อำเภอพระนครศรีอยุธยา

อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อำเภอรอบกรุง)

พระนครศรีอยุธยา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารศูนย์กลางธุรกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเดิมชื่อว่า อำเภอรอบกรุง จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อำเภอกรุงเก่า[1] ซึ่งในประกาศนี้กระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า "เปลี่ยนชื่ออำเภอรอบกรุง เป็น อำเภอรอบกรุง" ในอีก 7 วันต่อมาได้แก้ไขให้ถูกต้องเป็น "เปลี่ยนชื่ออำเภอรอบกรุง เป็น อำเภอกรุงเก่า"[2] และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2500 จากอำเภอกรุงเก่า เป็น "อำเภอพระนครศรีอยุธยา" ซึ่งเป็นชื่อในปัจจุบัน

อำเภอพระนครศรีอยุธยา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya
คำขวัญ: 
เมืองหลวงเก่า ชนเผ่าโบราณ
สืบสานงานท้องถิ่น แผ่นดินมรดกโลก
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา
พิกัด: 14°21′8″N 100°34′36″E / 14.35222°N 100.57667°E / 14.35222; 100.57667
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด130.6 ตร.กม. (50.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด139,399 คน
 • ความหนาแน่น1,067.37 คน/ตร.กม. (2,764.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13000
รหัสภูมิศาสตร์1401
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา ถนนปรีดีพนมยงค์ ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอพระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

  • พ.ศ. 2440 ตั้งอำเภอมีชื่อว่า อำเภอรอบกรุง
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2459 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองกรุงเก่า ในท้องที่อำเภอรอบกรุง รวม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวรอ ตำบลหอรัตนไชย ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลคลองสวนพลู และตำบลกะมัง[3]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอรอบกรุง จังหวัดกรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า เป็น อำเภอกรุงเก่า[1][2]
  • วันที่ 23 มีนาคม 2461 เปลี่ยนแปลงชื่อมณฑลกรุงเก่า เป็น มณฑลอยุธยา และเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดกรุงเก่า เป็น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4][5]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งท้องที่สุขาภิบาลเมืองนครศรีอยุธยา ขึ้นเป็นเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา[6]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1[7]
  • วันที่ 16 เมษายน 2483 โอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวรอ ไปขึ้นกับตำบลสวนพริก, โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวรอ ไปขึ้นกับตำบลหันตรา, โอนพื้นที่หมู่ 1,2,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าวาสุกรี ไปขึ้นกับตำบลหัวดุม และโอนพื้นที่หมู่ 3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลกะมัง ไปขึ้นกับตำบลไผ่ลิง[8]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลประตูจีน อำเภอกรุงเก่า เป็น ตำบลประตูชัย[9]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบ้านรุน แยกออกจากตำบลคลองตะเคียน ตั้งตำบลคลองสวนพลู แยกออกจากตำบลไผ่ลิง และตำบลเกาะเรียน ตั้งตำบลวัดตูม แยกออกจากตำบลสวนพริก ตั้งตำบลบ้านป้อม แยกออกจากตำบลภูเขาทอง และตำบลปากกราน ตั้งตำบลลุมพลี แยกออกจากตำบลคลองสระบัว[10]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม 2492 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา และกำหนดเขตตำบลในพื้นที่ตำบลหอรัตนไชย ตำบลหัวรอ ตำบลท่าวาสุกรี และ ตำบลกะมัง[11] ให้มีความถูกต้อง
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2499 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ 2[12]
  • วันที่ 5 มีนาคม 2500 โอนพื้นที่ตำบลประตูชัย เข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา[13]
  • วันที่ 13 มีนาคม 2500 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอกรุงเก่า เป็น อำเภอพระนครศรีอยุธยา[14]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2505 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ 3[15]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองสระบัว เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา ไปขึ้นกับตำบลหัวรอ[16]
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลอโยธยา ในพื้นที่บางส่วนของตำบลไผ่ลิง บางส่วนของตำบลหันตรา และบางส่วนของตำบลคลองสวนพลู[17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลอโยธยา เป็น เทศบาลตำบลอโยธยา[18]
  • วันที่ 16 ธันวาคม 2542 ยกฐานะจากเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา เป็น เทศบาลนครนครศรีอยุธยา[19]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลอโยธยา เป็น เทศบาลเมืองอโยธยา[20]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2548 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลนครนครศรีอยุธยา เป็น เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

