อาลแบร์ แฟร์ (ฝรั่งเศส: Albert Fert) เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2481 ณ เมืองการ์กาซอน ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ (Giant magnetoresistive effect) อันเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในการสร้างฮาร์ดดิสก์ความจุระดับจิกะไบต์ ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยปารี-ซูด ในออร์แซ และเป็นผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์ของห้องวิจัยร่วมทางฟิสิกส์ (Unité mixte de physique) ระหว่างศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ฝรั่งเศส) กับกลุ่มเธเลส (Thales Group) เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2550 ร่วมกับเพเทอร์ กรืนแบร์ค นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน[1]

อาลแบร์ แฟร์
อาลแบร์ แฟร์
เกิด7 มีนาคม 2481
การ์กาซอน, ฝรั่งเศส
สัญชาติธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ศิษย์เก่าÉcole normale supérieure, ปารีส
มีชื่อเสียงจากปรากฏการณ์ ความต้านทานแม่เหล็ก อย่างใหญ่ (Giant magnetoresistive effect)
รางวัล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี 2550

รางวัล วูลฟ์ สาขาฟิสิกส์ 2549/2550
Médaille d'or du CNRS ปี 2546
รางวัล ฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์ โดย สมาคมฟิสิกส์ชาวยุโรป ปี 2540
Grand Prix de Physique Jean Ricard of the Société française de Physique ปี 2537
รางวัลสภาพแม่เหล็ก จาก สหภาพระหว่างประเทศ ของ ฟิสิกส์บริสุทธิ์ และ ประยุกต์ (IUPAP) ปี 2537

รางวัลระหว่างประเทศ สำหรับ วัสดุใหม่ ของ สมาคมฟิสิกส์อเมริกัน ปี 2537
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขานักฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยปารี-ซูด
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกแคมป์เบลล์ (I. A. Campbell)

การศึกษา แก้

แฟร์จบจาก École normale supérieure ในกรุงปารีส ในปี 2505 เขาได้รับปริญญามหาบัณฑิตในปี 2506 จากมหาวิทยาลัยปารีส และปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 2513 จากมหาวิทยาลัยปารี-ซูด

งานวิจัย แก้

ในปี 2531 เขาได้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ (Giant magnetoresistive effect ชื่อย่อ GMR) ในชั้นที่ซ้อนกันของเหล็กและโครเมียม ซึ่งได้ถูกจดจำไว้ในฐานะเป็นการกำเนิดขึ้นของสปินทรอนิกส์ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ได้รับการค้นพบขึ้นต่างหากในช่วงเวลาเดียวกันโดยนักวิจัยชาวเยอรมัน ชื่อ เพเทอร์ กรืนแบร์ค จากศูนย์วิจัยยือลิช อนึ่ง อาลแบร์ แฟร์ ได้มีส่วนในงานวิจัยด้านสปินทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2531 จนกระทั่งปัจจุบัน

รางวัล แก้

  • รางวัลระหว่างประเทศ สำหรับ วัสดุใหม่ ของ สมาคมฟิสิกส์อเมริกัน ปี 2537
  • Grand prix de physique Jean Ricard of the French Physical Society ปี 2537
  • รางวัลสภาพแม่เหล็ก จาก สหภาพระหว่างประเทศ ของ ฟิสิกส์บริสุทธิ์ และ ประยุกต์ (IUPAP) ปี 2537
  • รางวัล ฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์ โดย สมาคมฟิสิกส์ชาวยุโรป ปี 2540
  • รางวัลเหรียญทอง จาก ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ฝรั่งเศส) ปี 2546
  • ได้รับเลือกให้เข้าสมาคมวิชาการวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส ในปี 2547
  • รางวัล วูลฟ์ สาขาฟิสิกส์ ปี 2549/2550
  • รางวัล ญี่ปุ่น ปี 2550
  • รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี 2550 ร่วมกับเพเทอร์ กรืนแบร์ค "สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ ของพวกเขา" [2]

อ้างอิง แก้

  1. "รางวัลโนเบล ปี 2550". มูลนิธิโนเบล. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  2. "รางวัลโนเบล ปี 2550". Royal Swedish Academy of Sciences. 2007-10-09.

ดูเพิ่ม แก้