อาหารเมดิเตอร์เรเนียน

อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (อังกฤษ: Mediterranean diet) เป็นการคุมอาหารที่ได้แรงดลใจจากประเพณีการทานอาหารของชาวกรีก ชาวอิตาลีภาคใต้ และชาวสเปนที่พบในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950[2] หลักสำคัญได้แก่การรับประทานน้ำมันมะกอก พืชวงศ์ถั่ว ข้าวกล้อง ผลไม้และผักเป็นจำนวนมาก รับประทานปลาพอประมาณจนถึงมาก รับประทานผลิตภัณฑ์นมโดยมากเป็นชีสและโยเกิร์ตพอประมาณ ดื่มไวน์พอประมาณ และรับประทานผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นอกจากปลาน้อย[3]

อาหารเมดิเตอร์เรเนียน *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ประเทศ กรีซ
 โครเอเชีย
 ไซปรัส
 โปรตุเกส
 โมร็อกโก
 สเปน
 อิตาลี
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5[1]
อ้างอิง00884
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2013/2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 8)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

มีหลักฐานบ้างว่า อาหารชนิดนี้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและการเสียชีวิตก่อนวัย[4][5] น้ำมันมะกอกอาจเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้สุขภาพดี[6] มีหลักฐานเบื้องต้นว่า การรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำอาจลดอัตราการตายรวมเหตุทั้งหมด (all-cause mortality) ลดความเสี่ยงมะเร็ง โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) ประสาทเสื่อม (neurodegeneration) และโรคเรื้อรังหลายอย่าง[6][7][8][9]

ในปี 2013 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เพิ่มอาหารเมดิเตอร์เรเนียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ของประเทศอิตาลี (เป็นผู้โปรโหมต) สเปน โปรตุเกส โมร็อกโก กรีซ ไซปรัส และโครเอเชีย[10][11]

ผลต่อสุขภาพ แก้

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบหลักฐานว่า การรับประทานอาหารนี้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด มะเร็งโดยทั่วไป โรคทำให้ประสาทเสื่อม (neurodegenerative diseases เช่น โรคพาร์คินสันและโรคอัลไซเมอร์) โรคเบาหวาน และการเสียชีวิตก่อนวัย[5] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2018 แสดงว่า อาหารอาจทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยทั่วไป เช่น ลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ ลดค่าครองชีพ และลดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุข[12] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 พบว่า ช่วยลดน้ำหนักเท่ากับการคุมอาหารแบบอื่น ๆ[13]

โรคหัวใจ แก้

งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเคลนปี 2013 พบหลักฐานที่จำกัดว่า อาหารนี้มีผลดีต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[4] โดยเปรียบเทียบอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารเวแกน (เลี่ยงผลิตภัณฑ์สัตว์) อาหารผักผลไม้ (เลี่ยงเนื้อสัตว์) อาหารไกลซีมิกต่ำ (ควบคุมการเปลี่ยนระดับซูโครสในเลือด) อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารใยอาหารสูง อาหารโปรตีนสูง และอาหารกลุ่มควบคุม งานวิจัยนี้สรุปว่า อาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารไกลซีมิกต่ำ อาหารคาร์โบรไฮเดรตต่ำ อาหารโปรตีนสูง มีประสิทธิผลปรับปรุงตัวบ่งชี้โรคหัวใจร่วมหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และมีหลักฐานจำกัดว่า อาหารผักผลไม้ช่วยควบคุมระดับซูโครสและไขมันในเลือดที่ไม่เกี่ยวกับผลลดน้ำหนัก[14]

แต่งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 รอบคอบกว่า คือได้ยกปัญหาคุณภาพของงานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมานในอดีตที่ตรวจผลของอาหารเมดิเตอร์เรเนียนต่อปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[15] และเน้นความจำเป็นให้สร้างมาตรฐานงานวิจัยให้ดีกว่านี้[16] โดยพบหลักฐานการป้องกันโรคหลอดเลือดของอาหารเมดิเตอร์เรเนียนว่า "จำกัดและต่าง ๆ กันมาก"[17] งานทบทวนวรรณกรรมต่อ ๆ มาก็ได้สรุปเหมือนกันว่า อาหารช่วยปรับปรุงปัจจัยโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจต่าง ๆ[5][18]

อาหารชนิดนี้บ่อยครั้งอ้างว่ามีประโยชน์เพราะมีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และใยอาหารสูง ประโยชน์โดยหลักเชื่อว่ามาจากน้ำมันมะกอก ซึ่งมีไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยวมาก ที่เด่นที่สุดคือกรดโอเลอิกซึ่งก็กำลังวิจัยว่ามีผลดีต่อสุขภาพหรือไม่[7] องค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (EFSA) ปี 2012 ได้อนุมัติให้อ้างผลต่อสุขภาพของน้ำมันมะกอก ว่ามีโพลีฟีนอล (polyphenol) ที่ป้องกันการออกซิไดส์ไขมันในเส้นเลือด[19] และช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดแบบไม่ดี (LDL) เพราะทดแทนไขมันอิ่มตัวในอาหารด้วยกรดโอเลอิก[20][21]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 สรุปว่า การรับประทานน้ำมันมะกอกมากขึ้นสัมพันธ์กับอัตราความตายโดยเหตุทั้งหมดที่ลดลง กับปัญหาโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ลดลง และกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่ลดลง แต่การเพิ่มรับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) ที่มาจากพืชผสมกับสัตว์ไร้ผลที่มีนัยสำคัญ[8]

โรคเบาหวาน แก้

งานวิเคราะห์อภิมาน 2 งานในปี 2014 พบว่า อาหารนี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิด 2 ที่ลดลง[22][23] เหมือนกับที่พบในงานปี 2017 ดังที่กล่าวมาแล้ว[5]

มะเร็ง แก้

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2008 พบว่า การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนอย่างเข้มสัมพันธ์กับความเสี่ยงตายเพราะมะเร็งที่ลดลง 6%[24] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบว่า มีผลลดอัตราการเกิดมะเร็ง[5] งานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 พบว่า การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนสัมพันธ์กับความเสี่ยงตายเพราะมะเร็งที่ลดลง[25] มีหลักฐานเบื้องต้นว่า การรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง[9]

สมรรถภาพทางประชาน แก้

งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2016 พบว่าการยึดรับประทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนได้ดีกว่าสัมพันธ์กับการทำงานทางประชาน/ความคิดอ่านที่ดีกว่า แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นความสัมพันธ์โดยเหตุหรือไม่[26]

ตามงานปริทัศน์เป็นระบบปี 2013 การรับประทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแบบเข้มสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลงและความเสื่อมทางประชานที่ช้ากว่า[27] ส่วนงานปริทัศน์เป็นระบบอีกงานหนึ่งในปี 2013 ก็ได้สรุปอย่างเดียวกัน และพบด้วยว่าสำหรับผู้พิการทางประชานในระดับอ่อน ๆ (mild cognitive impairment) การรับประทานอาหารสัมพันธ์กับความเสี่ยงแย่ลงกลายเป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลง แต่ผู้วิจัยก็ยอมรับว่า งานที่ทำในเรื่องนี้ยังมีจำนวนน้อย[28]

โรคซึมเศร้า แก้

การรับประทานอาหารที่ถูกสุขภาพ เช่น อาหารเมดิเตอร์เรเนียน สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคซึมเศร้าที่ลดลง แต่งานที่ศึกษาความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นงานศึกษาแบบสังเกต จึงไม่ได้พิสูจน์ความเป็นเหตุและผล[29]

กลูเตน แก้

เพราะอาหารชนิดนี้ปกติจะรวมผลิตภัณฑ์ที่มีกลูเตน เช่น พาสตาและขนมปัง การรับประทานอาหารมากขึ้นอาจมีส่วนให้อัตราการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับกลูเตน (gluten-related disorders)[A] สูงขึ้น[32]

 
พีระมิดอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งย่อความรูปแบบการรับประทานอาหาร อาหารที่ฐานพีระมิดควรรับประทานมากสุด และที่ยอดพิระมิดควรรับประทานน้อยสุด

องค์ประกอบอาหาร แก้

แม้จะมี "อาหารเมดิเตอร์เรเนียน" ที่ต่าง ๆ กันในบรรดาประเทศและชุมชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนเพราะความต่างกันทางชาติพันธุ์ ทางวัฒนธรรม ทางเศรษฐกิจ และทางศาสนา แต่อาหารก็มักมีองค์ประกอบสำคัญอย่างเดียวกันนอกเหนือไปจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้ง[3][33][34]

ขนาดที่รับประทานต่าง ๆ บางครั้งจะแสดงเป็นพีระมิดอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ในบรรดาแคลอรีที่ได้แต่ละวันจากอาหาร จะได้จากไขมันทั้งหมดระหว่าง 25%-35% โดยได้ไขมันอิ่มตัว 8% หรือน้อยกว่านั้น[34] อิตาลีภาคเหนือมักใช้น้ำมันหมูและเนยเพื่อปรุงอาหาร ส่วนน้ำมันมะกอกใช้กับสลัดและการปรุงผัก[35] ทั้งในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ไขมันหลักตามประเพณีก็คือไขมันจากหางแกะและเนยใส (เนยเจียว)[36]

การเปรียบเทียบอาหารเมดิเตอร์เรเนียนที่แนะนำ 3 อย่าง[37]
อาหาร Oldway's Preservation
and Trust (2009)[38]
มูลนิธิ
อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (2001)[39]
แนวทางอาหาร
ประเทศกรีซ (1999)[40]
น้ำมันมะกอก ทุกมื้อ ทุกมื้อ ใช้เป็นไขมันเติมหลัก
ผัก ทุกมื้อ ≥2 ที่ทุกมื้อ 6 ที่/วัน
ผลไม้ ทุกมื้อ 1-2 ที่ทุกมื้อ 3 ที่/วัน
ขนมปังและธัญพืช ทุกมื้อ 1-2 ที่ทุกมื้อ 8 ที่/วัน
ผักพวกถั่ว ทุกมื้อ ≥2 ที่/สัปดาห์ 3-4 ที่/สัปดาห์
เมล็ดถั่ว ทุกมื้อ 1-2 ที่/วัน 3-4 ที่/สัปดาห์
ปลา/อาหารทะเล ≥2 ที่/สัปดาห์ ≥2 ที่/สัปดาห์ 5-6 ที่/สัปดาห์
ไข่ ขนาดพอควร ทุกวัน-ทุกสัปดาห์ 2-4 ที่/สัปดาห์ 3 ที่/สัปดาห์
เนื้อไก่ ขนาดพอควร ทุกวัน-ทุกสัปดาห์ 2 ที่/สัปดาห์ 4 ที่/สัปดาห์
ผลิตภัณฑ์นม ขนาดพอควร ทุกวัน-ทุกสัปดาห์ 2 ที่/วัน 2 ที่/วัน
เนื้อแดง ไม่บ่อย <2 ที่/สัปดาห์ 4 ที่/เดือน
ของหวาน ไม่บ่อย <2 ที่/สัปดาห์ 3 ที่/สัปดาห์
ไวน์แดง พอประมาณ พอประมาณโดยเคารพความเชื่อของสังคม พอประมาณทุกวัน
"ที่" แต่ละที่มีขนาดคือ ขนมปัง 25 กรัม, มันฝรั่ง 100 ก., พาสตาสุก 50-60 ก., ผัก 100 ก., แอปเปิล 80 ก., กล้วย 60 ก., ส้ม 100 ก., แตงไทย/แตงโม 200 ก., องุ่น 30 ก., นมหรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย, ไข่ 1 ฟอง, เนื้อ 60 ก., พืชพวกถั่ว (สุก) 100 ก.

ประวัติและการตอบรับ แก้

นักชีววิทยาแอนเซ็ล คียส์ (Ancel Keys) และภรรยาคือนักเคมีชาวอเมริกันมาร์กาเร็ต (Margaret Keys) ได้พัฒนาอาหารเมดิเตอร์เรเนียนขึ้นให้คล้ายกับ "รูปแบบอาหารปกติของครีต กรีซที่เหลือโดยมาก และอิตาลีภาคใต้ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960"[34] แม้จะได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกก็ต่อเมื่อปี 1975[41] และก็ไม่ได้การยอมรับจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1990

