อิโตชิมะ

นครในจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

อิโตชิมะ (ญี่ปุ่น: 糸島市โรมาจิItoshima-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 215.69 ตารางกิโลเมตร (83.28 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 ประมาณ 100,418 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 466 คนต่อตารางกิโลเมตร[1]

อิโตชิมะ

糸島市
ศาลาว่าการนครอิโตชิมะหลังเก่า
ศาลาว่าการนครอิโตชิมะหลังเก่า
ธงของอิโตชิมะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของอิโตชิมะ
ตรา
ที่ตั้งของอิโตชิมะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูโอกะ
ที่ตั้งของอิโตชิมะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูโอกะ
แผนที่
อิโตชิมะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
อิโตชิมะ
อิโตชิมะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 33°33′14″N 130°11′52″E / 33.55389°N 130.19778°E / 33.55389; 130.19778
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัด ฟูกูโอกะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรียูจิ สึกิงาตะ (月形 祐二; ตั้งแต่กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014) (อิสระ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด215.69 ตร.กม. (83.28 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025)
 • ทั้งหมด100,418 คน
 • ความหนาแน่น466 คน/ตร.กม. (1,210 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-1-1 มาเอบารุนิชิ นครอิโตชิมะ จังหวัดฟูกูโอกะ 819-1192
รหัสท้องถิ่น40230-3
เว็บไซต์www.city.itoshima.lg.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้ฮามาโบ (Hibiscus hamabo)
ต้นไม้เมเปิล (เมเปิลญี่ปุ่น)
ทิวทัศน์ของนครอิโตชิมะจากน้ำตกชิราอิโตะ
ทุ่งนาขั้นบันไดในอิโตชิมะ
ฟูตามิงาอูระโทริอิ

ภูมิศาสตร์

แก้

นครอิโตชิมะตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิโตชิมะทางขอบตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดฟูกูโอกะ มีอาณาเขตทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับทะเลเก็งไก ทิศตะวันออกติดกับนครฟูกูโอกะ และทิศใต้ติดกับจังหวัดซางะซึ่งกั้นด้วยพื้นที่เทือกเขาเซฟูริ โดยทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับนครคารัตสึ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับนครซางะ

เทศบาลข้างเคียง

แก้

ภูมิอากาศ

แก้

นครอิโตชิมะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน: Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีในอิโตชิมะอยู่ที่ 16.4 °C (61.5 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 1,701.0 มิลลิเมตร (66.97 นิ้ว) โดยเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 27.6 °C (81.7 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 6.2 องศาเซลเซียส (43.2 องศาฟาเรนไฮต์)[2] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้ในอิโตชิมะคือ 38.9 °C (102.0 °F) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2017 และอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึกคือ −4.7 °C (23.5 °F) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1981

สถิติประชากร

แก้

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของนครอิโตชิมะใน ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 98,877 คน นครอิโตชิมะดำเนินการสำมะโนประชากรมาตั้งแต่ ค.ศ. 1920

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 41,064—    
1925 43,103+5.0%
1930 44,881+4.1%
1935 44,823−0.1%
1940 45,533+1.6%
1945 60,260+32.3%
1950 60,809+0.9%
1955 62,021+2.0%
1960 59,549−4.0%
1965 56,863−4.5%
1970 56,204−1.2%
ปีประชากร±%
1975 59,697+6.2%
1980 66,220+10.9%
1985 73,649+11.2%
1990 77,610+5.4%
1995 88,691+14.3%
2000 95,040+7.2%
2005 97,974+3.1%
2010 98,440+0.5%
2015 96,475−2.0%
2020 98,877+2.5%
สถิติประชากรอิโตชิมะ[4]

ประวัติศาสตร์

แก้

พื้นที่ของอิโตชิมะในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นชิกูเซ็ง จากซากปรักหักพังของยุคยาโยอิจำนวนมากที่พบในเมืองและจากที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของเมือง สันนิษฐานว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของอิโตโกกุที่กล่าวถึงในบันทึกวาจินเด็งและบันทึกจีนโบราณอื่น ๆ ต่อมาในช่วงยุคเอโดะ พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาฟูกูโอกะ

  • หลังการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านต่าง ๆ ใน 2 อำเภอของจังหวัดฟูกูโอกะ ดังนี้
    • อำเภออิโตะ: หมู่บ้านฟูกูโยชิ ฟูกาเอะ อิกิซัง นางาอิฮง (เปลี่ยนชื่อเป็นนางาอิโตะใน ค.ศ. 1892) คาฟูริ ไรซัง และอิโตะ
    • อำเภอชิมะ: หมู่บ้านมาเอบารุ ฮาตาเอะ คายะ โคฟูจิ เคยะ โนกิตะ และซากูราอิ
  • 1 เมษายน ค.ศ. 1896 - อำเภออิโตะและอำเภอชิมะได้ยุบรวมกันกลายเป็นอำเภออิโตชิมะ
  • 15 กันยายน ค.ศ. 1901 - หมู่บ้านมาเอบารุได้รับการยกฐานะเป็นเมืองมาเอบารุ
  • 1 เมษายน ค.ศ. 1931 - เมืองมาเอบารุผนวกหมู่บ้านฮาตาเอะและคาฟูริเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
  • 1 เมษายน ค.ศ. 1951 - หมู่บ้านซากูราอิและโนกิตะรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านซากูราโนะ
  • ค.ศ. 1955
    • 1 มกราคม - เมืองมาเอบารุได้ผนวกหมู่บ้านไรซังและนางาอิโตะ
    • 1 มกราคม - หมู่บ้านคายะ ซากูราโนะ โคฟูจิ และเคยะ รวมกันเพื่อจัดตั้งหมู่บ้านชิมะ
    • 1 มกราคม - หมู่บ้านอิกิซัง ฟูกาเอะ และฟูกูโยชิ รวมกันเพื่อจัดตั้งหมู่บ้านนิโจ
    • 1 เมษายน - เมืองมาเอบารุได้ผนวกหมู่บ้านอิโตะ
  • ค.ศ. 1965
    • 1 เมษายน - หมู่บ้านชิมะยกฐานะเป็นเมืองชิมะ
    • 1 เมษายน - หมู่บ้านนิโจยกฐานะเป็นเมืองนิโจ
  • 1 ตุลาคม ค.ศ. 1992 - เมืองมาเอบารุได้รับการยกฐานะเป็นนครมาเอบารุ
  • 16 เมษายน ค.ศ. 2009 - นครมาเอบารุได้ผนวกรวมเมืองชิมะและเมืองนิโจเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็นนครอิโตชิมะ

การเมืองการปกครอง

แก้

นครอิโตชิมะมีการบริหารในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตร งและมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 20 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครอิโตชิมะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูโอกะจำนวน 2 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครอิโตชิมะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดฟูกูโอกะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

แก้

เศรษฐกิจหลักของอิโตชิมะคือการเกษตร การประมงเชิงพาณิชย์ และการท่องเที่ยว มีเขตอุตสาหกรรมเพียงแห่งเดียว และมีแรงงานในท้องถิ่นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เดินทางไปทำงานที่นครฟูกูโอกะที่อยู่ใกล้เคียง

การศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยคีวชู และวิทยาลัยจูเนียร์นิชินิปปง (西日本短期大学) มีวิทยาเขตอยู่ในนครอิโตชิมะ

การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

แก้

นครอิโตชิมะมีโรงเรียนประถม 16 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 6 แห่งที่ดำเนินการโดยเทศบาลนครอิโตชิมะ และมีโรงเรียนมัธยมปลาย 2 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูโอกะ

การขนส่ง

แก้

รถไฟ

แก้

ทางหลวง

แก้

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

แก้

แหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติ

แก้

วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

แก้

อิโตชิมะมีชื่อเสียงในเรื่องรีสอร์ทริมทะเล ชายหาด และความงดงามของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ยอดนิยมในการเล่นโต้คลื่นและเดินป่าอีกด้วย และทุกปีจะมีเทศกาลดนตรีฤดูร้อนที่ชื่อว่า ซันเซ็ตไลฟ์ (Sunset Live)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สถิติทางการของนครอิโตชิมะ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 22, 2022.
  3. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 22, 2022.
  4. 4.0 4.1 สถิติประชากรอิโตชิมะ
  5. Kurume University Hospital เก็บถาวร 2019-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "Shinoda Mariko (篠田 麻里子)". Viki.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.
  7. "篠田麻里子が福岡・糸島の母校へ!友人に上京することを伝えなかった理由は…?". NTV (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2022. สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้