อาณาจักรแห่งกาลเวลา
อาณาจักรแห่งกาลเวลา (อังกฤษ: The Keys to the Kingdom) เป็นนวนิยายแฟนตาซีชุดหนึ่งของ การ์ธ นิกซ์ (Garth Nix) นักเขียนชาวออสเตรเลีย ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือปกอ่อน
อาณาจักรแห่งกาลเวลา | |
---|---|
ผู้ประพันธ์ | การ์ธ นิกซ์ |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | The Keys to the Kingdom |
ผู้แปล | แสงตะวัน |
ศิลปินปก | Larry Rostant Sandra Nobes / Hofstede Design หริรักษ์ มงคลพร |
ประเทศ | ออสเตรเลีย |
ภาษา | อังกฤษ |
ประเภท | นวนิยายแฟนตาซี วรรณกรรมเยาวชน |
สำนักพิมพ์ | Scholastic Press HarperCollins Children's Books Allen & Unwin สำนักพิมพ์แจ่มใส |
วันที่พิมพ์ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 2553 พ.ศ. 2548 |
ชนิดสื่อ | หนังสือปกอ่อน พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา |
เรื่องราวในเรื่องเกิดขึ้นในบ้านและอาณาจักรชั้นที่สอง ซึ่งรวมไปถึงโลกของเราด้วย โดยมีตัวเอกดำเนินเรื่อง 3 ตัว คือ อาเธอร์ เพนฮาลิกอน, ซูซี่ ฟ้าเทอร์คอยซ์ และลีฟ เรื่องราวภายในเรื่องมีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางศาสนาและเทวตำนานโบราณ รวมไปถึงเลข 7 อีกด้วย
ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์แจ่มใส แปลเป็นภาษาไทยโดย แสงตะวัน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์ อาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมเล่มเดียวของการ์ธ นิกซ์ ที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไทย
โครงเรื่อง
แก้จักรวาลของเราถูกสร้างขึ้นจากสุญญะ (Nothing) โดยมีมหาสถาปนิก (The Architect) เป็นผู้สร้าง นางได้สร้าง "บ้าน" (The House) เป็นที่อยู่ของนาง สร้าง "พลเมือง" (Denizens) ให้ทำงานภายในบ้าน และอาณาจักรชั้นที่สอง ซึ่งคือจักรวาลของเรา และเทหวัตถุต่างๆ ในนั้น เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ต่อมาได้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ นางจึงมอบหน้าที่ให้พลเมืองทำการจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของผู้รู้ตายทั้งหมดรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอาณาจักรชั้นที่สอง เวลาของบ้านเป็นเวลาที่แท้จริง เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเสมอ ส่วนเวลาของอาณาจักรชั้นที่สองจะบิดผันไป และอาจไหลย้อนกลับได้ด้วย
แต่แล้ว นางก็จากไปอย่างลึกลับ ทิ้งพินัยกรรมเอาไว้ให้กับคณะผู้ดูแลทั้งเจ็ดซึ่งตั้งชื่อตามวันต่าง ๆ คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ให้รับผิดชอบอาณาจักรทั้งเจ็ดภายในบ้าน และรอการมาของ "ทายาทผู้ทรงสิทธิ์" ที่จะมารับมอบกุญแจสู่อาณาจักรทั้งเจ็ดดอก และปกครองบ้านต่อจากนาง แต่ผู้ดูแลกลับทรยศและฉีกพินัยกรรมออกเป็นเจ็ดส่วน นำไปซุกซ่อนในที่ต่าง ๆ ทั้งในบ้านและจักรวาล ตั้งตนเป็นเจ้านายและยึดกุญแจไว้ใช้เป็นของตน ปล่อยให้พลเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับจักรวาลจนเกิดความวุ่นวาย
หนึ่งหมื่นปีต่อมาตามเวลาของบ้าน พินัยกรรมชื้นหนึ่งหลุดลอยจากการคุมขัง และหลอกล่อ "คุณวันจันทร์" หนึ่งในคณะผู้ดูแลให้มอบกุญแจครึ่งหนึ่งของเขาให้แก่เด็กชายอายุสิบสองปี "อาเธอร์ เพนฮาลิกอน" ทำให้เขารอดตายจากอาการหอบหืดกำเริบและกลายเป็นทายาทผู้ทรงสิทธิ์ของบ้าน ไม่นานนัก คุณวันจันทร์ก็เริ่มใช้แผนการทวงกุญแจคืนมา อันทำให้เกิดโรคไข้หลับระบาดไปทั่วเมือง อาเธอร์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากไปที่บ้านและเข้าต่อสู้กับคณะผู้ดูแลทั้งเจ็ดคนเพื่อชิงกุญแจและอ้างสิทธิ์ในการปกครองบ้าน เพื่อปกป้องโลกของเขาจากการแทรกแซงของคณะผู้ดูแลซึ่งอาจจะนำไปสู่จุดจบของจักรวาล เพื่อที่จะทำเช่นนั้น อาเธอร์จำเป็นต้องทำการปลดปล่อยพินัยกรรมแห่งมหาสถาปนิกจากการคุมขัง รวบรวมกุญแจสู่อาณาจักรทั้งเจ็ดดอก และคลี่คลายความลับของบ้าน
ตัวละครสำคัญ
แก้ความรู้เกี่ยวกับบ้าน
แก้บ้านและผู้ดูแล
