อินดิโก
บริษัท อินเตอร์โกลบเอวิเอชัน จำกัด ดำเนินการในชื่อ อินดิโก เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติอินเดีย ที่มีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธีในนิวเดลี และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในคุรุคราม รัฐหรยาณา อินดิโกยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียในแง่ของจำนวนผู้โดยสารที่บรรทุกและขนาดฝูงบิน โดย ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 สายการบินครองส่วนแบ่ง 62% ในตลาดการบินภายในประเทศอินเดีย[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นสายการบินที่มิได้เป็นกลุ่มสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเป็นหนึ่งในสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ของจำนวนผู้โดยสารที่บรรทุก โดยในปี 2023 อินดิโกได้ขนส่งผู้โดยสารกว่า 100 ล้านคน ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 อินดิโกให้บริการเที่ยวบิน 2,000 เที่ยวต่อวันสู่จุดหมายปลายทางกว่า 122 จุดหมาย โดยเป็นจุดหมายภายในประเทศ 88 แห่งและระหว่างประเทศ 34 แห่ง ด้วยฝูงบินกว่า 408 ลำ
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 2006 (18 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 4 สิงหาคม ค.ศ. 2006 (18 ปี) | ||||||
ฐานการบิน | |||||||
สะสมไมล์ | บลูชิป | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 408 | ||||||
จุดหมาย | 122 | ||||||
การซื้อขาย | |||||||
ISIN | INE646L01027 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | คุรุคราม รัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
รายได้ | ₹712.31 ล้านรูปี (ค.ศ. 2024)[2] | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | ₹80.49 ล้านรูปี (ค.ศ. 2024) | ||||||
รายได้สุทธิ | ₹81.72 ล้านรูปี (ค.ศ. 2024) | ||||||
สินทรัพย์ | ₹822.24 ล้านรูปี (ค.ศ. 2024) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ₹19.96 ล้านรูปี (ค.ศ. 2024) | ||||||
พนักงาน | 37,200 คน (ค.ศ. 2024)[3] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
สายการบินนี้ก่อตั้งโดยราหุล ภาเทียจากอินเตอร์โกลบเอ็นเตอร์ไพรส์ และราเกช กังวาลในรูปแบบบริษัทเอกชน สายการบินได้รับมอบเครื่องบินลำแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 และเริ่มดำเนินการในหนึ่งเดือนต่อมา สายการบินนี้กลายเป็นสายการบินอินเดียที่ใหญ่ที่สุดตามส่วนแบ่งการตลาดผู้โดยสารในปี 2012 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2015 อินดิโกได้รับการจัดอันดับให้เป็นสายการบินที่ตรงต่อเวลาเป็นอันดับที่ 15 ของโลกในปี 2022 โดยโอเอจี
ประวัติ
แก้อินดิโกก่อตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัทเอกชนโดยราหุล ภาเทียจากอินเตอร์โกลบเอ็นเตอร์ไพรส์ และราเกช กังวาล ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ[4] อินเตอร์โกลบถือหุ้น 51.12% ในอินดิโก โดยอีก 47.88% ถือโดยบริษัท คาเอลัมอินเวสต์เมนต์ ของกังวาล ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย[5][6] อินดิโกสั่งซื้อแอร์บัส เอ320-200 จำนวน 100 ลำในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005 โดยมีแผนที่จะเริ่มดำเนินการในกลางปี 2006[7] อินดิโกได้รับมอบเครื่องบินลำแรกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 หลังจากวางคำสั่งซื้อประมาณหนึ่งปี[8] สายการบินเริ่มดำเนินการในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2006 โดยให้บริการจากนิวเดลีสู่อิมผาลโดยแวะพักที่คุวาหาฏี[9] ภายในสิ้นปี 2006 สายการบินมีเครื่องบินประจำการหกลำ และในปี 2007 สายการบินสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มอีกเก้าลำ[9] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 อินดิโกได้แย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากแอร์อินเดีย กลายเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของอินเดีย รองจากคิงฟิชเชอร์แอร์ไลน์และเจ็ทแอร์เวย์ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดผู้โดยสารอยู่ที่ 17.3%[10]