ข้อมูลเป็นกลางที่แสดงว่าเป็นอาหารถูกสุขภาพ มาจากงานศึกษาทางวิทยาการระบาดในเมืองเนเปิลส์และนครมาดริด[42] ซึ่งงานศึกษาในประเทศ 7 ประเทศต่อมาได้ยืนยันเริ่มตั้งแต่ปี 1970[43] แล้วตีพิมพ์การวิเคราะห์เป็นหนังสือในปี 1980[44] รูปแบบอาหารซึ่งรู้จักดีที่สุดเริ่มปรากฏในวรรณกรรมตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้น[45][46][47][48]

อาหารนี้ปรากฏกว่าขัดกับหลักโภชนาการทั่วไปอย่างหนึ่ง คือ แม้คนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะรับประทานไขมันเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสหรัฐ ที่รับประทานไขมันประมาณเดียวกัน ความขัดแย้งเช่นนี้ก็พบในการรับประทานอาหารของชาวฝรั่งเศสด้วย (เป็น French Paradox)[49]

นักเขียนชาวอิตาลี Giacomo Castelvetro ได้โปรโหมตการรับประทานอาหารมีสลัดมากตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาต้น ๆ (ปี 1614) แล้ว[50] ในปี 2011 อาหารนี้ได้กลายเป็นอาหารแฟชั่นนิยมอย่างหนึ่งที่โปรโหมตเพื่อลดน้ำหนัก[51]

ในปี 2018 อาหารที่คนเมดิเตอร์เรเนียนได้รับประทานตามประเพณีกำลังเสื่อมไปเพราะเริ่มรับประทานอาหารเหมือนกับชนอื่น ๆ มากขึ้นและเพราะการผลิตอาหารตามโลกาภิวัตน์[12]

โปรตุเกส แก้

เมื่อแอนเซ็ล คียส์ได้ศึกษาและกำหนดลักษณะอาหารเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อเปรียบเทียบกับนิสัยการกินของสหรัฐและประเทศพัฒนาแล้วโดยมากในเวลานั้น นักวิชาการบางท่านได้เรียกมันว่า "อาหารคนจน" ประเทศโปรตุเกสก็รวมอยู่ในงานศึกษานี้ด้วยตามนักกินมืออาชีพท่านหนึ่งที่ได้พบกับคียส์ และคียส์ก็พิจารณาโปรตุเกสว่า มีอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแบบไม่เจือปนที่ดีสุด แต่ผู้ปกครองเผด็จการของประเทศในเวลานั้น ไม่ต้องการให้ใช้ชื่อประเทศเนื่องกับอาหารที่เขาเข้าใจว่า เป็นอาหารของคนจน[52]

แม้ปัจจุบันชื่อนี้ก็ไม่นิยมใช้ในโปรตุเกส หลังจากอาหารเมดิเตอร์เรเนียนได้เกิดชื่อเสียง จึงมีงานศึกษาที่ตรวตสอบผลดีต่อสุขภาพของ "อาหารแบบแอตแลนติก" ซึ่งคล้ายกับอาหารนี้ แต่มีปลา อาหารทะเล และผักใบมากกว่า ศาสตราจารย์ในเรื่องประวัติอาหารและการกินผู้หนึ่งจึงกล่าวว่า อาหารโปรตุเกสจริง ๆ เป็นอาหารแบบแอตแลนติก[52]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. ความผิดปกติเกี่ยวกับกลูเตน (gluten-related disorders) เป็นคำทั่วไปสำหรับโรคทั้งหมดที่กลูเตนจุดชนวน รวมทั้ง coeliac disease (CD), non-celiac gluten sensitivity (NCGS), ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุกลูเตน (gluten ataxia), dermatitis herpetiformis (DH) และภูมิแพ้ข้าวสาลี (wheat allergy)[30][31]