แก้บ้าน คือจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นสิ่งแรกที่มหาสถาปนิกสร้าง เพื่อเป็นที่อยู่ของพลเมืองทั้งหลาย บ้านกับจักรวาลถูกกั้นด้วยกำแพงสุญญะ ถ้าต้องการเดินทางออกจากบ้านหรือเดินทางไปที่ต่าง ๆ ภายในบ้านก็มีหลายวิธีเช่นกัน เช่น ลิฟท์ ประตูหน้า ใช้จานเคลื่อนย้าย ทางประหลาด บันไดไม่ควรเป็น ฯลฯ บ้านแบ่งออกเป็น 7 อาณาจักร ซึ่งจะถูกแบ่งกันปกครอง ผู้ปกครองแต่ละดินแดนจะเรียกตัวเองว่า ผู้ดูแล ดังนี้
- บ้านเบื้องล่าง (The Lower House) ปกครองโดย คุณวันจันทร์ (Mister Monday)
- ผืนดินไกล (The Far Reaches) ปกครองโดย อังคารเคร่ง (Grim Tuesday)
- ทะเลกั้นอาณาเขต (The Border Sea) ปกครองโดย ท่านหญิงวันพุธ (Duchess Wednesday)
- วงกตยิ่งใหญ่ (The Great Maze) ปกครองโดย เซอร์พฤหัสบดี (Sir Thursday)
- บ้านเบื้องกลาง (The Middle House) ปกครองโดย ท่านหญิงวันศุกร์ (Lady Friday)
- บ้านเบื้องบน (The Upper House) ปกครองโดย วันเสาร์เลอเลิศ (Superior Saturday)
- สวนไร้ที่เปรียบ (The Incomparable Gardens) ปกครองโดย ลอร์ดวันอาทิตย์ (Lord Sunday)
กุญแจ
แก้กุญแจสู่อาณาจักรทั้งเจ็ดดอก คือ วัตถุเจ็ดชิ้นซึ่งให้อำนาจแก่คณะผู้ดูแลเหนือส่วนใดส่วนหนึ่งของบ้าน ซึ่งคณะผู้ดูแลทั้งเจ็ดได้แบ่งเอาไปถือคนละดอก แยกกันปกครองบ้าน และวันที่มีชื่อเหมือนกับตนในอาณาจักรชั้นที่สอง กุญแจจะถูกผูกมัดกับผู้ถือกุญแจที่แท้จริง และปกป้องผู้ที่ถือมันจากอันตราย ผู้ครอบครองกุญแจที่แท้จริงคือทายาท ผู้ดูแลทั้งหมดเป็นเพียงผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือผู้พิทักษ์เท่านั้น การใช้กุญแจมากเกินไปจะเปลี่ยนผู้รู้ตายให้เป็นพลเมืองอย่างแก้ไขไม่ได้ โดยเวทมนตร์ในร่างกายของผู้รู้ตายจะค่อยๆ หายไปเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งศตวรรษ ดังนั้นอาเธอร์จึงต้องใช้กุญแจให้น้อยครั้งเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเขายังปรารถนาจะเป็นผู้รู้ตายและกลับไปพบกับครอบครัวของเขาอีกครั้ง
กุญแจทั้งหมดยังมีอำนาจเต็มเปี่ยมในเขตแดนของบ้านและวันต่างๆ ในอาณาจักรชั้นที่สอง แต่กุญแจดอกอื่นๆ จะมีอำนาจเท่ากันถ้ามิได้อยู่ในเขตแดนของมันเอง ยกเว้นกุญแจของลอร์ดวันอาทิตย์ซึ่งมีความยิ่งใหญ่เหนือกุญแจทั้งหมด กุญแจสามารถทำได้หลายอย่างเมื่อผู้ถือกุญแจขอ ตัวอย่างเช่น เปิด ลงกลอน เคลื่อนย้าย แช่แข็ง อำนาจสูงสุดของกุญแจยังไม่มีผู้ใดรู้ กุญแจยังมีอำนาจในการสังหารผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้ตาย พลเมือง หรือนิทลิ่ง ยกเว้นผู้ชรา และอุปกรณ์ที่ใช้ลงทัณฑ์เขาซึ่งทนทานต่อกุญแจทั้งหมด
- กุญแจดอกแรก แบ่งออกเป็นสองส่วน ยึดแบบของเข็มนาทีและเข็มชั่วโมงของนาฬิกา เข็มชั่วโมงมีอำนาจมากกว่าเข็มนาที แต่เข็มนาทีนั้นรวดเร็วกว่าและใช้ได้บ่อยกว่า ในเรื่องนั้น เข็มนาทีสั้นกว่าเข็มชั่วโมง เมื่อนำทั้งสองมาประกอบกันจะได้กุญแจดอกแรกในรูปของดาบซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเข็มนาฬิกา โดยมีใบมีดมีลวดลายทำจากเงินและทอง มันมีอำนาจในการปกครองบ้านเบื้องล่าง และทุกวันจันทร์ในอาณาจักรชั้นที่สอง
- กุญแจดอกที่สอง อยู่ในลักษณะของถุงมือโลหะสีเงินดิ้นทอง เมื่ออยู่ในมือของอังคารเคร่ง เขาใช้มันในการสร้างวัตถุต่างๆ ขึ้นมาจากสุญญะ มันมีอำนาจในการปกครองผืนดินไกล และทุกวันอังคารในอาณาจักรชั้นที่สอง
- กุญแจดอกที่สาม อยู่ในลักษณะของตรีศูล เมื่อยามที่วันพุธจมตายใช้กุญแจในลักษณะของส้อม เธอใช้เพื่อจำกัดและเก็บกักรักษาขนาดตัวของเธอหลังจากที่เธอล้มเหลวในการช่วยเหลือพินัยกรรม และภายหลังก็ถูกทรยศโดยคณะผู้ดูแล มันมีอำนาจในการปกครองทะเลกั้นอาณาเขต และทุกวันพุธในอาณาจักรชั้นที่สอง
- กุญแจดอกที่สี่ อยู่ในลักษณะของคทาจอมพลสีขาว ห่อโดยใบลอเรลสีทอง เดิมอยู่ในรูปของดาบใบกว้าง (Broadsword) เมื่อเซอร์พฤหัสบดีครอบครองอยู่ เมื่อตกเป็นของอาเธอร์จึงเปลี่ยนมาเป็นคทา มันยังสามารถเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของกระบี่มีโกร่ง (Rapier) เมื่ออาเธอร์อยู่ในอันตรายและต้องการต่อสู้ มันมีอำนาจในการปกครองวงกตยิ่งใหญ่ และทุกวันพฤหัสบดีในอาณาจักรชั้นที่สอง