ในปี 2011 อินดิโกได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ320 จำนวน 180 ลำด้วยมูลค่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ[11] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 หลังจากดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 5 ปี สายการบินได้รับอนุญาตให้เปิดบินเที่ยวบินระหว่างประเทศได้[12] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 ดีจีซีเอแสดงข้อกังวลว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร[13]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 อินดิโกได้รับมอบเครื่องบินลำที่ 50 ในเวลาไม่ถึง 6 ปีหลังจากเริ่มดำเนินการ[14] สำหรับไตรมาสที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 อินดิโกเป็นสายการบินที่ทำกำไรได้มากที่สุดในอินเดีย และกลายเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอินเดียในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดผู้โดยสาร[15] เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อินดิโกเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดที่แซงหน้าเจ็ตแอร์เวย์ไป[16]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 อินดิโกเป็นสายการบินราคาประหยัดที่เติบโตเร็วที่สุดอันดับสองรองจากไลอ้อนแอร์ของอินโดนีเซีย[17] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 หลังจากที่สำนักงานการบินพลเรือนอินเดียประกาศว่าจะอนุญาตให้อินดิโกรับมอบเครื่องบินได้เพียง 5 ลำในปีนั้น สายการบินได้มีแผนที่จะเปิดให้บริการเที่ยวบินในภูมิภาคราคาประหยัดโดยตั้งบริษัทลูกขึ้น อินดิโกประกาศว่ามีแผนที่จะขออนุญาตจากกระทรวงเพื่อสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มอีก 4 ลำ ในปี 2013 สายการบินรับมอบเครื่องบินทั้งหมด 9 ลำ[18] ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 อินดิโกเป็นสายการบินราคาประหยัดรายใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียในแง่ของผู้โดยสารที่บรรทุก[19]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 อินดิโกได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ320นีโอจำนวน 250 ลำเป็นมูลค่า 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นคำสั่งซื้อครั้งเดียวที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของแอร์บัส ณ เวลานั้น[20] อินดิโกได้การเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนในมูลค่า ₹3,018 โคร (12.8 หมื่นล้านบาท) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 27 ตุลาคม[21][22][23]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 อินดิโกได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ320นีโอ จำนวน 300 ลำ คิดเป็นมูลค่า ₹2.3 แลกห์โคร (978.4 แสนล้านบาท) ซึ่งแซงหน้าสถิติของตนเองที่เป็นคำสั่งซื้อครั้งเดียวที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของแอร์บัส[24][25] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 อินดิโกเป็นสายการบินอินเดียแห่งแรกที่ให้บริการเที่ยวบิน 1,500 เที่ยวบินต่อวัน[26] และยังได้เป็นสายการบินแห่งแรกของอินเดียที่มีจำนวนเครื่องบินในฝูงบินมากกว่า 250 ลำ[27]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2023 อินดิโกเป็นสายการบินอินเดียแห่งแรกที่มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินมากกว่า 300 ลำ[28] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 อินดิโกได้เช่าเครื่องบินโบอิง 777-300อีอาร์จากเตอร์กิชแอร์ไลน์มาประจำการในฝูงบิน นับเป็นอากาศยานลำตัวกว้างลำแรกของสายการบิน[29] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 สายการบินได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ320นีโอจำนวน 500 ลำ นับเป็นคำสั่งซื้อเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การบินพาณิชย์[30] ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 อินดิโกมีส่วนแบ่งการตลาดเที่ยวบินภายในประเทศที่ 61.8%[31] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 อินดิโกเป็นสายการบินอินเดียแห่งแรกที่ขนส่งผู้โดยสารมากกว่า 100 ล้านคนในหนึ่งปีปฏิทิน[32]
กิจการองค์กร
