อารีรัง
อารีรัง (เกาหลี: 아리랑; ฮันจา: 阿里郞)[1] เป็นเพลงพื้นบ้านเกาหลีที่รู้จักกันดีที่สุด[2] ทั้งภายในและภายนอกประเทศเกาหลี โดยเนื้อหาของเพลงนั้น จะเกี่ยวกับการเดินทางผ่านช่องเขา และมักจะเกี่ยวกับการจากลาจากคนรัก หรือสงคราม หากจะเทียบอารีรังกับร้อยแก้วแบบไทยแล้ว อาจเทียบได้กับนิราศ มีการประมาณว่าเพลงนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี[3]
อารีรัง เพลงชาวบ้านคีตกานท์ ในสาธารณรัฐเกาหลี * | |
---|---|
![]() | |
![]() ซง โซ-ฮี ขับร้องเพลง "อารีรัง" | |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00445 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2012/2555 (คณะกรรมการสมัยที่ 7) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
เพลงชาวบ้านอารีรัง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลี * | |
---|---|
![]() | |
![]() หญิงคนหนึ่งกำลังบอกลาชายคนหนึ่งที่กำลังจะออกเดินทางผ่านช่องเขา เป็นฉากหนึ่งจากเทศกาลอารีรัง ในเกาหลีเหนือ | |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ศิลปะการแสดง |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00914 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2014/2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 9) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อารีรัง | |
ฮันกึล | 아리랑 |
---|---|
ฮันจา | 阿里郞 |
อาร์อาร์ | Arirang |
เอ็มอาร์ | Arirang |
บรรเลงโดย วงดุริยางค์กองทัพบกสหรัฐ บรรเลงโดย วงดุริยางค์กองทัพบกสหรัฐ | |
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์เหล่านี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
อารีรังถูกรวมอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกสองครั้ง เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการเสนอเพลงเพื่อรวมอยู่ในรายชื่อของยูเนสโกในปี ค.ศ. 2012[3][4] นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังประสบความสำเร็จในการเสนอเพลงเพื่อเข้าร่วมในปี ค.ศ. 2014[5][6] และในปี ค.ศ. 2015 คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติของเกาหลีใต้ ได้เพิ่มเพลงนี้ลงในรายการสมบัติทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญ[7]
ในปัจจุบันเพลงนี้มีการร้องทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของประเทศที่แบ่งแยกกันตั้งแต่สงครามเกาหลี
อารีรังแบบต่าง ๆแก้ไข
ในความเป็นจริงแล้ว มีเพลงอารีรังแบบต่าง ๆ อยู่ถึงกว่า 100 แบบ และทุกแบบสามารถแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้อีก ขึ้นอยู่กับเนื้อร้อง สร้อย ทำนองโดยรวม ฯลฯ ชื่อเพลงของอารีรังแบบต่าง ๆ จะมีชื่อสถานที่หรือเป็นชื่ออื่น ๆ แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า อารีรัง
เพลงอารีรังมาตรฐานนั้นมักเรียกกันว่า "อารีรัง" เฉย ๆ และมีต้นกำเนิดที่ค่อนข้างใหม่อยู่ เพลงนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตั้งแต่ได้ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องอารีรัง (1926) บางครั้งเพลงนี้ถูกเรียกว่า บนโจอารีรัง (อารีรังมาตรฐาน), ชินอารีรัง (อารีรังใหม่), อารีรัง หรือ คย็องกีอารีรัง (เนื่องจากมีต้นกำเนิดจากโซล ซึ่งเคยอยู่ในเขตจังหวัดคย็องกี)
เพลงพื้นบ้านอารีรัง แบบอื่น ๆ ที่มีประวัติยาวนาน ได้แก่
- ช็องซ็อนอารีรัง จากอำเภอช็องซ็อน จังหวัดกังวอน
- ชินโดอารีรัง จากอำเภอชินโด ในจังหวัดช็อลลาใต้
- มีรยางอารีรัง จากเมืองมีรยาง ในจังหวัดคย็องซังใต้
พัลโดอารีรัง เป็นเพลงอารีรังที่รวมลักษณะต่าง ๆ ของเพลงอารีรังจากทุกท้องถิ่นเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่าพัลโดอารีรัง ซึ่งพัลโดนั้นแปลว่า 8 จังหวัด (เกาหลีโบราณทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น 8 จังหวัด)
ที่มาของชื่อเพลงแก้ไข
เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชันนั้น เริ่มต้นด้วยการพรรณนาการเดินทาง โดยเนื้อหาของเพลงนั้นเกี่ยวกับตอนที่เดินทางผ่านช่องเขา อารีรังนั้นเป็นชื่อของช่องเขาแห่งหนึ่ง จึงถูกใช้เป็นชื่อเพลงด้วย อารีรังบางเวอร์ชันได้กล่าวถึงช่องเขามุนกย็องแซแจ ซึ่งเป็นช่องเขาหลักที่สำคัญสมัยราชวงศ์โชซ็อน อยู่ระหว่างถนนจากโซลไปยังจังหวัดคย็องซังทางตะวันออกเฉียงใต้
ช่องเขาหลายแห่งในเกาหลีนั้นมีชื่อว่าช่องเขาอารีรัง ช่องเขาอารีรังแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาทางภาคกลางของเกาหลี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโซล เดิมมีชื่อว่าช่องเขาจช็องนึง และถูกเปลี่ยนชื่อในปี 1926 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการฉายภาพยนตร์อารีรัง ซึ่งเป็นภาพยนตร์เงียบที่ดีที่สุดของเกาหลี แต่เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชันนั้นมีอายุเก่าแก่กว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อีก
สร้อยเพลงแก้ไข
ในเพลงอารีรังทุกเวอร์ชัน สร้อยเพลงและแต่ละท่อนของเพลงจะมีความยาวเท่ากัน
ในบางเวอร์ชัน เช่น อารีรังฉบับมาตรฐาน และชินโดอารีรัง สร้อยท่อนแรกจะเริ่มต้นก่อนเนื้อเพลงท่อนแรก แต่ในเวอร์ชันอื่น ๆ เช่น มีรยางอารีรัง สร้อยท่อนแรกจะเริ่มต้นทีหลังเนื้อเพลงท่อนแรก แต่บางที วิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดอันดับเพลงอารีรังเวอร์ชันต่าง ๆ นั้น นอกจากทำนองที่มีความหลากหลายมาก ๆ แล้ว ก็คือโดยเนื้อร้องของสร้อย ในเพลงอารีรังเวอร์ชันมาตรฐานและเวอร์ชันอื่น ๆ บางเพลง สร้อยจะขึ้นต้นว่า "อารีรัง อารีรัง อารารีโย..." แต่ในเพลงชินโดอารีรังและมีรยางอารีรัง (2 เวอร์ชันนี้ก็ต่างกันเองมากพอสมควร) จะมีสร้อยเพลงที่ขึ้นต้นว่า "อารี อารีรัง ซือรี อารีรัง..." (ทั้งคำว่า "อารารีโย" และ "ซือรี อารีรัง" นั้นต่างเป็นคำที่ไม่มีความหมาย ที่ใส่เข้ามาเพื่อให้เข้ากับคำว่าอารีรังเท่านั้น)
โน้ตเพลงแก้ไข
เนื้อเพลงแก้ไข
ตารางข้างล่างนั้นได้แสดงสร้อยเพลงอารีรัง (2 บรรทัดแรก) และเนื้อเพลงท่อนแรก (บรรทัดที่ 3-4) ในเพลงอารีรังเวอร์ชันมาตรฐาน ในตัวอักษรฮันกึล คำอ่านภาษาไทย และคำแปลเป็นภาษาไทย
ตัวอักษรฮันกึล | |
아리랑, 아리랑, 아라리요... 아리랑 고개로 넘어간다. 나를 버리고 가시는 님은 십리도 못가서 발병난다. | |
คำอ่านภาษาไทย | |
อารีรัง อารีรัง อารารีโย... อารีรัง โคแกโร นอมอกันดา นารึล พอรีโก คาชีนึน นีมึน ชิมนีโด มดกาซอ พัลบย็องนันดา | |
คำแปลภาษาไทย | |
อารีรัง อารีรัง อารารีโย... ฉันกำลังข้ามผ่านช่องเขาอารีรัง เขาคนนั้น ที่ทิ้งฉันไว้(ที่นี่) จะไม่เดินแม้ระยะทางเพียง 10 ลี้ ก่อนที่เท้าของเขาจะเจ็บ |
ดูหมายเหตุ 3 ข้างล่าง ดูหมายเหตุ 4 ข้างล่าง ดูหมายเหตุ 5 ข้างล่าง ดูหมายเหตุ 6 และ 7 ข้างล่าง |
- เนื้อหาข่าวของสำนักข่าวยอนฮับ เป็นการถกเถียงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเพลงและความเกี่ยวข้องของเพลงที่มีต่อภาพยนตร์[8]
- อ้างอิงจากเนื้อหาเกี่ยวกับช่องเขา ในเว็บไซต์ของฝ่ายบริหารโซล[9]
- "อารารีโย" ("아라리요") ไม่มีความหมายและมีหน้าที่เพียงช่วยให้เพลงมีความลื่นไหล
- สรรพนามในภาษาเกาหลี มักถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจ ดังนั้นคำว่า ฉัน ในบรรทัดที่สองจึงอาจมีความหมายว่า พวกเรา ก็ได้ แต่การใช้คำว่าฉัน แทน พวกเรา นั้นจะไปสอดคล้องกับคำว่าฉัน ในบรรทัดที่สามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
- คำนามและสรรพนามในภาษาเกาหลีนั้นไม่ระบุเพศ ดังนั้นสรรพนามบุรุษที่ 3 ในเนื้อเพลงจึงอาจอ้างอิงถึงผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้
- ระยะทาง 10 ลี้ (리 ; 里) เท่ากับระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรหรือ 2.5 ไมล์
- เท้าของเขาเจ็บ ("발병난다"; "พัลบย็องนันดา") สามารถแปลตรงตัวว่า เขามีโรคที่เท้า และยังอุปมานได้ว่า เท้าของเขาเจ็บหลังจากที่เดินทางอย่างลำบากผ่านช่องเขา
เนื้อร้องเพิ่มเติมแก้ไข