- กุญแจดอกที่ห้า อยู่ในลักษณะของกระจกสีเงินสว่าง มันสามารถพาผู้ครอบครองไปยังที่ต่างๆ หรือส่งใครก็ได้ผ่านพื้นผิวที่เป็นกระจกไปยังที่ที่เคยไปด้วยวิธีอื่นมาแล้ว ท่านหญิงวันศุกร์ใช้มันในการดูดเอาความทรงจำไปจากตัวผู้รู้ตายใส่ตัวเธอเอง ทำให้เธอมีความรู้สึกเป็นเหมือนผู้รู้ตายชั่วขณะ ในทางกลับกัน ความทรงจำและประสบการณ์สามารถถ่ายทอดคืนแก่ผู้รู้ตายได้ มันมีอำนาจในการปกครองบ้านเบื้องกลาง และทุกวันศุกร์ในอาณาจักรชั้นที่สอง
- กุญแจดอกที่หก อยู่ในลักษณะของปากกาขนนก เมื่อผู้ถือใช้มันเขียนถ้อยคำใดๆ บนความว่างเปล่า แถบถ้อยคำจำนวนมากจะพุ่งออกมา และปลดปล่อยเวทมนตร์ตามที่ผู้ใช้ประสงค์ ด้วยพลังของมัน ทำให้วันเสาร์เลอเลิศเป็นจอมเวทที่ทรงพลังที่สุดของบ้าน มันมีอำนาจในการปกครองบ้านเบื้องบน และทุกวันเสาร์ในอาณาจักรชั้นที่สอง
- กุญแจดอกที่เจ็ด อยู่ในลักษณะของกุญแจดอกเล็ก ถือโดยลอร์ดวันอาทิตย์ ไม่เหมือนกับกุญแจดอกอื่นๆ กุญแจดอกที่เจ็ดเป็นกุญแจที่มีอำนาจสูงสุด มีอำนาจเต็มในทุกส่วนภายในบ้านและในอาณาจักรชั้นที่สอง
ผู้รู้ตายและบันทึก
แก้ผู้รู้ตาย (mortal human) คือ สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเองในอาณาจักรชั้นที่สอง เกิดจากดาวเคราะห์บางดวงมีพัฒนาการไม่หยุด ผู้รู้ตายจะมีลักษณะอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของดาวที่มันอยู่ ไม่เหมือนพลเมือง ผู้รู้ตายสามารถตายได้ ผู้รู้ตายจึงมีความหมายชัดเจนว่า "ผู้ที่ไม่ได้เป็นอมตะ"
ผู้รู้ตายแต่ละคนจะมีบันทึกเป็นของตนเอง และไม่ได้มีแค่เล่มเดียว บันทึกเหล่านั้นถูกเก็บไว้ที่บ้านโดยมีพลเมืองเป็นผู้สังเกตการณ์ บันทึกมีหลายรูปแบบ เป็นจารึกหิน แผ่นหนัง กระดาษปาปิรัส กระดาษขาว ฯลฯ บันทึกแต่ละเล่มมีการเชื่อมโยงกับบันทึกเล่มอื่นๆ เมื่อเกิดสิ่งใดขึ้นกับตัวผู้รู้ตาย บันทึกก็จะบันทึกสิ่งนั้น ผู้มีอำนาจหรือเครื่องมือแห่งอำนาจสามารถเปลี่ยนบันทึกได้ในระดับหนึ่ง เมื่อผู้รู้ตายตายลงบันทึกจะย่อยสลายตัวเองและกลับสู่สุญญะ นอกจากผู้รู้ตายแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านและอาณาจักรชั้นที่สองก็มีบันทึกเป็นของตัวเองเช่นกัน
สุญญะ
แก้สุญญะเป็นสารตั้งตนของจักรวาล เป็นที่มาของทุกสสาร มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Nothing เพราะก่อนเกิดจักรวาลไม่มีอะไรนอกจากสุญญะ ผู้เขียนจึงต้องชื่อสารตั้งต้นว่า "สุญญะ" อันแปลว่า "ความว่างเปล่า" มีสภาพเป็นกึ่งแก๊สกึ่งของเหลว มีสีดำสนิทหรือดำแวววาว เนื่องจากเป็นสารตั้งต้นของจักรวาลจึงสามารถเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของผู้ใช้ แต่ผู้ใช้นั้นจะต้องมีพลัง มิฉะนั้นจะถูกสุญญะกัดกินได้ สุญญะเป็นสิ่งอันตรายที่ทุกคนต้องห้ามแตะต้อง ดังนั้นพลเมืองจึงมีความพิถีพิถันในการใช้สุญญะมาก ไม่เหมือนผู้รู้ตายซึ่งหลงเข้ามาในบ้านจะไม่รู้จักความประหยัดใช้สุญญะอย่างฟุ่มเฟือย บ้านกับจักรวาลถูกกั้นเอาไว้ด้วยกำแพงสุญญะ หากมันถูกทำลาย บ้านและจักรวาลก็จะถูกทำลาย
สุญญะที่อยู่ในกำแพงสุญญะมักจะมีช่องว่างมากมาย ช่องว่างนั้นเรียกว่า "ช่องว่างของสุญญะ" ซึ่งมักจะพบอยู่ตามที่ที่มีสุญญะบริสุทธิ์ มีความดำแวววาวมันอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้ โดยการเปิดมันด้วยเวทมนตร์ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกำแพงที่กั้นระหว่างบ้านกับอาณาจักรชั้นที่สอง หากบังเอิญเข้าไปอยู่ในช่องว่างของสุญญะจะถูกทำลายโดยทันที ดังนั้นจึงไม่ควรเข้าไปอยู่ในช่องว่างของสุญญะเด็ดขาด
สุญญะยังสามารถก่อให้เกิดนิทลิ่งได้เมื่อพวกมันเข้ามารวมตัวกันเป็นก้อน นิทลิ่งเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมหาสถาปนิกมิได้เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา แต่สร้างมาจากสุญญะที่ไม่สามารถควบคุมได้ พวกมันจึงมีอิสระในตัวเองเหมือนกับมหาสถาปนิกและผู้ชรา แต่มีอำนาจน้อยกว่ามาก
สุญญะยังปรากฏอยู่ในเรื่อง จินตนาการไม่รู้จบ (The Neverending Story)
นิทลิ่ง
แก้นิทลิ่ง (Nithlings) คือ ชื่อที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตภายนอกตัวบ้านที่เกิดจากสุญญะที่รวมตัวกันโดยเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง หรือด้วยเวทมนตร์ก็ได้ ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองหรือผู้รู้ตาย หากโดนนิทลิ่งทำร้าย ก็จะถูกสุญญะทำลายจนสิ้นซาก นิทลิ่งส่วนใหญ่สามารถทำลายได้โดยใช้เวทมนตร์หรือวัตถุบางอย่าง เช่น เงิน (Silver) หรือเกลือสำหรับนิทลิ่งชั้นต่ำ เป็นต้น
รายชื่อของนิทลิ่งและสิ่งมีชีวิตที่ถือกำเนิดจากสุญญะ
แก้- เฟทเชอร์ (Fetcher) (จันทร์มหันตภัย,ศุกร์รัตติกาล) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากสุญญะ มีร่างเป็นมนุษย์แต่มีศีรษะเหมือนสุนัขพันธุ์บลัดฮาวน์ มีกลิ่นปากที่น่าสะอิดสะเอียน และพูดไม่ค่อยได้ ส่วนมากถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานเล็กๆ น้อย เมื่อทำงานเสร็จก็จะกลับสู่สุญญะ บางกรณีเฟทเชอร์อาจได้เข้าทำงานในบ้าน แต่เมื่อทำงานเสร็จสิ้นก็จะกลับสู่สุญญะเช่นกัน เฟทเชอร์สามารถนำโรคประหลาดเข้ามาสู่อาณาจักรชั้นที่สองได้ อย่างเช่นไข้หลับที่ปรากฏในตอนจันทร์มหันตภัย ก็เป็นโรคที่เฟทเชอร์นำมาทั้งสิ้น เฟทเชอร์ไม่ควรได้รับปีกหรืออาวุธ และสามารถกำจัดได้โดยใช้เกลือและเวทมนตร์ย่อยอื่น ๆ ในตอนศุกร์รัตติกาล วันเสาร์เลอเลิศส่งพวกมันมาเพื่อตามหาชิ้นส่วนของจดหมายสำคัญที่ถูกหนูเติบโตขโมยไป
- สเกาเชอร์ (Scoucher) (อังคารอหังการ) เป็นนิทลิ่งชนิดหนึ่งที่ร้ายกาจและอันตรายกว่านิทลิ่งชนิดอื่นๆ พวกมันออกมาจากรอยแยกที่ทั้งเล็กและคับแคบ จึงมีลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ แต่เมื่อได้ดูดเลือด หรือสูบเอาพลังจากสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรชั้นที่สองแล้ว ร่างกายของมันก็จะใหญ่โตและแข็งแรงขึ้น ตัวมันแบนราบเหมือนแผ่นกระดาษ และมีรยางค์มากมายยื่นออกมาจากลำตัวซึ่งมองดูเหมือนหนวดเส้นบาง ๆ หนวดแต่ละเส้นเต็มไปด้วยฟันซี่เล็ก ๆ แต่คมกริบ มันใช้หนวดเหล่านี้ฟาดและกรีดเหยื่อจนหมดสติ จากนั้นมันก็จะสูบกินเลือดที่ไหลออกมา สเกาเชอร์สามารถถูกทำลายได้โดยแร่เงิน รูทีเนียม พัลเลเดียม ออสเมียม อิริเดียม และแพลทินัม
- เสพอักษร (Bibliophages) (จันทร์มหันตภัย) เป็นนิทลิ่งรูปร่างคล้ายงู ลำตัวมีสีเทา มีลายเป็นเปลวเพลิงสีแดงจากหัวจนถึงหาง มีดวงตาสีฟ้าเรืองรอง เสพอักษรจะพ่นพิษใส่ตัวอักษรทุกชนิดทุกรูปแบบที่มันได้รับรส เหยื่อที่มีตัวพิมพ์อยู่บนตัวจะถูกพิษจากสุญญะและถูกทำลาย ในตอนจันทร์มหันตภัย คุณวันจันทร์ได้ใช้เสพอักษรยับยั้งไม่ให้พินัยกรรมผ่านเข้าไปในห้องกลางวันของวันจันทร์
- ภูตตะวัน (Sunsprites) เป็นภูตชนิดหนึ่งที่เกิดจากนิทลิ่งที่ออกนอกบ้านเป็นเวลานาน แล้วได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ในที่นี้คือพลาสมาของดวงอาทิตย์ จึงกลายเป็นภูตตะวัน ในหนังสือไม่ได้บอกว่ามันมีรูปร่างอย่างไร แต่ตัวพวกมันน่าจะตัวเล็กและมีไฟลุกทั้งร่าง ทำให้เกิดสายไอน้ำระเบิดได้ หากถูกพวกมันกอดหรือจุมพิต ก็อาจได้รับอันตรายได้ถึงแม้จะใส่เครื่องป้องกันอย่างหมวกดาราและเสื้อคลุมเจิดจ้าก็ทนพลังของพวกมันไม่ได้นาน
- กอร์-ดราเก้น (Gro-Draken) (พุธเพชฌฆาต) เป็นนิทลิงที่เกิดจากสุญญะสัมผัสกับข้าวของที่จมอยู่ใต้ทะเลกั้นอาณาเขตกลายเป็นสัตว์ประหลาด ฟีเวอร์ฟิวฆ่ามันและเอากระดูกมันมาทำเป็นเรือ และเอาไส้พุงของมันมาให้อังคารเคร่งสร้างภาพต่อทำนายตามคำสั่งของวันข้างหน้า ภาพต่อทำนายของฟีเวอร์ฟิวจึงมีพลังอำนาจมาก เพราะสร้างจากสิ่งมีชีวิตที่ทรงพลังมากๆ ไม่เหมือนภาพต่อทำนายของนักเวทคนอื่นที่สร้างจากไส้พุงของสัตว์ธรรมดา
- โคคิกรู (Cocigrue) หรือ ตัวกินวิญญาณ (Spirit Eater) (อังคารอหังการ,พฤหัสเจ้าศาสตรา) เป็นคำที่ใช้เรียกนิทลิ่งที่มีลักษณะคล้ายพลเมืองหรือผู้รู้ตาย จุดประสงค์ของมันคือเข้าแทนที่ตัวต้นแบบที่มันลอกเลียนมา โดยมักมีจุดหมายเพื่อสืบความลับ หรือหลอกลวงหักหลัง ตัวกินวิญญาณจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตัวต้นแบบ แต่สามารถใช้ราควบคุมจิตใจ กับคนอื่นเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย ตัวกินวิญญาณที่ลอกแบบมาจากอาเธอร์มีชื่อเรียกว่าเด็กชายไร้หนัง เป็นเพราะรูปร่างของมันไม่ได้มีหนังมากมาย แต่มีกระดูกโผล่มาครึ่งหนึ่ง ในการกำจัดตัวกินวิญญาณจะต้องนำวัตถุต้นแบบที่มันนำมาลอกเลียนโยนเข้าไปในสุญญะ วันเสาร์เลอเลิศส่งมันมาแทนอาเธอร์เพื่อคุกคามครอบครัวของเขา แต่อาเธอร์ก็ทำลายมันได้สำเร็จ (คำว่า Cocigrue น่าจะมาจาก Cocqcigrue หรือ Coquecigrue เป็นชื่อของสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง)
