อาโวคาโด

(เปลี่ยนทางจาก อาโวกาโด)
อาโวคาโด
กลุ่มใบและผลของอาโวคาโด
ผลสุกของอาโวคาโด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช
ไฟลัม: พืชดอก
อันดับ: อบเชย
วงศ์: อบเชย
สกุล: Persea
สปีชีส์: P.  americana
ชื่อทวินาม
Persea americana
Mill
ชื่อพ้อง

Persea gratissima

อาโวคาโด หรือ ลูกเนย (อังกฤษ: avocado) เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของรัฐปวยบลาในประเทศเม็กซิโก[1] จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับอบเชย, กระวาน และเบย์ลอเรล (bay laurel) ผลของอาโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม มิชชันนารีชาวอเมริกันนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน[2] ต่อจากนั้นจึงมีหน่วยงานต่าง ๆ นำอาโวคาโดมาปลูกมากขึ้น

อาโวคาโดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่สูงถึง 18 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ใบสีเขียวสด ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งผลกลมรีหรือทรงลูกแพร์ มีทั้งพันธุ์เปลือกหนาและเปลือกบาง เนื้อสีเขียวออกเหลือง รสมัน เนื้อละเอียด ไม่มีกลิ่น มีเมล็ดเดียว มีรกหุ้มเมล็ด อาโวคาโดแบ่งเป็น 3 เผ่าคือ[2]

  • เผ่ากัวเตมาลา ผลสีเขียว ขั้วผลขรุขระ เมล็ดเรียบเล็กค่อนข้างกลม เนื้อหนา ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง เช่น
    • พันธุ์แฮส (Hass)
    • พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)
  • เผ่าอินดีสตะวันตก ผิวผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา เมล็ดอยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ รสหวานอ่อน ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน เช่น
    • พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson)
  • เผ่าเม็กซิโก ผลเล็กเรียบ เมื่อแก่สีม่วง เปลือกบางกว่าอีก 2 เผ่า เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดใหญ่อยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ มีไขมันมากที่สุด ทนอากาศเย็นได้ดีที่สุด

อาโวคาโดเป็นผักที่มีการค้าขายและเพาะปลูกในภูมิอากาศเขตร้อนทั่วโลก (และบางส่วนในเขตอบอุ่น เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย) มีผลสีเขียวทางลูกสาลี่ที่จะสุกหลังการเก็บเกี่ยว ต้นไม้สามารถถ่ายเรณูในต้นเดียวกันได้และบางครั้งการขยายพันธุ์จะใช้การติดตาตอนกิ่งเพื่อที่จะสามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลได้

การใช้ประโยชน์

แก้
 
นมปั่นกับอาโวคาโดแบบอินโดนีเซีย ใส่ช็อกโกแลต
อาโวคาโด (ดิบ)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน670 กิโลจูล (160 กิโลแคลอรี)
8.53 g
น้ำตาล0.66 g
ใยอาหาร6.7 g
14.66 g
อิ่มตัว2.13 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว9.80 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่1.82 g
2 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(6%)
0.067 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(11%)
0.130 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(12%)
1.738 มก.
(28%)
1.389 มก.
วิตามินบี6
(20%)
0.257 มก.
โฟเลต (บี9)
(20%)
81 μg
วิตามินซี
(12%)
10 มก.
วิตามินอี
(14%)
2.07 มก.
วิตามินเค
(20%)
21 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
12 มก.
เหล็ก
(4%)
0.55 มก.
แมกนีเซียม
(8%)
29 มก.
ฟอสฟอรัส
(7%)
52 มก.
โพแทสเซียม
(10%)
485 มก.
สังกะสี
(7%)
0.64 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ73.23 g
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

อาโวคาโดกินดิบไม่ได้เพราะมีแทนนินทำให้ขม กินมากจะปวดศีรษะ[2] รับประทานได้แต่ผลสุก กินเป็นผลไม้สด หรือกินกับไอศกรีม น้ำตาล นมข้นหวาน สลัด เค้ก