แก้อินดิโกมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในคุรุคราม รัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย[33] บริษัทสายการบินจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ชื่อ NSE: INDIGO.[34]
ผลประกอบการ
แก้ปี | 2016[35] | 2017[36] | 2018[37] | 2019[38] | 2020[39] | 2021[40] | 2022[41] | 2023[42] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กำไร (ล้านรูปี) | 16,140 | 18,580 | 23,021 | 28,497 | 35,756 | 14,641 | 25,931 | 54,446 |
รายได้สุทธิ (ล้านรูปี) | 1,986 | 1,659 | 2,242 | 156 | −248 | −5,830 | −6,171 | −317 |
จำนวนพนักงาน (คน) | 12,362 | 14,604 | 18,060 | 23,531 | 27,812 | 23,711 | 26,164 | 32,407 |
จำนวนผู้โดยสารบรรทุก (ล้านคน)[43] | 33 | 44 | 52 | 65 | 75 | 29 | 47 | 85 |
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (%) | 84.0 | 84.8 | 87.4 | 86.2 | 85.8 | 69.4 | 73.6 | 82.1 |
ขนาดฝูงบิน (ลำ) | 107 | 131 | 159 | 217 | 262 | 285 | 275 | 304 |
การปลดปล่อย CO2 (กรัมต่อ ASK) | 74.6[44] | 72.0 | 70.0 | 64.7 | 61.1 | 59.5 |
การดำเนินงาน
แก้อินดิโกถือเป็นหนึ่งในสายการบินราคาประหยัดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย[17] ความสำเร็จของสายการบินเป็นผลมาจากรูปแบบธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งช่วยลดต้นทุน[15] อินดิโกให้บริการเครื่องบินประเภทเดียว (ตระกูลแอร์บัส เอ320) ที่มีการจัดที่นั่งแบบเดียวกันซึ่งทำให้การฝึกอบรมและการบำรุงรักษาลูกเรือง่ายขึ้น[15] สายการบินทำข้อตกลงจำนวนมากกับแอร์บัส เพื่อลดราคาต่อหน่วยของเครื่องบินที่สั่งซื้อ[15] สายการบินตั้งเป้าที่จะปรับเปลี่ยนเวลาการดำเนินการภาคพื้นดินของเครื่องบินให้รวดเร็วภายใน 20 นาที เพื่อเตรียมเครื่องบินให้พร้อมสำหรับเที่ยวบินถัดไป ทำให้เครื่องบินสามารถบินได้นานถึงประมาณ 12 ชั่วโมงทุกวัน[45] พนักงานแต่ละคนจะรับบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งเที่ยวบิน โดยพนักงานเช็กอินอาจทำหน้าที่เป็นคนจัดการสัมภาระด้วย[45] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 หน่วยงานกำกับดูแลการบินของอินเดีย สำนักงานการบินพลเรือนได้กำหนดค่าปรับ ₹30 แลกห์ (1.3 ล้านบาท) แก่อินดิโกเนื่องจากมีความบกพร่องในระบบบางประการเกี่ยวกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และขั้นตอนทางวิศวกรรม[46]
อัตลักษณ์องค์กร
แก้ตราสัญลักษณ์ของอินดิโกเป็นจุด 20 จุดเรียงกันเป็นรูปเครื่องบิน[47] สายการบินใช้ลวดลายอากาศยานที่มีสีฟ้าสองโทนบนพื้นหลังสีขาว โดยมีส่วนท้องเครื่องบินเป็นสีคราม และมีโลโก้เป็นสีขาว[48] เครื่องแบบของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นเสื้อคลุมสีครามชิ้นเดียวพร้อมหมวกและเข็มขัดสีน้ำเงินเข้ม[49] สโลแกนของอินดิโก คือ “ตรงเวลา” (on-time) แสดงถึงความตรงต่อเวลา[49]
จุดหมายปลายทาง
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2024 อินดิโกให้บริการเที่ยวบิน 2,000 เที่ยวต่อวันสู่จุดหมายปลายทางกว่า 122 แห่ง โดยเป็นจุดหมายภายในประเทศ 88 แห่งและระหว่างประเทศ 34 แห่ง[51][52][53] สายการบินมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธีในนิวเดลี[54]โดยมีฐานการบินในเบงคลูรู[55] เจนไน[56] ไฮเดอราบาด[57] โกลกาตา[56]มุมไบ[56] และโกจจิ[58] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 อินดิโกได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการเที่ยวบินระหว่างประเทศหลังจากดำเนินกิจการมาเป็นเวลาห้าปี[59] อินดิโกให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวแรกระหว่างนิวเดลีและดูไบเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011[60][61]
ข้อตกลงการบินร่วม
แก้อินดิโกได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2024 อินดิโกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[69][70][71]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
C | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 39 | — | — | 180 | 180 | 15 ลำเช่าจากสมาร์ทลิงซ์แอร์ไลน์และสมาร์ทลิงซ์แอร์ไลน์ มอลตา จะถูกปลดประจำการ[72] |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 23 | 251 | — | 180 | 180 | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[70] |