- นิทลิ่งใหม่ (New Nithlings) หรือนิทใหม่ (พฤหัสเจ้าศาสตรา,ศุกร์รัตติกาล) เป็นนิทลิ่งที่มีลักษณะคล้ายพลเมือง แต่มีหน้าตาแบบนิทลิ่ง มีพฤติกรรมคล้ายผู้รู้ตาย มีระเบียบและปรับตัวง่ายเหมือนผู้รู้ตาย ในพฤหัสเจ้าศาสตรา คนเป่าปี่เป็นผู้สร้างพวกมันขึ้นมาหลายศตวรรษก่อน ขณะที่เขาอยู่ในกำแพงสุญญะ เพื่อทำการยึดครองบ้าน ซึ่งตรงข้ามกับแผนการของอาเธอร์และพินัยกรรม
- อสินธพ (Not-Horse) (พฤหัสเจ้าศาสตรา) เป็นสิ่งมีชีวิตจากสุญญะ มีรูปร่างคล้ายม้า แต่แข็งแรงกว่าเป็นร้อยเท้า ขนถูกแทนด้วยผิวโลหะสีดำยืดหยุ่นได้ แต่เบื้องหลังหนังโลหะมีเนื้อหนังที่มีชีวิตอยู่ กีบเท้ามีนิ้วสามนิ้ว แต่บางครั้งก็มีพวกสี่นิ้วเพิ่มมาด้วย มีความแข็งแกร่งราวกับเหล็ก ไวราวกับปรอท ตาวาวเหมือนเงิน เบาเหมือนสร้างจากอะลูมิเนียม อสินธพเหมือนพลเมืองตรงที่แข็งแกร่งและรักษาตัวได้เร็ว ฉลาดและต้องได้รับการดูแลอย่างดี เป็นม้าที่สร้างโดยอังคารเคร่งเพื่อใช้ในการทหาร สำหรับขี่แทนม้าธรรมดา สามารถวิ่งควบได้เร็วมาก การใช้ม้านอกวงกตจะใช้ในการขนส่งบันทึก กึ่งผลิตกึ่งผสมพันธุ์อยู่ที่ผืนดินไกล
- ผู้กวาดราตรี (Nightsweeper) (จันทร์มหันตภัย) เป็นนิทลิ่งขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายกับม้า ซึ่งมีความมุ่งหมายอันเดียวคือแจกจ่ายผงราตรี ซึ่งสามารถขจัดสิ่งที่เป็นเชื้อโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากบ้านเข้ามาสู่อาณาจักรชั้นที่สอง ซึ่งมันจะเปลี่ยนเป็นสุญญะพร้อมกับทำลายตัวมันเอง
- แกรนนาว-ฮอนช์ (Grannow-Hoinch) (ศุกร์รัตติกาล) เป็นนิทลิ่งชนิดใหม่ที่ถูกสร้างอย่างหลวมๆ มีลักษณะผสมระหว่างยูนิคอร์นกับหมูป่า สวมเกราะหรือโครงที่ทำด้วยเงินคล้ายกับประติมากรรมโครงเหล็ก ไม่มีตาและปาก มีเขายาวหกฟุต เสียงร้องของพวกมันนั้นดังและดุร้าย พวกมันถูกส่งมายังบ้านเบื้องกลางผ่านทางลิฟท์ซึ่งจาเคมบอกว่าได้ยินเสียงร้องของมัน
นอกจากนี้ยังมีนิทลิ่งอีกจำนวนมากภายในบ้าน แต่ไม่ได้รับการตั้งชื่อ
การพาดพิงถึงศาสนา วัฒนธรรมและการประพันธ์
แก้ศาสนา
แก้คณะผู้ดูแล มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการตามชื่อวันต่าง ๆ คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ปกติแล้วจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลบ้านแทนมหาสถาปนิกและรอการมาของทายาทผู้ทรงสิทธิ์ แต่พวกเขากลับยึดกุญแจมาเป็นของตนและตั้งตนปกครองบ้านอย่างไม่ยุติธรรม โดยมีวันอาทิตย์เป็นหัวหน้าใหญ่ วันเสาร์รองลงมา และวันอื่น ๆ ลงมาตามลำดับ ผู้ดูแลทั้งเจ็ดจนถูกครอบงำด้วยบาปเจ็ดประการ ดังนี้
- คุณวันจันทร์ ได้รับบาปเกียจคร้าน (Sloth)
- อังคารเคร่ง ได้รับบาปโลภะ (Greed)
- ท่านหญิงวันพุธ ได้รับบาปตะกละ (Gluttony)
- เซอร์พฤหัสบดี ได้รับบาปโทสะ (Wrath)
- ท่านหญิงวันศุกร์ ได้รับบาปราคะ (Lust)
- วันเสาร์เลอเลิศ ได้รับบาปริษยา (Envy)
- ลอร์ดวันอาทิตย์ ได้รับบาปอัตตา (Pride) [1]
ตรงกันข้าม พินัยกรรมของมหาสถาปนิกเป็นสิ่งที่ยึดมั่นในคุณธรรม พินัยกรรมแต่ละส่วนจะถือ "คุณธรรมหลัก" ประกอบด้วย ความรอบคอบ ความพอประมาณ ความอดทน และ ความยุติธรรม รวมไปถึง "คุณธรรมทางเทววิทยา" ประกอบด้วย ความศรัทธา ความหวังและ ความกรุณา แต่ละส่วนของพินัยกรรมดูจะเป็นวิธีในการกำจัดบาปทั้งเจ็ดประการ ต่างจากรูปร่างที่มันแสดงโดยนัย เพราะว่า หมีน่าจะเต็มไปด้วยความมุทะลุ ปลาคาร์พน่าจะเต็มไปด้วยความหยิ่งยโส กบน่าจะเต็มไปด้วยความโมโห นี่อาจจะเป็นผลข้างเคียงน้อยๆ ที่ปลีกออกไปจากนิสัยทั้งหมดของมัน เช่น ความยุติธรรมนอกเหนือจากความกรุณาจะเป็นเหมือนกับงูที่เกรี้ยวกราด ดังที่ส่วนที่ห้าของพินัยกรรมกล่าวว่า พินัยกรรมส่วนอื่นๆ จะไม่มั่นคงเมื่อขาดอิทธิพลแห่งความพอประมาณของมัน และความดีทั้งหมดของพวกมันยังตรงกันข้ามกับบาปของคณะผู้ดูแลทั้งเจ็ด ความตะกละตรงข้ามกับความพอประมาณ และความกรุณาก็ตรงกันข้ามกับความโลภ