อ้างอิง แก้

  1. "Decision of the Intergovernmental Committee: 5.COM 6.41". UN Educational, Scientific, and Cultural Organization: Intangible cultural heritage. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-10. สืบค้นเมื่อ 2018-11-10.
  2. Alberto Capatti et al., Italian Cuisine: A Cultural History, p. 106.; Silvano Serventi and Francoise Sabban, Pasta, p. 162.
  3. 3.0 3.1 Davis, C; Bryan, J; Hodgson, J; Murphy, K (November 2015). "Definition of the Mediterranean Diet; a Literature Review". Nutrients (Review). 7 (11): 9139–53. doi:10.3390/nu7115459. PMC 4663587. PMID 26556369.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 Rees, K; Hartley, L; Flowers, N; Clarke, A; Hooper, L; Thorogood, M; Stranges, S (2013-08-12). "'Mediterranean' dietary pattern for the primary prevention of cardiovascular disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 8: CD009825. doi:10.1002/14651858.CD009825.pub2. PMC 4176656. PMID 23939686.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Dinu, M; Pagliai, G; Casini, A; Sofi, F (2017-05-10). "Mediterranean diet and multiple health outcomes: an umbrella review of meta-analyses of observational studies and randomised trials". European Journal of Clinical Nutrition. 72: 30–43. doi:10.1038/ejcn.2017.58. PMID 28488692.
  6. 6.0 6.1 Piroddi, M; Albini, A; Fabiani, R; Giovannelli, L; Luceri, C; et al., Natella F (2016). "Nutrigenomics of extra-virgin olive oil: A review". BioFactors. doi:10.1002/biof.1318. PMID 27580701.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Buckland, G; González, CA (April 2015). "The role of olive oil in disease prevention: a focus on the recent epidemiological evidence from cohort studies and dietary intervention trials". Br J Nutr (Review). 113 Suppl 2: S94-101. doi:10.1017/S0007114514003936.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Schwingshackl, L; Hoffmann, G (2014-10-01). "Monounsaturated fatty acids, olive oil and health status: a systematic review and meta-analysis of cohort studies". Lipids Health Dis (Review). 13: 154. doi:10.1186/1476-511X-13-154. PMC 4198773. PMID 25274026.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 Psaltopoulou, T; Kosti, RI; Haidopoulos, D; Dimopoulos, M; Panagiotakos, DB (2011). "Olive oil intake is inversely related to cancer prevalence: a systematic review and a meta-analysis of 13,800 patients and 23,340 controls in 19 observational studies". Lipids Health Dis. 10: 127. doi:10.1186/1476-511X-10-127. PMC 3199852. PMID 21801436.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. "UNESCO Culture Sector, Eighth Session of the Intergovernmental Committee (8.COM) - from 2 to 7 December 2013". สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  11. "UNESCO - Culture - Intangible Heritage - Lists & Register - Inscribed Elements - Mediterranean Diet". สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  12. 12.0 12.1 Martinez-Lacoba, R; Pardo-Garcia, I; Amo-Saus, E; Escribano-Sotos, F (2018). "Mediterranean diet and health outcomes: a systematic meta-review". European Journal of Public Health. Advance articles. doi:10.1093/eurpub/cky113. PMID 29992229.
  13. Mancini, JG; Filion, KB; Atallah, R; Eisenberg, MJ (April 2016). "Systematic Review of the Mediterranean Diet for Long-Term Weight Loss". American J Med. 129 (4): 407-415.e4. doi:10.1016/j.amjmed.2015.11.028. PMID 26721635.
  14. Ajala O.; English P.; Pinkney J. (2013). "Systematic review and meta-analysis of different dietary approaches to the management of type 2 diabetes". The American Journal of Clinical Nutrition. 97 (3): 505–516. doi:10.3945/ajcn.112.042457.
  15. Huedo-Medina, TB; Garcia, M; Bihuniak, JD; Kenny, A; Kerstetter, J (March 2016). "Methodologic quality of meta-analyses and systematic reviews on the Mediterranean diet and cardiovascular disease outcomes: a review". American Journal of Clinical Nutrition (Review). 103 (3): 841–50. doi:10.3945/ajcn.115.112771. PMID 26864357.