พื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 21 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 113 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ประตูชัย (Pratu Chai) - 12. วัดตูม (Wat Tum) 5 หมู่บ้าน
2. กะมัง (Kamang) - 13. หันตรา (Hantra) 6 หมู่บ้าน
3. หอรัตนไชย (Ho Rattanachai) - 14. ลุมพลี (Lumphli) 6 หมู่บ้าน
4. หัวรอ (Hua Ro) - 15. บ้านใหม่ (Ban Mai) 9 หมู่บ้าน
5. ท่าวาสุกรี (Tha Wasukri) - 16. บ้านเกาะ (Ban Ko) 7 หมู่บ้าน
6. ไผ่ลิง (Phai Ling) - 17. คลองสวนพลู (Khlong Suan Phlu) 4 หมู่บ้าน
7. ปากกราน (Pak Kran) 14 หมู่บ้าน 18. คลองสระบัว (Khlong Sa Bua) 6 หมู่บ้าน
8. ภูเขาทอง (Phukhao Thong) 4 หมู่บ้าน 19. เกาะเรียน (Ko Rian) 7 หมู่บ้าน
9. สำเภาล่ม (Samphao Lom) 11 หมู่บ้าน 20. บ้านป้อม (Ban Pom) 11 หมู่บ้าน
10. สวนพริก (Suan Phrik) 6 หมู่บ้าน 21. บ้านรุน (Ban Run) 4 หมู่บ้าน
11. คลองตะเคียน (Khlong Takhian) 13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

พื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประตูชัย ตำบลกะมัง ตำบลหอรัตนไชย ตำบลหัวรอ และตำบลท่าวาสุกรีทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลหันตรา ตำบลบ้านเกาะ ตำบลคลองสวนพลู ตำบลคลองสระบัว และตำบลเกาะเรียน
  • เทศบาลเมืองอโยธยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ลิงทั้งตำบล รวมทั้งตำบลหันตราและตำบลคลองสวนพลู (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากกราน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากกรานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูเขาทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาล่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำเภาล่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนพริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนพริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหันตรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันตรา (นอกเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยาและเทศบาลเมืองอโยธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสระบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสระบัว (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านรุนทั้งตำบล รวมทั้งตำบลคลองสวนพลู (นอกเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยาและเทศบาลเมืองอโยธยา) และตำบลเกาะเรียน (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านป้อมทั้งตำบล

หน่วยกู้ภัย แก้

  • สมาคมอยุธยารวมใจ (กู้ภัยอยุธยา)
  • ศูนย์วิทยุกู้ภัยพุทไธสวรรย์

สถานศึกษา แก้

ระดับอุดมศึกษา แก้

ระดับอาชีวศึกษา แก้

สาธิต แก้

ระดับมัธยมศึกษา แก้

สถานพยาบาลรัฐและเอกชน แก้

การคมนาคม แก้

ทางราง แก้

 
สถานีอยุธยา

อำเภอพระนครศรีอยุธยามีสถานีรถไฟสองแห่งได้แก่สถานีอยุธยาในตำบลหอรัตนไชย และสถานีบ้านม้าในตำบลบ้านเกาะอยู่ถัดจากสถานีอยุธยาไปทางทิศเหนือ ทั้งสองสถานีเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟทางไกลสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
  2. 2.0 2.1 "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ หน้า ๔๑,๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 386. 6 พฤษภาคม 2460.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาล เมืองกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ก): 61–64. 11 มิถุนายน 2459.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามมณฑลกรุงเก่าและจังหวัดกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ก): 412. 23 มีนาคม 2461. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  5. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๕๑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามมณฑลกรุงเก่าและจังหวัดกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36 (0 ง): 25. 6 เมษายน 2462.
  6. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา จังหวัดนครศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1692–1698. 10 ธันวาคม 2478.
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 652–657. 14 พฤศจิกายน 2481.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 275. 16 เมษายน 2483.
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 263–267. 30 กรกฎาคม 2483. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (33 ง): 1930–1974. 29 กรกฎาคม 2490.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (40 ง): 3557–3561. 20 กรกฎาคม 2492.
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (49 ก): 751–755. 19 มิถุนายน 2499.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (23 ง): 625. 5 มีนาคม 2500.
  14. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอกรุงเก่า พ.ศ. ๒๕๐๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (25 ก): 546–548. 5 มีนาคม 2500. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.
  15. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (98 ก): (ฉบับพิเศษ) 39-43. 1 พฤศจิกายน 2505.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (62 ง): 1567. 18 มิถุนายน 2506.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาล สุขาภิบาลอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (139 ง): 3467–3469. 14 ธันวาคม 2514.
  18. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  19. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (127 ก): 1–4. 15 ธันวาคม 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเทศบาลเมืองอโยธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (พิเศษ 84 ง): 4. 14 กันยายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้