- ส่วนแรก อาศัยอยู่ในหุ่นกบหยก เป็นตัวแทนของ ความอดทน (Fortitude)
- ส่วนที่สอง แปลงกายเป็นหมีตะวัน เป็นตัวแทนของ ความรอบคอบ (Prudence)
- ส่วนที่สาม แปลงกายเป็นปลาคาร์พ เป็นตัวแทนของ ความศรัทธา (Faith)
- ส่วนที่สี่ แปลงกายเป็นงูตัวใหญ่ เป็นตัวแทนของ ความยุติธรรม (Justice)
- ส่วนที่ห้า แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย มังกรกึ่งค้างคาว หรือเรียกว่า ไวเวิร์น เป็นตัวแทนของ ความพอเหมาะ หรือความพอประมาณ (Temperance, Moderation)
- ส่วนที่หก แปลงกายเป็นอีกา เป็นตัวแทนของ ความกรุณา (Charity)
- ส่วนที่เจ็ด อยู่ในรูปของต้นแอปเปิ้ลต้นเล็ก เป็นตัวแทนของ ความหวัง (Hope)
การพาดพิงถึงบุคคลสำคัญในคริสต์ศาสนา ร้อยโทผู้รักษาประตูหน้าของบ้าน เปรียบเสมือนเซนต์ปีเตอร์ ผู้เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ซึ่งต่อมาได้เป็นนักบุญผู้ทำหน้าที่เฝ้าประตูสวรรค์และพาคนดีเข้าสู่ดินแดนแห่งพระเจ้า มงกุฎหนามที่ผู้ดูแลห้องน้ำสวมให้อาเธอร์[2] อาจพาดพิงถึงการไถ่บาปของพระเยซู ที่พระองค์ต้องถูกสวมมงกุฎหนาม ก่อนถูกตรึงไม้กางเขน[3]
การพาดพึงถึงศาสนาอื่นๆ อีกรวมไปถึงผู้ชรา ผู้ถืออำนาจอันยิ่งใหญ่แต่กลับถูกล่ามโซ่และลงโทษโดยมหาสถาปนิก คล้ายกับ โพรมิธยูซ หรืออาจจะเป็นตัวแทนของ อูรานอส หรือยูเรนัส เทพแห่งท้องฟ้าซึ่งถูกไกอา พระแม่ธรณีหักหลัง เพราะจับขังลูกๆ ที่ตนกลัวว่าจะมายึดอำนาจครองโอลิมปัสของตน[4] มิฉะนั้นก็เห็นจะเป็น ลูซิเฟอร์ ผู้ไร้ความกรุณา อีกสิ่งหนึ่งที่ำพาดพิงถึงเทพนิยายกรีก ก็คือเลือดของพลเมืองชั้นสูงบางคน มีสีทองเหมือนเทพเจ้าแห่งเขาโอลิมปัส
การพาดพึงถึงศาสนาในด้านอื่นๆ คือ ความเฉื่อยชาของคุณวันจันทร์ถูกกัดกินโดยเสพอักษร นิทลิ่งซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับงูขณะที่ต่อสู้กับอาเธอร์ นี่เป็นการลงโทษในนรกสำหรับความเฉื่อยชาซึ่งก็คือการถูกกัดกินโดยงู อังคารเคร่งตายเนื่องจากตกลงไปสู่หลุมแห่งสุญญะ ซึ่งเป็นการลงโทษสำหรับผู้ที่เต็มไปด้วยความโลภ คือ การโยนลงไปในน้ำมันเดือด สุดท้าย วันพุธจมตายฝืนใจกินทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในเส้นทางของเธอและตายเพราะสุญญะได้กัดกินร่างของเธอไป อันเป็นการลงโทษสำหรับความตะกละ ก็คือ การถูกกัดกินโดยหนู คางคกและงู
ในพุธเพชฌฆาต มีการพาดพิงถึงตำนานน้ำท่วมโลก การที่ทะเลกั้นอาณาเขตถูกน้ำท่วมในหลายแห่ง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนน่ากลัว อันเนื่องมาจากบาปตะกละของท่านหญิงวันพุธ ซึ่งเป็นหนึ่งในบาปที่ทำให้พระเจ้าทรงบันดาลให้เกิดน้ำท่วมโลก สำนักงานต่างๆ ต้องหนีน้ำด้วยการแปลงเป็นเรือ เหมือนกับเมื่อน้ำจะท่วมโลก โนอาห์ก็ได้สร้างเรือขึ้นมาเพื่อบรรทุกสรรพสัตว์ และในตอนท้ายของเล่ม อาเธอร์ได้นำลูกเรือแมนทิส มอธ และอื่นๆ รวมทั้งสาวกของคาร์พด้วยมาอยู่ในเรือมอธจนหมดเพื่อเดินทางผ่านกระจกในตู้ออกจากเรือไป เหมือนกับโนอาห์ที่นำสรรพสัตว์มาไว้บนเรืออย่างละคู่เพื่อที่จะให้ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป[5][6][7]
ในเสาร์มนตรา การสร้างหอคอยของวันเสาร์เลอเลิศ ยังพาดพิงถึงการสร้างหอคอยบาเบล ที่ตอนแรกถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความภาคภูมิใจของมนุษย์ แต่ต่อมาได้กลายเป็นการท้าทายพระเจ้า ซึ่งในที่นี้หมายถึงลอร์ดวันอาทิตย์ เพราะเขาอยู่สูงสุดของบ้าน เหมือนพระเจ้าผู้อยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง
การพาดพิงถึงตำนานนอร์ส การ์ธ นิกซ์ได้นำเอาความเชื่อบางประการมาใช้ เช่นนกกาเหว่า เป็นผู้ส่งสาส์นให้กับเทพโวเดน หรือโอดิน (Odin) ซึ่งมีความเฉลียวฉลาด เหมือนกับพินัยกรรมส่วนที่หก และต้นดราซิล (Drasil) ซึ่งคอยยกระดับสวนไร้ที่เปรียบให้สูงขึ้น คล้ายกับต้นอิกดราซิล (Yggdrasil) หรือ "ต้นไม้โลก" ซึ่งทำหน้าที่ค้ำจุนจักรวาล และเป็นสิ่งที่พ่อแม่ของลีฟเชื่อว่า "เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งบรรดาสัตว์น้อยใหญ่ต่างอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์"
งานประพันธ์