179 | — | 186 | 186 | |||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 16 | 546 | — | 222 | 222 | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของรุ่น[70] |
95 | — | 232 | 232 | |||
— | 45 | 12 | 208 | 220 | ติดตั้งที่นั่งชั้นธุรกิจ IndiGo Strech แบบใหม่
เริ่มให้บริการในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024[73] | |
แอร์บัส เอ321เอ็กซ์แอลอาร์[74] | — | 69 | รอประกาศ | คำสั่งซื้อที่ใหญ่ที่สุดของรุ่น[75] ส่งมอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2025[76] | ||
แอร์บัส เอ350-900 | — | 30 | สั่งซื้อพร้อม 70 ตัวเลือก[77] ส่งมอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2027[77] | |||
เอทีอาร์ 72-600 | 45 | 5 | — | 78 | 78 | |
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 6 | — | 8 | 168 | 176 | เช่าจากกาตาร์แอร์เวย์ |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 2 | — | 7 | 524 | 531 | เช่าจากเตอร์กิชแอร์ไลน์ |
ฝูงบินของอินดิโกคาร์โก | ||||||
แอร์บัส เอ321-200/พี2เอฟ | 3 | 1 | สินค้า
|
[78] | ||
รวม | 408 | 947 |
อินดิโกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 4.8 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้อินดิโกเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | ทดแทน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 135 | 2006 | 2024 | แอร์บัส เอ320นีโอ | |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 5 | 2016 | 2023 | ไม่มี |
บริการ
แก้ด้วยอินดิโกเป็นสายการบินราคาประหยัด จึงมีการให้บริการเพียงแค่ที่นั่งชั้นประหยัด เพื่อให้ค่าโดยสารถูก อินดิโกจึงไม่มีบริการอาหารฟรีในเที่ยวบินใดๆ แม้ว่าจะมีาหารบนเครื่องที่ซื้อได้บนเครื่อง แต่ไม่มีอาหารร้อนให้บริการ เนื่องจากเป็นการลดต้นทุน เครื่องบินของอินดิโกจะไม่มีเตาอบให้บริการ[80]แต่ ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 ก็มีการวางจำหน่ายเครื่องดื่มร้อนและอาหารสำเร็จรูปที่ปรุงด้วยน้ำร้อน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อุปมา และโพฮา[81] อินดิโกไม่มีบริการความบันเทิงบนเที่ยวบิน แต่มีนิตยสาร Hello 6E ให้บริการบนเที่ยวบินแทน[82] อินดิโกมีบริการระดับพรีเมียมซึ่งผู้โดยสารสามารถรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การกำหนดที่นั่งล่วงหน้า การยกเลิกเที่ยวบินหลายครั้ง และการเช็คกอินก่อนในราคาค่าโดยสารที่สูงกว่า[83]ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 สายการบินได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับโซนี่ ลิฟ แอปพลิเคชันวีดิทัศน์ตามคำขอ เพื่อมอบตัวเลือกความบันเทิงให้แก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินและที่ท่าอากาศยาน[84]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "IndiGo Leadership". IndiGo. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ Annual Trends (PDF) (Report). 7 June 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 23 May 2024.
- ↑ "Indigo FY 24 Annual Report".
- ↑ "Owner of India's biggest airline files for IPO". CNBC. 30 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.
- ↑ Padnis, Anees (16 November 2013). "IndiGo gives handsome payback to promoters". Business Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "FIPB approves proposal to convert Rakesh Gangwal's IndiGo stake to NRI category". The Economic Times. 2 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.
- ↑ "IndiGo Airlines to fly soon". The Economic Times. 22 June 2005. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "IndiGo takes delivery of its first brand new Airbus A320 aircraft". The Hindu. 29 July 2006. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
- ↑ 9.0 9.1 "Indigo's first flight to take-off on Aug 4". The Economic Times. 13 July 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.
- ↑ "IndiGo pips Air India to become No. 3 airline". The Indian Express. 21 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2011. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.
- ↑ "IndiGo airline picks up 180 jets". The Economic Times. 13 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.
- ↑ "IndiGo gets govt nod to launch international operations". Rediff. 11 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2016. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
- ↑ "IndiGo, SpiceJet airlines violate mandatory safety norms: DGCA". India Today. 9 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2012. สืบค้นเมื่อ 13 July 2012.
- ↑ "IndiGo gets delivery of its 50th Airbus A320 aircraft". The Economic Times. 10 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Mishra, Mihir (21 February 2012). "A tale of two airlines: Kingfisher vs IndiGo". Business Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "IndiGo flies past Jet to become largest airline". Business Standard. 18 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2012. สืบค้นเมื่อ 18 August 2012.
- ↑ 17.0 17.1 "IndiGo among the fastest expanding airlines globally". Business Standard. 2 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 11 January 2013.
- ↑ "IndiGo to set up regional airline to tap small towns". The Economic Times. 13 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
- ↑ Sobhie, Brent. "Analyst Viewpoint: Asian airline industry overview" (PDF). CAPA. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "IndiGo orders 250 planes". The Times of India. 18 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "IndiGo Airlines IPO to open on October 27, price band Rs 700-765". The Economic Times. 20 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2015. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
- ↑ S V Krishnamachari (21 November 2016). "Domestic air traffic: How IndiGo, Jet Airways, SpiceJet, Air India, Go Air, AirAsia India, Vistara performed in October". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2017. สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
- ↑ "IndiGo's Rs 3,018-crore IPO three times oversubscribed". The Economic Times. 29 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
- ↑ "IndiGo Orders Further 300 A320neo Aircraft". One Mile at a Home. 31 October 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ Sinha, Saurabh (31 October 2019). "IndiGo gives Rs 2.4 lakh crore order for 300 A320 Neo aircraft". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2020. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ "IndiGo becomes 1st Indian carrier to operate 1,500 daily flights". Livemint. 18 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ "IndiGo fleet size crosses 250 planes, becomes first Indian carrier to do so". Business Standard India. Press Trust of India. 1 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
- ↑ Dwivedi, Manas (7 January 2023). "IndiGo's fleet gets 300 aircraft strong, becomes first Indian airline to achieve the milestone". The Economic Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ "IndiGo inducts its first widebody aircraft - Boeing 777 on Delhi-Istanbul route" (Press release). IndiGo. 31 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 14 April 2023.
- ↑ "Largest Aircraft Order: IndiGo Places Order For 500 Airbus Neo Family Planes". News18. 19 June 2023. สืบค้นเมื่อ 19 June 2023.
- ↑ November 2023 Domestic Traffic Reports (PDF) (Report). Directorate General of Civil Aviation. p. 3. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ Sharma, Sukalp (18 December 2023). "IndiGo becomes first Indian airline to touch 100 million passengers in a year". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 30 December 2023.
- ↑ "Contact us". IndiGo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2017.
- ↑ "InterGlobe Aviation Limited Share Price". National Stock Exchange of India. 4 May 2023. สืบค้นเมื่อ 4 May 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2016 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2017 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2018 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2018-19 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2019-20 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2020-21 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2021-22 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo Annual Report 2022-23 (PDF) (Report). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ IndiGo: passenger traffic 2023. Statista (Report) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ "IndiGo slashes carbon emissions by 20% in FY23 through sustainable measures". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). 30 July 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ 45.0 45.1 Mehta, Vivan (24 June 2012). "Soaring above the rest". Business Today. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ The Indian Express, The Indian Express (28 July 2023). "DGCA imposes Rs 30 lakh fine on IndiGo". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
- ↑ "IndiGo Experience". IndiGo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "The man behind IndiGo's amazing success". Rediff. 8 February 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ 49.0 49.1 Saxton, Aditi (17 February 2011). "The IndiGo brand story". CNN. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "Route map IndiGo". Flight Connections. 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ Sinha, Saurabh (17 November 2023). "IndiGo becomes 1st desi airline to have over 2,000 planned flights daily". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 November 2023.
