อิมพีเรียลแอบบีย์

อิมพีเรียลแอบบี (เยอรมัน: Reichsabteien หรือ Reichsklöster หรือ Reichsstifte, อังกฤษ: Imperial abbeys) สังฆารามหลวง คือบ้านพักของนักบวชคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[1] ซึ่งได้รับ “อิมพีเรียลอิมมีเดียซี” (เยอรมัน: Reichsunmittelbarkeit) เป็น “ดินแดนอธิปไตย” ที่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ (ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กเท่าใดก็ตาม) สิทธิที่ได้รับทำให้ได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เช่นสิทธิในการเก็บภาษีต่าง ๆ และสิทธิในการมีศาลยุติธรรม

แอบบีอ็อตโตบวยเร็นได้รับฐานะเป็น “อิมพีเรียลแอบบี” ในปี ค.ศ. 1299

ประมุขของอิมพีเรียลแอบบีมีตำแหน่งเป็น “อิมพีเรียลอธิการอาราม” (Imperial abbot) ถ้าเป็นระดับไพรออรีหรือโพรโวสต์ (Reichspropstei) ก็จะมีตำแหน่งเป็น “อิมพีเรียลไฟรเออร์” (Reichspropst) ถ้าอารามมีฐานะเป็นราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี (ecclesiastical principality) ก็จะปกครองโดย “เจ้าชายอธิการอาราม” (Fürstabt หรือ Fürstpropst) ที่เทียบเท่ากับตำแหน่ง “มุขนายกผู้ครองนคร” (Fürstbischof) แต่โดยทั่วไปแล้วบ้านพักนักบวชเหล่านี้จะมีขนาดเล็กมากที่เรียกว่า “อิมพีเรียลพรีเลต” (Imperial prelates หรือ Reichsprelaten) ที่รวมกันแล้วมีเพียงเสียงเดียวในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติของจักรวรรดิ (Reichstag) ต่อมาในปี ค.ศ. 1575 “อิมพีเรียลพรีเลต” ก็แบ่งออกเป็น 2 คณะ คือ “คณะอิมพีเรียลพรีเลตแห่งชวาเบีย” (Swabian College of Imperial Prelates) และ “คณะอิมพีเรียลพรีเลตแห่งไรน์” (Rhenish College of Imperial Prelates)

สิ่งที่เกิดขึ้นได้คือประมุขของบ้านนักบวชอื่น ๆ อาจจะมีตำแหน่งที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวแม้ว่าจะไม่ได้รับ “อิมพีเรียลอิมมีเดียซี” เช่น เจ้าชายบิชอปแห่งเซนต์กอลล์ที่มีตำแหน่งเป็น “มุขนายกผู้ครองนคร” มาจนเมื่อแอบบีไม่ได้ขึ้นกับคณะนักบวชอีกในปี ค.ศ. 1710

อิมพีเรียลแอบบีบางแห่งก็ถูกยุบระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ บ้างก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอื่น แต่ส่วนใหญ่แล้วมาเปลี่ยนมือไปเป็นของฆราวาสระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส สงครามนโปเลียน และหลังสงครามโดยเฉพาะระหว่าง การปฏิรูปดินแดน (Reichsdeputationshauptschluss) ของเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1803 บ้านนักบวชใดที่ยังหลงเหลืออยู่ก็สูญเสียอิมพีเรียลอิมมีเดียซีเมื่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1806

อ้างอิง แก้

  • Matthäi, George, 1877: Die Klosterpolitik Kaiser Heinrichs II. Ein Beitrag zur *Geschichte der Reichsabteien. Grünberg i.Schl.
  • Brennich, Max, 1908: Die Besetzung der Reichsabteien in den Jahren 1138 - 1209. Greifswald.
  • Polzin, Johannes: Die Abtswahlen in den Reichsabteien von 1024 - 1056.
  • Riese, Heinrich, 1911: Die Besetzung der Reichsabteien in den Jahren 1056 - 1137.
  • Feierabend, Hans, 1913, repr. 1971: Die politische Stellung der deutschen Reichsabteien während des Investiturstreites. Breslau 1913; Aalen 1971
  • Wehlt, Hans-Peter, 1970: Reichsabtei und König
  • Vogtherr, Thomas, 2000: Die Reichsabteien der Benediktiner und das Königtum im hohen Mittelalter (900–1125) (Mittelalter-Forschungen, vol. 5)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้