  16. Nissensohn, M; Román-Viñas, B; Sánchez-Villegas, A; Piscopo, S; Serra-Majem, L (January 2016). "The Effect of the Mediterranean Diet on Hypertension: A Systematic Review and Meta-Analysis". Journal of Nutrition Education and Behavior (Review). 48 (1): 42-53.e1. doi:10.1016/j.jneb.2015.08.023. PMID 26483006.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Liyanage, T; Ninomiya, T; Wang, A; Neal, B; Jun, M; Wong, MG; Jardine, M; Hillis, GS; Perkovic, V (2016). "Effects of the Mediterranean Diet on Cardiovascular Outcomes-A Systematic Review and Meta-Analysis". PLOS One (Review). 11 (8): e0159252. doi:10.1371/journal.pone.0159252. PMC 4980102. PMID 27509006.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. Gay, HC; Rao, SG; Vaccarino, V; Ali, MK (April 2016). "Effects of Different Dietary Interventions on Blood Pressure: Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials". Hypertension. 67 (4): 733–9. doi:10.1161/HYPERTENSIONAHA.115.06853. PMID 26902492.
  19. European Food Safety Authority (2011). "Scientific Opinion on the substantiation of health claims related to polyphenols in olive". EFSA Journal. 9 (4): 2033. doi:10.2903/j.efsa.2011.2033.
  20. European Food Safety Authority (2011). "Scientific Opinion on the substantiation of health claims related to oleic acid intended to replace saturated fatty acids (SFAs) in foods or diets". EFSA Journal. 9 (4): 2043. doi:10.2903/j.efsa.2011.2043.
  21. "COMMISSION REGULATION (EU) No 432/2012 of 16 May 2012 establishing a list of permitted health claims made on foods, other than those referring to the reduction of disease risk and to children's development and health. Text with EEA relevance". Official Journal of the European Union. สืบค้นเมื่อ 2016-08-31.
  22. Schwingshackl, L; Missbach, B; König, J; Hoffmann, G (2014-08-22). "Adherence to a Mediterranean diet and risk of diabetes: a systematic review and meta-analysis". Public Health Nutrition. 18: 1–8. doi:10.1017/S1368980014001542. PMID 25145972.
  23. Koloverou, E; Esposito, K; Giugliano, D; Panagiotakos, D (July 2014). "The effect of Mediterranean diet on the development of type 2 diabetes mellitus: a meta-analysis of 10 prospective studies and 136,846 participants". Metabolism: clinical and experimental. 63 (7): 903–11. doi:10.1016/j.metabol.2014.04.010. PMID 24931280.
  24. Sofi, F; Cesari, F; Abbate, R; Gensini, GF; Casini, A (2008). "Adherence to Mediterranean diet and health status: meta-analysis". BMJ (Clinical research ed.). 337 (sep11 2): a1344. doi:10.1136/bmj.a1344. PMC 2533524. PMID 18786971.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. Schwingshackl, L; Hoffmann, G (2014-10-15). "Adherence to Mediterranean diet and risk of cancer: a systematic review and meta-analysis of observational studies". International Journal of Cancer. 135 (8): 1884–97. doi:10.1002/ijc.28824. PMID 24599882.
  26. Petersson, SD; Philippou, E (September 2016). "Mediterranean Diet, Cognitive Function, and Dementia: A Systematic Review of the Evidence". Advances in Nutrition (Bethesda, Md.). 7 (5): 889–904. doi:10.3945/an.116.012138. PMC 5015034. PMID 27633105.
  27. Lourida, Ilianna; Soni, Maya; Thompson-Coon, Joanna; Purandare, Nitin; Lang, Iain A.; Ukoumunne, Obioha C.; Llewellyn, David J. (July 2013). "Mediterranean Diet, Cognitive Function, and Dementia". Epidemiology. 24 (4): 479–489. doi:10.1097/EDE.0b013e3182944410.
  28. Singh, B; Parsaik, AK; Mielke, MM; Erwin, PJ; Knopman, DS; Petersen, RC; Roberts, RO (2014). "Association of mediterranean diet with mild cognitive impairment and Alzheimer's disease: a systematic review and meta-analysis". Journal of Alzheimer's disease : JAD. 39 (2): 271–82. doi:10.3233/JAD-130830. PMC 3946820. PMID 24164735.
  29. Psaltopoulou, T; Sergentanis, TN; Panagiotakos, DB; Sergentanis, IN; Kosti, R; Scarmeas, N (October 2013). "Mediterranean diet, stroke, cognitive impairment, and depression: A meta-analysis". Annals of neurology. 74 (4): 580–91. doi:10.1002/ana.23944. PMID 23720230.