- ↑ "IndiGo is back with a bang, looking to start flights to many international destinations: CEO Pieter Elbers". The Economic Times. 17 February 2023. ISSN 0013-0389. สืบค้นเมื่อ 3 July 2023.
- ↑ "Jaffna Joins IndiGo's Global Network as its 34th International Destination with Direct Flights from Chennai". IndiGo (Press release) (ภาษาอังกฤษ). 1 August 2024. สืบค้นเมื่อ 1 September 2024.
- ↑ "Profile on IndiGo". CAPA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "IndiGo adds to Bengaluru base". Anna.aero. 16 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
- ↑ 56.0 56.1 56.2 "IndiGo commences seventh route to Dubai". Anna.aero. 17 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
- ↑ "IndiGo starts new domestic route from Hyderabad". Anna.aero. 6 August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
- ↑ "IndiGo starting Kochi-Kuwait flights". IndiGo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
- ↑ "IndiGo Airlines to fly to Dubai, Bangkok, Singapore from September". The Economic Times. New Delhi. 14 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
- ↑ Hashim, Firdaus (2 September 2011). "IndiGo launches its first international flight". FlightGlobal. Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2018.
- ↑ Kumar, Vinay (14 June 2011). "IndiGo to launch international flights from Sept. 1". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
- ↑ 62.0 62.1 Hannah Brandler (26 December 2021). "Air France-KLM signs codeshare agreement with Indigo Airlines". Business Traveller. London: Perry Publications.
- ↑ "India nonstops on the way, American Airlines codeshares with IndiGo for India connections". The Times of India. 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
- ↑ "British Airways signs new codeshare with IndiGo" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Business Traveller. สืบค้นเมื่อ 25 September 2023.
- ↑ "Qantas and Jetstar expand Sydney gateway with new direct flights to India and Korea". Qantas. 8 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 April 2022.
- ↑ "Qatar Airways and IndiGo Sign Codeshare Agreement" (Press release). Qatar Airways. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ Hofmann, Kurt (4 January 2019). "India's IndiGo, Turkish Airlines agree to codeshare". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019.
- ↑ "Virgin Atlantic IndiGo codeshare agreement" (Press release). Virgin Atlantic. 1 September 2022. สืบค้นเมื่อ 1 December 2023.
- ↑ "Seat map and Aircraft information". IndiGo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 26 September 2024.
- ↑ 70.0 70.1 70.2 Airbus Orders & Deliveries till August 2024 (Report). Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2024. สืบค้นเมื่อ 21 September 2024.
- ↑ "IndiGo Fleet Details and History". planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2024.
- ↑ "IndiGo to phase out 120 A320 ceos in 2 years; working with partners for better prices". The Economic Times. 2 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
- ↑ "IndiGo Stretch: New IndiGo Business Class". One Mile At A Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2024. สืบค้นเมื่อ 5 August 2024.
- ↑ "India's IndiGo orders an additional ten A320Ns". ch-aviation. 6 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "Airbus defers A321neo(XLR) service entry to 2024" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Ch-aviation. 11 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2023. สืบค้นเมื่อ 19 November 2022.
- ↑ "India's IndiGo eyes Amsterdam with A321neo(XLR)s". Ch-aviation. 8 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ 77.0 77.1 "IndiGo enters wide-body space by placing order for 30 Airbus A350-900 aircraft". Moneycontrol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2024. สืบค้นเมื่อ 25 April 2024.
- ↑ "IndiGo cargo inducts the first A321 P2F freighter" (Press release). IndiGo. 4 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2023. สืบค้นเมื่อ 31 October 2023.
- ↑ "Indigo Fleet". Airfleets. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2022. สืบค้นเมื่อ 14 September 2024.
- ↑ "India's largest airline is flying high". The Economist. สืบค้นเมื่อ 26 August 2024.
- ↑ "6E Eats" (PDF). IndiGo. สืบค้นเมื่อ 26 August 2024.
- ↑ "Coffee with 6E". Mint. 26 October 2015. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ "IndiGo 6E Plus". IndiGo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2015. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
- ↑ "IndiGo ties up with Sony to offer entertainment content to flyers". The Times of India. 5 September 2019. สืบค้นเมื่อ 5 September 2019.