แก้อาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมที่พาดพึงถึงนิทานและนิยายหลายเรื่อง หัวหน้าผู้รับใช้ของคุณวันจันทร์ สนีซเชอร์ เทียบเคียงกับเนสเตอร์จาก "การผจญภัยของตินติน" คนเป่าปี่ก็เป็นการนำมาสร้างใหม่ของ "คนเป่าปี่ผู้ลายพร้อยแห่งเฮมลิน" ผู้ที่ใช้เสียงดนตรีของตนในการนำเอาประชากรหนูออกไปจากเมือง และภายหลังก็นำเด็กๆ ออกไป เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กเหล่านั้นปฏิเสธที่จะจ่ายค่าตอบแทนในการกำจัดหนูซึ่งสัญญากันไว้ ลูกทะเลก็มีส่วนคล้ายกับ ลูกทะเล ของซามูเอล เทย์เลอร์ คอเลอร์ริดจ์ ลูกทะเลทั้งสองคนต่างก็ยิงนก และมีข้อความจากบทกวี แฮมเลต ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ปรากฏอยู่ใน ศุกร์รัตติกาล
"ผู้เฉื่อยคร้านมากเล่ห์" (Artful Loungers) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับใช้ของวันเสาร์เลอเลิศ อาจพาดพึงถึง "Artful Dodger" ชื่อของถนนโจรในนวนิยายของชาร์ล ดิคค์เคน โอลิเวอร์ ทวิสต์ (Oliver Twist) และลักษณะการแต่งกายของพลเมืองในบ้านเบื้องล่าง และชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กของคนเป่าปี่ ก็สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมที่ดิคค์เคนใช้ชีวิตอยู่ ในเรื่องพุธเพชฌฆาต อาเธอร์แนะนำว่าทางผ่านจะเปิด "ผ่านทางตู้เสื้อผ้า" ซึ่งคล้ายกันมากกับตู้เสื้อผ้าในเรื่อง ตู้พิศวง ซึ่งเป็นทางผ่านไปสู่นาร์เนีย ในเล่มเดียวกัน การ "แลกกันฟัน" อาจพาดพิงถึงการประลองใน "เซอร์กาเวนกับอัศวินสีเขียว (Sir Gawain and the Green Knight)" หนึ่งในบทกวีที่สอดคล้องกับตำนานของกษัตริย์อาเธอร์
วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
แก้การใช้คำว่า มหาสถาปนิก เป็นชื่อของผู้สร้างจักรวาลนั้น พาดพิงถึงความเชื่อของสมาคมฟรีเมสัน หรือการกระโดดของตรรกวิทยา ซึ่งสมาชิกของฟรีเมสันใช้คำว่า "มหาสถาปนิก" เพื่อแสดงความเป็นอยู่สูงสุดของมนุษย์ ด้วยเหตุที่ว่าในประวัติศาสตร์ของโลกว่าศูนย์กลางของจักรวาลคือบ้าน และผู้ที่สร้างมันขึ้นมาก็ต้องมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นสถาปนิก
การพาดพึงถึงวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้ชื่อของ หน้าปัดทั้งเจ็ด (Seven Dials) เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายระหว่างบ้านเบื้องล่างกับอาณาจักรชั้นที่สอง โดยมันเป็นชื่อของทางเชื่อมถนนขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน
การกระทำของท่านหญิงวันศุกร์ในการเพ่ง "ประสบการณ์" ของมนุษย์เทียบได้กับผู้ที่ติดยาเสพติด เธอสังเกตอารมณ์ต่างๆ อย่างเศร้าๆ "เลือนหายไปอย่างรวดเร็ว" จากนั้นก็ปรารถนามากขึ้น ก่อนจะสังเกตว่าเธอมักจะ "หมด" และจากนั้นก็จากไปแล้วไปหา "เรื่องกวนใจเรื่องอื่น" ต่อไป
การพาดพิงถึงตำแหน่งบุคคล ชื่อคุณหญิงพรีมัส (Dame Primus) หากถอดเป็นภาษาอังกฤษแล้วจะได้เป็น "Lady First" หรือตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง อันเป็นตำแหน่งของภริยาประธานาธิบดีของประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ด้วยการที่เธอเป็นผู้ดูแลและจัดการเขตแดนที่ถูกอ้างสิทธิ์แทนอาเธอร์ ก็ไม่ต่างอะไรกับตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ผู้ดูแลทำเนียบประธานาธิบดี
ชื่อเต็มของอาเธอร์ "อาเธอร์ เพนฮาลิกอน" พาดพิงถึง อาเธอร์ เพนดราก้อน ผู้ที่รู้จักกันในนามของ กษัตริย์อาเธอร์ โดยมีด็อกเตอร์สคาแมนดรอส เป็นตัวแทนของพ่อมดเมอร์ลิน อีกสิ่งหนึ่งที่พาดพิงถึงตำนานกษัตริย์อาเธอร์ ก็คือโต๊ะประชุมในห้องประชุมวันจันทร์ คล้ายกับโต๊ะกลมที่ใช้เป็นโต๊ะประชุมของเหล่าอัศวินโต๊ะกลม
ผู้เขียน
แก้จากบทสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2547[8] การ์ธ นิกซ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแรงจูงใจที่ทำให้เขาสามารถสร้างสรรค์วรรณกรรมชุดอาณาจักรแห่งกาลเวลาเอาไว้ดังนี้:
- เขาได้วางโครงเรื่องคร่าว ๆ ไว้ในสมุดบันทึกของเขา เขาได้คิดชื่อของผู้ดูแลทั้งเจ็ดตามวันแต่ละวันในสัปดาห์ โดยภายหลังจากนั้นอีกเป็นเวลาหนึ่งปี เขาก็เริ่มที่จะเขียนเกี่ยวกับตัวละครเหล่านี้มากขึ้น และเริ่มวางโครงเรื่องให้กับวรรณกรรมชุดนี้ ซึ่งเขาได้บอกว่า "สรุปแล้ว ผมคิดว่าผมเขียนขึ้นมาเนื่องจากว่าความคิดมันติดอยู่ในหัวของผม"[8]
