddah's Ruwais cemetery after sunset prayers Saturday, said a person close to the family in the Red Sea port city. The source, who spoke on condition of anonymity, was told that few people attended the funeral.
  53. 53.0 53.1 "Reign of Terror: The life and loves of a tyrant". Daily Nation. 20 August 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  54. Kavuma, Richard (18 June 2007). "Special Report: Big Daddy and his women". The Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  55. 55.0 55.1 55.2 Kibirige, David (17 August 2003). "Idi Amin is dead". The Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-10. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  56. Mcconnell, Tristan (12 February 2006). "Return of Idi Amin's son casts a shadow over Ugandan election". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  57. "Amin's son runs for mayor". BBC. 3 January 2002. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  58. "Idi Amin's son lashes out over 'Last King'". Associated Press. USA Today. 22 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  59. "Idi Amin's son jailed over death". BBC News. 3 August 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  60. Keatley, Patrick (18 August 2003). "Idi Amin: Obituary". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  61. Lloyd, Lorna (2007) p.239
  62. African Studies Review (1982) p.63
  63. "Amins row over inheritance". BBC News. 2003-08-25. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้