อาหารฝูเจี้ยน
อาหารฝูเจี้ยน ยังเป็นที่รู้จักกันคือ หมิ่นไช่ หรือ ฮกเกี้ยนไช่ เป็นหนึ่งในอาหารจีนพื้นเมืองที่มาจากรูปแบบการทำอาหารพื้นเมืองของมณฑลฝูเจี้ยนของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากเมืองหลวงของมณฑลคือ ฝูโจว อาหารฝูเจี้ยนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่าเป็นอาหารเบาแต่มีรสชาติดี นุ่มนวล และละมุน โดยเน้นเฉพาะด้วยรสชาติอูมามิซึ่งเป็นที่รู้จักกันในการทำอาหารจีนในชื่อว่า เซียนเว่ย์(鲜味; 鮮味; xiān wèi; sian bī), อีกทั้งยังคงรสชาติดั้งเดิมเอาไว้ของส่วนผสมหลักแทนการถูกปกปิด[1][2]
อาหารฝูเจี้ยน | |||||||||||
![]() ถ้วยซุปข้นฝูเจี้ยน, หรือ เจ่ง (羹). อาหารรูปแบบฝูเจี้ยนประกอบด้วยน้ำซุป อาหารจานซุป และสตูว์ | |||||||||||
ภาษาจีน | 福建菜 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||
Min cuisine | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 閩菜 | ||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 闽菜 | ||||||||||
|
มีการใช้อาหารทะเลและอาหารป่าที่มีความหลากหลาย รวมทั้งปลา หอย และเต่ามากมายในท้องถิ่น หรือเห็ดที่กินได้และหน่อไม้ ซึ่งหาได้โดยบริเวณชายฝั่งและภูเขาของฝูเจี้ยน[2] เทคนิคการปรุงอาหารที่ใช้กันมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ได้แก่ การตุ๋น การเคี่ยว การนึ่ง และการต้ม[2]
การเอาใจใส่เป็นพิเศษจะต้องจ่ายด้วยทักษะพลิกแพลงของการใช้มีดและเทคนิคการทำอาหารของเชฟ ซึ่งใช้เพื่อเพิ่มเติมรสชาติ กลิ่นหอม และเนื้อสัมผัสของอาหารทะเลและอาหารอื่นๆ[2] เน้นหนักในการทำและการนำน้ำซุปและน้ำแกงไปใช้[3] มีคำกล่าวในอาหารของภูมิภาคนี้ว่า: "หนึ่งน้ำซุปสามารถเปลี่ยนเป็นหลาย (สิบ) รูปแบบ" (一汤十变; 一湯十變; yī tāng shí biàn; chit thong sip piàn) และ "เป็นที่ยอมรับไม่ได้เลยสำหรับมื้ออาหาร หากปราศจากน้ำซุป" (不汤不行; 不湯不行; bù tāng bù xíng; put thong put hêng)[1]
น้ำปลาดอง เป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า "น้ำมันกุ้ง" (虾油; 蝦油; xiā yóu; hâ iû), ยังนิยมใช้ในอาหาร พร้อมกับหอยนางรม ปู และกุ้ง ถั่วลิสง(ใช้สำหรับทั้งอาหารคาวและของหวาน) ยังเป็นที่แพร่หลายและสามารถที่จะทำการต้ม การทอด การคั่ว การบด หรือแม้แต่กระทั่งทำเป็นน้ำพริก ถั่วลิสงสามารถใช้เป็นเครื่องปรุง ซึ่งมีอยู่ในน้ำซุปและสามารถเพิ่มเติมลงในอาหารประเภทตุ๋นหรือผัดได้
อาหารฝูเจี้ยนนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่ออาหารไต้หวันและอาหารจีนโพ้นทะเลที่พบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากชาวจีนไต้หวันและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากบรรพบุรุษในมณฑลฝูเจี้ยน
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 中国烹饪协会 (China Cuisine Association). 中国八大菜系:闽菜 (China's Eight Great Schools of Cuisines : Min). 福建大酒家: 中国职工音像出版社. ISRC: CN-A47-99-302-00/V.G4
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 徐, 文苑 (2005), 中国饮食文化概论, 清华大学出版社, pp. 79–80
- ↑ Grigson, Jane (January 1985), World Atlas of Food, Bookthrift Company, ISBN 978-0-671-07211-7
บทความเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอื่น ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |