อินทรีทอง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 ที่สร้างจากบทประพันธ์ของเศก ดุสิต ของสมนึกภาพยนตร์โดย สมนึก เหมบุตร ซึ่งมิตร ชัยบัญชาขอเป็นผู้กำกับการแสดงด้วยตนเองครั้งแรก มิตรรักและหลงใหลในบท อินทรีแดง อย่างมาก ถึงขนาดยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพื่อให้งานแสดงออกมาสมจริงสมจัง จนเป็นสาเหตุให้มิตรเสียชีวิต ขณะถ่ายทำฉากอินทรีทองโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เวลา 16.21 น. ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ที่โรงภาพยนตร์เพชรรามา ในระบบฟิล์ม 35 มม. สีอีสต์แมน พากย์เสียงในฟิล์ม

อินทรีทอง
กำกับมิตร ชัยบัญชา
เขียนบทเศก ดุสิต
อำนวยการสร้างสมนึก เหมบุตร
นักแสดงนำมิตร ชัยบัญชา
เพชรา เชาวราษฎร์
ครรชิต ขวัญประชา
ประจวบ ฤกษ์ยามดี
ชุมพร เทพพิทักษ์
เยาวเรศ นิสากร
พร ไพโรจน์
โขมพัสตร์ อรรยา
สีเทา
ถ่ายภาพวิเชียร วีระโชติ
ดนตรีประกอบประเสริฐ จุลเกศ
ผู้จัดจำหน่ายจินตนาฟิล์ม
วันฉาย12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
ความยาว104 นาที
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย

เนื้อเรื่องย่อ

แก้
 
การถ่ายทำฉากสุดท้ายของเรื่อง อินทรีทอง

โรม ฤทธิไกร (มิตร ชัยบัญชา) อินทรีแดงตัวจริง ต้องเป็นอินทรีทอง เพื่อตามไล่ล่า ภูวนาท อินทรีแดงตัวปลอม (ครรชิต ขวัญประชา) ที่ออกมาสร้างความสับสนให้กับบ้านเมืองและโรมยังต้องกวาดล้างเหล่าร้ายไผ่แดงที่มีบาคิน (อบ บุญติด) เป็นหัวหน้าโดยมีวาสนา (เพชรา เชาวราษฏร์) เป็นผู้ช่วย และฉากสุดท้ายของเรื่อง วาสนาจะต้องนำเฮลิคอปเตอร์มารับตัวโรมในชุดอินทรีแดง เพื่อแสดงว่า อินทรีแดงตัวจริงยังมีชีวิตอยู่ และนี่คือฉากสุดท้ายในชีวิตของมิตร ชัยบัญชา

อุบัติเหตุ

แก้

การถ่ายทำสำเร็จได้ด้วยดีจนถึงฉากสุดท้ายของเรื่อง ถ่ายทำที่หาดดงตาล พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เวลา 9.00 น. ในเรื่องหลังจากอินทรีแดงปราบผู้ร้ายได้แล้ว จะหนีตำรวจออกจากรังของคนร้าย โดยโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีวาสนาเป็นผู้ขับ กล้องจะเก็บภาพเฮลิคอปเตอร์พาอินทรีแดงบินลับหายไป

เพื่อความสมจริง และความไม่พร้อมของเสื้อผ้าของนักแสดงแทน มิตรตกลงว่าจะแสดงฉากนี้ด้วยตัวเอง โดยกำหนดการถ่ายทำไว้อย่างละเอียด แต่ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคที่มิตรไม่อาจรู้ได้ เพราะกำลังแสดงอยู่ ปรากฏว่าด้วยแรงกระตุกของเครื่องขณะบินขึ้น โดยที่มิตรไม่ได้เหยียบบนบันได และต้องโหนตัวอยู่กับบันได เครื่องไม่ได้ลงจอดเมื่อผ่านหน้ากล้องแล้ว มิตร พยายามให้สัญญาณด้วยการตบเท้าเข้าหากัน ในขณะที่นักบินมองไม่เห็นความผิดปกติและการให้สัญญาณจากพื้นล่าง ยังบินสูงขึ้นต่อไป และเกิดแรงเหวี่ยงในจังหวะที่เครื่องเลี้ยวกลับ ซึ่งจริงๆแล้วมิตรได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการใช้ข้อมือซ้ายเกี่ยวพันกับบันไดลิง แต่เนื่องจากเชือกบาดข้อมือจนเกือบขาด มิตรทนความเจ็บไม่ไหว จึงตัดสินใจแกะเชือกที่รัดข้อมือ แล้วปล่อยตัวลงมา โดยตั้งใจว่าจะลงสู่บึงข้างล่างจะได้รอดชีวิต แต่ด้วยที่ว่าลมตีร่างมิตร ทำให้ตกลงมากระแทกกับพื้น ตรงจอมปลวก[1] จากความสูง 300 ฟุต เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาด้วย เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวภายใน 5 นาที แต่สายเกินไป จากผลการชันสูตรศพยืนยันว่า เขาเสียชีวิตทันที เพราะร่างกายแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี เชือกบาดข้อมือเป็นแผลลึก 2 ซ.ม. ยาว 8 ซ.ม. กระดูกขากรรไกรข้างขวาหัก กระดูกโหนกแก้มซ้ายขวาหัก มีเลือดออกทางหูขวา กระดูกซี่โครงขวาหัก 5 ซี่ กระดูกโคนขาขวาหัก กระดูกต้นคอหัก โดยเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 16.13 น.[2]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้