  30. "The Oslo definitions for coeliac disease and related terms". 2013. doi:10.1136/gutjnl-2011-301346. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  31. "Spectrum of gluten-related disorders: consensus on new nomenclature and classification". 2012. doi:10.1186/1741-7015-10-13. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  32. Volta, U; Caio, G; Tovoli, F; De Giorgio, R (2013). "Non-celiac gluten sensitivity: questions still to be answered despite increasing awareness". Cellular and Molecular Immunology (Review). 10 (5): 383–392. doi:10.1038/cmi.2013.28. ISSN 1672-7681. PMC 4003198. PMID 23934026. Many factors have contributed to the development of gluten-related pathology, starting with the worldwide spread of the Mediterranean diet, which is based on a high intake of gluten-containing foods.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Lin, PH; Aronson, W; Freedland, SJ (2015-01-08). "Nutrition, dietary interventions and prostate cancer: the latest evidence". BMC Med (Review). 13: 3. doi:10.1186/s12916-014-0234-y. PMC 4823849. PMID 25573005.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. 34.0 34.1 34.2 Willett, WC; Sacks, F; Trichopoulou, A; Drescher, G; Ferro-Luzzi, A; Helsing, E; Trichopoulos, D (1995-06-01). "Mediterranean diet pyramid: a cultural model for healthy eating". American Journal of Clinical Nutrition. 61 (6): 1402S–6S. doi:10.1093/ajcn/61.6.1402s. PMID 7754995.
  35. Massimo Alberini, Giorgio Mistretta, Guida all'Italia gastronomica, Touring Club Italiano, 1984
  36. Tapper, Richard; Zubaida, Sami (2001). A Taste of Thyme: Culinary Cultures of the Middle East. Tauris Parke Paperbacks. p. 43. ISBN 1-86064-603-4.
  37. แม่แบบ:CC-notice "Definition of the Mediterranean Diet: A Literature Review". 2015. doi:10.3390/nu7115459. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  38. "Mediterranean Diet Pyramid". สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.
  39. "Mediterranean diet pyramid today. Science and cultural updates". 2011. PMID 22166184. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  40. "The emerging role of mediterranean diets in cardiovascular epidemiology: Monounsaturated fats, olive oil, red wine or the whole pattern?". 2004. PMID 15012018. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  41. Keys, Ancel; Keys, Margaret (1975). How to eat well and stay well the Mediterranean way. Doubleday.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. da Silva, António José Marques (2015). La diète méditerranéenne. Discours et pratiques alimentaires en Méditerranée. Vol. 2. Paris: L'Harmattan. pp. 52–54.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  43. Keys, Ancel, บ.ก. (April 1970). "Coronary heart disease in seven countries". Circulation. 41 (4 Suppl): I1-211. doi:10.1161/01.CIR.41.4S1.I-1. PMID 5442782.
  44. Seven Countries: A multivariate analysis of death and coronary heart disease. 1980. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  45. Burros, Marian (1995-03-29). "Eating Well". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-07.
  46. Kushi, LH; Lenart, EB; Willett, WC (1995). "Health implications of Mediterranean diets in light of contemporary knowledge. 1. Plant foods and dairy products". Am. J. Clin. Nutr. 61: 1407S–1415S. PMID 7754996.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. Kushi, LH; Lenart, EB; Willett, WC (1995). "Health implications of Mediterranean diets in light of contemporary knowledge. 2. Meat, wine, fats, and oils". Am. J. Clin. Nutr. 61: 1416S–1427S. PMID 7754997.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  48. Willett, WC (2006). "The Mediterranean diet: science and practice". Public Health Nutr. 9: 105–10. PMID 16512956.
  49. "Serge Renaud: from French paradox to Cretan miracle". 2000. doi:10.1016/S0140-6736(05)71990-5. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  50. Castelvetro. G., The Fruits, Herbs, and Vegetables of Italy, London, Viking, 1989, translated from the original published in 1614.
  51. Brown, JE; Isaacs, J; Krinke, B; Lechtenberg, E; Murtaugh, M (2011). Nutrition Through the Life Cycle (4th ed.). Cengage Learning. p. 410. ISBN 1-133-00816-X.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  52. 52.0 52.1 Moreira, José Augusto (2012-10-10). "Mediterrânica ou atlântica, eis a questão". Público (ภาษาโปรตุเกส).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mediterranean Diet