- การ์ธ นิกซ์เคยเป็นโรคหอบหืดอยู่ช่วงหนึ่ง เขาได้นำเหตุการณ์ในชีวิตนั้นมาแต่งให้อาเธอร์เป็นเด็กชายที่เป็นโรคหอบหืดเช่นกัน ช่วงหนึ่งเขาวิ่งทางไกลและเกิดอาการหืดกำเริบเหมือนอาเธอร์ และยังมีคนตะโกนถามเขาว่าเขาเป็นอะไรอีกด้วย [8]
- เกี่ยวกับคนเป่าปี่ ในตอนแรกเขาจะให้มีบทบาทเหมือนกับพี่ชายของเขา ลูกทะเล แต่ในภายหลังได้กำหนดให้มีบทบาทไปอีกแบบเพื่อให้เรื่องราวเกิดความซับซ้อน ทำให้หนังสือน่าติดตามมากขึ้น[9]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทวิจารณ์
แก้คนส่วนใหญ่มองว่าอาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมเยาวชนประเภทอิงคริสต์ศาสนาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสังเกตได้จากบาปทั้งเจ็ดประการและคุณธรรมทั้งเจ็ดประการ[10] และยังได้เสียงสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
"...จันทร์มหันตภัยได้เจริญตามรอยของนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ อย่างเช่น ไมเคิล มัวร์ค็อกและฟิลิป พูลแมน แต่ว่าไกลจากการเขียนแบบโทลคีน..."[11] และ "...เป็นหนังสือประเภทที่วาง-ไม่-ลง"[11] และยังมีชื่ออยู่ในรายชื่อหนังสือสำหรับเด็กดีเด่นในงานสัปดาห์คณิตศาสตร์และหนังสือแห่งออสเตรเลียแห่งปี 2007 อีกด้วย[12]
รางวัลที่ได้รับ
แก้ปี ค.ศ. | รางวัล/สาขา | หนังสือ | ผล |
---|---|---|---|
ค.ศ. 2003 | Aurealis Award หมวดหมู่วรรณกรรมเรื่องยาวสำหรับเด็ก | จันทร์มหันตภัย | ได้รับรางวัล[13] |
ค.ศ. 2004 | CBCA หนังสือแห่งปี 2004: Older Readers | จันทร์มหันตภัย | เสนอชื่อเข้าชิง[14] |
ค.ศ. 2004 | Honour Book ในสภาหนังสือสำหรับเด็กแห่งออสเตรเลีย และได้รับรางวัลหนังสือแห่งปี 2004 | จันทร์มหันตภัย | ได้รับรางวัล[15] |
ค.ศ. 2005 | Aurealis Award หมวดหมู่วรรณกรรมเรื่องยาวสำหรับเด็ก | พุธเพชฌฆาต | ได้รับรางวัล[13] |
ค.ศ. 2007 | หนังสือสำหรับเด็กโตดีเด่นจาก Locus Poll ประจำปี 2007 และได้รับรางวัล Locus Awards | พฤหัสเจ้าศาสตรา | ได้รับรางวัล[16] |
รายชื่อหนังสือในชุด
แก้
ภาษาอังกฤษแก้
|
ภาษาไทยแก้
|
อ้างอิง
แก้- ↑ http://q.dream-teller.net/?p=27[ลิงก์เสีย]
- ↑ พฤหัสเจ้าศาสตรา หน้า 112
- ↑ ไทยไบเบิ้ล[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-24.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 บทสัมภาษณ์ การ์ธ นิกซ์ เก็บถาวร 2008-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ 11.0 11.1 http://media01.couriermail.com.au/extras/reviewers/revs2004.htm
- ↑ http://www.literacyandnumeracy.gov.au/documents/great_aussie_reads_pdf.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ 13.0 13.1 http://www.aurealisawards.com.au/Winners.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ http://www.cbca.org.au/2009.htm เก็บถาวร 2012-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Books of the Year 2000 - 2009
- ↑ Locus Poll Awards News
- ↑ วันที่จัดจำหน่ายวันแรกแตกต่างกันไปดังนี้; ออสเตรเลีย: เดือนมิถุนายน 2008, สหราชอาณาจักร: 1 กรกฎาคม 2008, สหรัฐอเมริกา: วันที่ 1 สิงหาคม 2008
- ↑ Superior Saturday ที่ Amazon.co.uk
- ↑ "Superior Saturday ที่ Allen Unwin Publishers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26.
- ↑ Superior Saturday ที่ Amazon.com
- ↑ [1]
- ↑ http://www.jamsai.com/store/product.aspx?productID=265 เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อาณาจักรแห่งกาลเวลาของสำนักพิมพ์ Allen and Unwin เก็บถาวร 2011-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- เว็บไซต์อาณาจักรแห่งกาลเวลาของสำนักพิมพ์ Scholastic Press (อังกฤษ)
- เว็บไซต์อาณาจักรแห่งกาลเวลาของสำนักพิมพ์ HarperCollins (อังกฤษ)
- เว็บไซต์ส่วนตัวของผู้เขียน เก็บถาวร 2008-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- หน้าแนะนำหนังสือในเว็บส่วนตัวของผู้เขียน (อังกฤษ)