อิซากายะ (ญี่ปุ่น: 居酒屋โรมาจิIzakaya[a]) เป็นประเภทของบาร์ญี่ปุ่นอย่างง่ายที่ให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารว่าง อิซากายะเป็นสถานที่เรียบง่ายสำหรับการดื่มหลังเลิกงาน คล้ายกับผับของอังกฤษหรือของไอร์แลนด์, บาร์ทาปาส (tapas) ของสเปน, ร้านเหล้า (saloon) หรือทาเวิร์นของชาวอเมริกัน[1]

อิซากายะในโกตันดะ โตเกียว ป้ายทางขวามือแสดงเมนูตามปกติ (ซ้าย) และเมนูอาหารเรียกน้ำย่อยตามฤดูกาล นาเบะ (ขวา)

คำว่า "อิซากายะ" เป็นคำประสมระหว่าง อิรุ (iru, "อยู่") และ ซากายะ (zakaya, "ร้านสาเก") ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอิซากายะมีต้นกำเนิดมาจากร้านสาเกที่อนุญาตให้ลูกค้าสามารถนั่งในร้านเพื่อดื่มได้[2] ในบางครั้ง อาจเรียกอิซากายะว่า "อากาโจจิง" (akachōchin, "โคมแดง") ในบทสนทนาประจำวัน จากโคมไฟกระดาษที่ตั้งอยู่หน้าร้าน

การพัฒนาของอิซากายะในระดับเต็มเริ่มต้นช่วงยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603–1867) ร้านขายเหล้าจากที่เคยขายแอลกอฮอล์ตามน้ำหนัก ผู้คนเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ขณะกำลังยืน หลังจากนั้นอิซากายะต่าง ๆ เริ่มใช้ถังสาเกทำเป็นม้านั่งให้แก่ลูกค้า[3] และค่อย ๆ เริ่มห้บริการอาหารทานเล่นอย่างง่ายที่เรียก ซากานะ (sakana)[4] นักประวัติศาสตร์ Penelope Francks ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาของอิซากายะในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอโดะและอิซากายะตามท้องถนนตลอดประเทศว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเติบโตของความนิยมการดื่มสาเกในฐานะสินค้าบริโภคในช่วงท้ายศตวรรษที่ 18[5] ใน ค.ศ. 1962 อิซากายะในโตเกียวปรากฏในข่าวต่างประเทศ หลังโรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดีรับประทานอาหารที่นั่นระหว่างการประชุมกับผู้นำแรงงานญี่ปุ่น[6] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 อิซากายะและร้านเหล้าเล็ก ๆ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นในทำนองเดียวกันได้รับยกเว้นจากกฎหมายการห้ามสูบบุหรี่ภายในร้านที่ผ่านร่างโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติและถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2020[7]

ผู้คนในอิซากายะนั่งในร้านหันหน้าเข้าครัว

อิซากายะมักได้รับการเปรียบเทียบว่าคล้ายกับทาเวิร์นหรือผับ แต่ยังมีความแตกต่างอยู่ในหลายประการ[8][9][10] ขึ้นอยู่กับอิซากายะแต่ละร้าน ลูกค้าอาจนั่งบนเสื่อทาตามิและรับประทานอาหารบนโต๊ะที่ตั้งอยู่ต่ำลงไปตามวิถีญี่ปุ่นดั้งเดิม หรืออาจนั่งบนเก้าอี้และรับประทานบนโต๊ะ อิซากายะหลายร้านมอบทางเลือกให้ทั้งสองรวมถึงการนั่งติดบนบาร์ หรือบางร้านอาจเปิดในรูปแบบของ "ทาจิ-โนมิ" (tachi-nomi) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ดื่มขณะยืน"[11] โดยปกติแล้ว ลูกค้าตะได้รับโอชิโบริ (oshibori, "ผ้าเปียก") เพื่อทำความสะอาดมือ ผ้าจะชุบให้เย็นในหน้าร้อนและชุบให้ร้อนในหน้าหนาว ตามด้วยอาหารเรียกน้ำย่อยเล็ก ๆ ที่เรียกโอโตชิ (otōshi) ในพื้นที่โตเกียว หรือสึกิดาชิ (tsukidashi) ในพื้นที่โอซากะ-โคเบะ[12] นอกจากนี้ยังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นและมักถูกรวมเข้ากับใบเสร็จค่าอาหารแทนที่ค่าเข้าร้าน

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาญี่ปุ่น: [izakaja]
  1. De Mente, Boyé Lafayette (November 2009). Amazing Japan!: Why Japan Is One of the World's Most Intriguing Countries!. Phoenix Books. p. 52. ISBN 978-0-914778-29-5.
  2. Hiroshi Kondō (1984). Saké: a drinker's guide. p. 112. ISBN 978-0-87011-653-7. Literally translated, the word izakaya means a 'sit-down sake shop.'
  3. Rowthorn, Chris (15 September 2010). Japan (ภาษาอังกฤษ). Lonely Planet. p. 88. ISBN 978-1-74220-353-9.
  4. 「飲食事典」本山荻舟 平凡社 p29 昭和33年12月25日発行
  5. Francks, Penelope (February 2009). "Inconspicuous Consumption: Sake, Beer, and the Birth of the Consumer in Japan". Journal of Asian Studies. Association for Asian Studies. 68 (1): 156–157. doi:10.1017/S0021911809000035 – โดยทาง Cambridge University Press.
  6. "Bobby Regales Japanese with Song Rendition" Monroe Morning World (6 February 1962): 11. via Newspapers.com  
  7. "Japan's watered-down smoking ban clears Diet". Japan Times. July 18, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2021.
  8. Moskin, Julia (9 April 2013). "Soaking Up the Sake". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  9. Coghlan, Adam. "Introducing izakaya: the new breed of casual Japanese restaurant". London Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  10. Phelps, Caroline (2 January 2013). "The Advent of Izakayas". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  11. Swinnerton, Robbie (9 December 2005). "Standing Firm For Tradition". Japan Times. สืบค้นเมื่อ 28 October 2016.
  12. Mente, Boye De; Ment, Demetra De. The Bizarre and the Wondrous from the Land of the Rising Sun! (ภาษาอังกฤษ). Cultural-Insight Books. p. 32. ISBN 978-1-4564-2475-6.

บรรณานุกรม แก้

  • Yamate, Kiichirō (20 December 1957). 桃太郎侍. Kokumin no Bungaku, color edition (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 16. Kawadeshobō.
  • Yamaguchi Hitomi (1982). Izakaya Chōji (ภาษาญี่ปุ่น). Shinchōsha.
  • Ikenami, Shōtarō (2011). Onihei hankachō II. Kanpon Ikenami Shōtarō Taisei (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 5 (reprint ed.). Kōdansha.
  • Nihon Eiga Eisei Kabushikigaisha; Shōchiku (2013). "Ikenami Shōtarō and Film Noir" (ภาษาญี่ปุ่น). Fuji Television. สืบค้นเมื่อ 5 February 2016.

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

ดูเพิ่ม แก้