ชาวเม็กซิกันนิยมใช้เนื้ออาโวคาโดปรุงอาหารแทนเนย หรือนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในซอสกัวคาโมเล (Guacamole) ซึ่งนิยมนำมาทาบนแผ่นแป้งทอร์ทิลล่าส์ หรือขนมปัง นอกจากนี้ ชาวเม็กซิกันยังนิยมนำอาโวคาโดมาสกัดน้ำมันทำเครื่องสำอาง

ใน ฟิลิปปินส์ บราซิล อินโดนีเชีย เวียดนาม และทางตอนใต้ของ อินเดีย (โดยเฉพาะชายฝั่งเคราล่า ทมิฬนาดู และรัฐกรณาฏกะ) อาโวคาโดมักนิยมนำมาใช้ปรุงเป็นนมปั่น (Milkshake) หรือใส่ในไอศกรีม และขนมต่าง ๆ นอกจากนี้ใน บราซิล เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย อาโวคาโดถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม โดยผสมกับน้ำตาล นมหรือน้ำ และอาจเพิ่มอาโวคาโดบด บางครั้งก็มักเติมซอสช็อกโกแลตลงไป ในมอร็อกโค เครื่องดื่มเย็นที่ทำมาจากอาโวคาโดและนมมักถูกเติมความหวานด้วยน้ำตาลไอซิ่ง และเพิ่มรสชาติด้วยน้ำจากดอกส้ม

ความเป็นพิษ

แก้

บางคนแพ้อาโวคาโด โดยแพ้ในรูปของละอองเกสร หรือหลังจากรับประทานอาโวคาโดเข้าไปที่เรียก latex-fruit syndrome[3] เพราะเกี่ยวข้องกับการแพ้ลาเท็กซ์[4] อาการที่ปรากฏได้แก่ ลมพิษ ผื่นคัน ปวดท้อง อาเจียน หรืออาจจะเสียชีวิตได้[5]

ใบ เปลือกต้น และเปลือกชั้นเอนโดคาร์บของอาโวคาโดเป็นพิษต่อสัตว์หลายชนิดทั้งแมว หมา แพะ กระต่าย หนู นก ปลา ไก่ และม้า[6] ผลเป็นพิษกับนกบางชนิด American Society for the Prevention of Cruelty to Animals (ASPCA) ได้ประกาศว่าอาโวคาโดเป็นพิษต่อสัตว์[7] อาโวคาโดเป็นส่วนผสมในอาหารสุนัข[8] และอาหารแมว[9] ชนิด AvoDerm ซึ่ง ASPCA ปฏิเสธที่จะรับรองว่าปลอดภัยหรือไม่

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Chen, H.; Morrell, P. L.; Ashworth, V. E. T. M.; De La Cruz, M.; Clegg, M. T. (2008). "Tracing the Geographic Origins of Major Avocado Cultivars". Journal of Heredity. 100 (1): 56–65. doi:10.1093/jhered/esn068. PMID 18779226.
  2. 2.0 2.1 2.2 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. อาโวคาโด ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 267 – 269
  3. Brehler R, Theissen U, Mohr C, Luger T (1997). ""Latex-fruit syndrome": frequency of cross-reacting IgE antibodies". Allergy. 52 (4): 404–10. doi:10.1111/j.1398-9995.1997.tb01019.x. PMID 9188921. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "Latex allergy". Better Health Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-08-02.
  5. "General Information for Avocado". InformAll Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 2012-08-02.
  6. "Notes on poisoning: avocado". Canadian Biodiversity Information Facility. 2006-06-30. สืบค้นเมื่อ 2007-12-29.
  7. "Avocado". ASPCA Animal Poison Control Center.
  8. "AvoDerm Natural Premium Dog Food". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13.
  9. "AvoDerm Natural Premium Cat Food". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้