เวอร์ชันมาตรฐานของเพลงอารีรังมีเนื้อร้อง 3 ท่อน แต่ท่อนที่ 2 และสามนั้นไม่ถูกร้องบ่อยเท่าท่อนที่ 1 ท่อนที่ 2-3 นั้นถูกแสดงอยู่ข้างล่างนี้ (ไม่มีสร้อยประกอบ):
ท่อนที่ 2
- 청청하늘엔 별도 많고
- 우리네 가슴엔 꿈도 많다
- ช็องช็องฮานือเรน พย็อลโด มันโค
- อูรีเน คาซือเมน กุมโด มันทา
- เช่นเดียวกับดาวมากมายในท้องฟ้า
- หัวใจฉันก็มีความเศร้าโศกมากมายเช่นกัน
ท่อนที่ 3
- 저기 저 산이 백두산이라지
- 동지 섣달에도 꽃만 핀다
- ชอกี ชอ ซานี แพ็กตูซานีราจี
- ทงจี ซ็อดตาเรโด กนมัน พินดา
- ภูเขาลูกนั้นคือภูเขาแพ็กตู,
- ที่ซึ่งมีดอกไม้ผลิบาน แม้ในวันสุดท้ายของฤดูหนาว
สถานะเป็นทางการแก้ไข
อารีรังบรรจุในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ซึ่งได้รับการเสนอจากทั้งเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2012[3][4] และเกาหลีเหนือในปี ค.ศ. 2014[5][6]
คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติของเกาหลีใต้ได้เพิ่มอารีรัง ลงในรายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญในปี ค.ศ. 2015[7]
กองทหารราบที่ 7 ของกองทัพสหรัฐนำเพลงอารีรัง มาใช้เป็นเพลงมาร์ชอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1956 หลังจากได้รับอนุญาตจาก อี ซึง-มัน ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ กองกำลังนี้ได้ประจำการในเกาหลีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึง 1953 ในระหว่างช่วงสงครามเกาหลี[10]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "아리랑". 한국민족문화대백과 [Encyclopedia of Korean National Culture] (ภาษาเกาหลี). aks.ac.kr. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
- ↑ Stout, Mira, One Thousand Chestnut Trees. New York: Riverhead Books. 1998. p. 278. ISBN 1-57322-738-2.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Chung, Ah-young (2012-12-12). "'Arirang' makes it to UNESCO heritage". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 4.0 4.1 "Arirang, lyrical folk song in the Republic of Korea". Intangible Cultural Heritage. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 5.0 5.1 "N. Korea's Arirang wins UNESCO intangible heritage status". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). 2014-11-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 6.0 6.1 "Arirang folk song in the Democratic People's Republic of Korea". Intangible Cultural Heritage. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 7.0 7.1 "'Arirang' Listed as National Intangible Asset". The Chosun Ilbo (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ Sarah Sun Kim (Spring 2001). "Na Unkyu's Arirang: Establishing a National Cinema under Colonialism Review". The Korea Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ 아리랑고개 (돈암동) [Arirang Pass (Donam-dong)] (ภาษาเกาหลี). seoul.go.kr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
- ↑ "Chronological History 7th Infantry Division". 7th Infantry Division Association. 2012-05-25. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
เพลงอารีรังเวอร์ชันต่าง ๆ ของเกาหลีเหนือ บรรเลงโดยวงดนตรีไฟฟ้าโพช็อนโบ (보천보전자악단, 普天堡電子樂團), พร้อมเนื้อร้อง
- อารีรัง เก็บถาวร 2008-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ขับร้องโดยรี กย็องซุก)
- มีรยางอารีรัง เก็บถาวร 2008-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ขับร้องโดยช็อน ฮเยยอง และรี กย็องซุก)
- ชินโดอารีรัง เก็บถาวร 2008-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ขับร้องโดยรี บุนฮี [리분희, 李粉姬])
- ย็องช็อนอารีรัง เก็บถาวร 2008-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เวอร์ชันนี้นับจังหวะแตกต่างกับเวอร์ชันอื่น ๆ)