อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม

(เปลี่ยนทางจาก อิบนุ มุลญิม มุรอดี)

อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม อัลมุรอดี (อาหรับ: عبدالرحمن بن ملجم المرادي) เป็นชาวเคาะวาริจญ์ที่รู้จักจากการลอบสังหารอะลี, เคาะลีฟะฮ์คนที่ 4 ของอิสลาม

อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม อัลมุรอดี
ภาพที่ถูกตัดจากภาพการสังหารอะลีโดยอิบน์ มุลญัม
เสียชีวิต661
ข้อหาฆ่าคน
บทลงโทษประหารชีวิต
รายละเอียด
ผู้เสียหายอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ
วันที่มกราคม ค.ศ. 661 (661-01)
ตาย1
อาวุธดาบ

วางแผนลอบสังหาร แก้

กลุ่มเคาะวาริจญ์นัดพบกันที่มักกะฮ์ และพูดคุยเกี่ยวกับยุทธการที่นะฮ์เราะวานในปีค.ศ. 659 ซึ่งผู้นำทหารหลายคนถูกฆ่าโดยทหารของอะลี หลังออกจากกองทัพของอะลีแล้ว พวกเขาวางแผนลอบสังหารผู้นำอิสลามทั้งสามคน โดยอิบน์ มุลญัมไปสังหารอะลี, อัลฮุจญาจ อัตตะมิมีไปสังหารมุอาวิยะฮ์ และอัมร์ อิบน์ บักร์ ไปสังหารอัมร์ อิบน์ อัลอาส โดยดำเนินการตอนละหมาดตอนเช้าที่เมืองกูฟะฮ์, ดามัสกัส และฟุสฏอฏ โดยจะโจมตีเป้าหมายด้วยดาบอาบยาพิษ[1]

การลอบสังหารอะลี แก้

 
ฉากสังหารอะลี บุตร อะบีฏอลิบ โดยอับดุรเราะห์มาน อิบน์ มุลญิม

ณ วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 661 ในขณะที่อะลีละหมาดที่มัสยิดใหญ่แห่งกูฟะฮ์ ท่านถูกโจมตีโดยอับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม ซึ่งฟันดาบอาบยาพิษจนบาดเจ็บในขณะที่กำลังละหมาดซุบฮี[2] อะษีร อิบน์ อัมร์ อัสซะกูนี หัวหน้าแพทย์ได้รักษาอะลี; อย่างไรก็ตาม, อะลีเสียชีวิตจากบาดแผลในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 661[3]

สามวันต่อมา ฮะซัน อิบน์ อะลี ลูกชายของอะลี ประหารชีวิตอิบน์ มุลญัมด้วยตนเอง[4][5]

อ้างอิง แก้

  1. Cook, David (January 15, 2007). Martyrdom in Islam. Cambridge University Press. pp. 54–55. ISBN 978-0521615518.
  2. Tabatabai 1977, p. 192
  3. As-Sallabi, Ali Muhammad. Biography of Ali Ibn Abi Talib. Darussalam Publishers.
  4. "The End Of Ibn Muljim And His Cohorts". Maaref-foundation.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-29.
  5. "Death of Ali". Ismaili.net. สืบค้นเมื่อ 2019-01-29.

แหล่งที่มาที่อ้างถึง แก้

อ่านเพิ่มเติม แก้