อาการแสบร้อนกลางอก

(เปลี่ยนทางจาก อาการแสบกลางอก)

อาการแสบร้อนกลางอก[1] (อังกฤษ: heartburn, cardialgia) เป็นความรู้สึกแสบร้อนตรงกลางหน้าอกหรือตรงยอดอก (epigastrium)[2][3][4] ซึ่งอาจกระจายไปที่คอ ปกติจะเกิดจากการไหลย้อนของกรดกระเพาะอาหารกลับเข้าไปในหลอดอาหาร และเป็นอาการหลักของโรคกรดไหลย้อน[5] แต่ในคนไข้ 0.6% นี่จะเป็นอาการของโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[6]

อาการแสบร้อนกลางอก
(heartburn)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R12.r
ICD-9787.1
MedlinePlus003114
MeSHD006356

นิยาม แก้

คำภาษาอังกฤษว่า indigestion (อาหารย่อยไม่ดี) จะหมายถึงอาการนี้บวกกับอาการอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง[7] และบางครั้งก็นิยามว่าเป็นการปวดกลางท้องด้านบนบวกกับอาการนี้[8] แต่คำภาษาอังกฤษว่า heartburn ก็ใช้แลกเปลี่ยนกับคำว่าโรคกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน โดยไม่ได้หมายแค่เป็นอาการหนึ่งของโรค[9]

การวินิจฉัยแยกโรค แก้

อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและอาการทางหลอดอาหารต่าง ๆ อาจคล้ายกันมาก เพราะหัวใจและหลอดอาหารมีเส้นประสาทกลุ่มเดียวกัน[6]

การมองข้ามเรื่องหัวใจวายเป็นเรื่องอันตราย ดังนั้น แพทย์จึงพิจารณาปัญหาโรคหัวใจก่อนอื่นสำหรับผู้ที่เจ็บที่หน้าอกโดยยังไม่รู้สาเหตุ คนไข้ที่เจ็บหน้าอกเนื่องกับโรคกรดไหลย้อนแยกจากผู้เจ็บหน้าอกเนื่องจากโรคหัวใจได้ยาก และภาวะแต่ละอย่าง ก็ยังเลียนอาการของอีกสภาวะหนึ่ง การตรวจโดยวิธีอื่น ๆ เช่นการถ่ายดูภาพ บ่อยครั้งจึงจำเป็น

โรคหัวใจ แก้

อาการแสบร้อนกลางอกอาจสับสนกับการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (MI) ฉับพลันหรืออาการปวดเค้นหัวใจได้ง่าย[10] ความรู้สึกแสบร้อนหรือเจ็บปวดแบบอาหารไม่ย่อยก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ (ACS) ด้วย แต่ไม่ถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ[11] เช่น ในบรรดาคนไข้ที่มาโรงพยาบาลและมีอาการของโรคกรดไหลย้อน 0.6% จะเกิดจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (IHD)[6] ส่วนคนไข้ที่เจ็บหน้าอกและกำลังตรวจรักษาด้วยสายสวนหลอดเลือดหัวใจประมาณ 30% จะพบว่า ไม่สามารถอธิบายการเจ็บหน้าอกได้ และบ่อยครั้งจะจัดว่า มีอาการปวดเจ็บหน้าอกที่ไม่ตรงแบบหรือไม่ทราบสาเหตุ[12] งานศึกษาหลายงานที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นกรดด่างในหลอดอาหารในชีวิตประจำวันและการวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร ประเมินว่า 25%-50% ของคนไข้เหล่านี้มีหลักฐานว่า มีโรคกรดไหลย้อนที่อาการไม่ตรงแบบ

โรคกรดไหลย้อน แก้

โรคกรดไหลย้อนเป็นเหตุสามัญที่สุดของอาการนี้ เพราะกรดที่ไหลย้อนขึ้นทำหลอดอาหารให้อักเสบ[3]

ไม่ทราบสาเหตุ แก้

คำภาษาอังกฤษว่า functional heartburn หมายถึงอาการแสบร้อนกลางอกที่ไม่ทราบสาเหตุ[13] ซึ่งสัมพันธ์กับโรคทางเดินอาหารที่ไม่ทราบสาเหตุ (FGID) อื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) และเป็นเหตุหลักของอาการที่ไม่ดีขึ้นหลังรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรดแล้ว (PPI)[13] แต่ยานี้ก็ยังเป็นการรักษาลำดับแรกของอาการเช่นนี้ซึ่งคนไข้จะดีขึ้นในอัตราร้อยละ 50[13] โดยเป็นการวินิจฉัยแบบกำจัดเหตุตามเกณฑ์วินิจฉัย Rome III คือ

  1. มีอาการแสบร้อนหลังกระดูกอก
  2. ได้กำจัดว่า กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคกรดไหลย้อนเป็นเหตุแล้ว
  3. ไม่มีโรคการบีบตัวของหลอดอาหาร (esophageal motility disorder)[13]

งานสำรวจหนึ่งพบว่า ชาวแคนาดาถึง 22.3% มีอาการนี้[13]

การวินิจฉัย แก้

อาการแสบร้อนกลางอกมีเหตุหลายอย่าง และการวินิจฉัยเป็นโรคกรดไหลย้อนในขั้นต้นก็จะต้องขึ้นกับอาการอื่น ๆ อีกด้วย ความเจ็บปวดหน้าอกของโรคกรดไหลย้อนจะเป็นแบบแสบร้อน เกิดหลังทานอาหารหรือในเวลากลางคืน ซึ่งแย่ลงเมื่อนอนลงหรือก้มลง[14] เป็นโรคสามัญในหญิงมีครรภ์ และอาจจุดชนวนเมื่อทานอาหารมาก หรืออาหารบางอย่างที่มีเครื่องเทศบางชนิด มีไขมันสูง หรือมีกรดสูง[14][15]

ถ้าการเจ็บหน้าอกสันนิษฐานว่าเป็นอาการแสบร้อนกลางอก โดยคนไข้มีอาการเรอเปรี้ยวเรอขม และไม่มีอาการน่าเป็นห่วงอื่น ๆ แพทย์ก็อาจเริ่มรักษาด้วยยาได้เลย ซึ่งถ้าอาการดีขึ้นภายในสองอาทิตย์ก็อาจวินิจฉัยฟันธงได้ว่า เป็นโรคกรดไหลย้อน[16] ถ้าคนไข้ไม่ดีขึ้นเมื่อทานยาและเปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรมแล้ว อาจจะต้องตรวจเพิ่มขึ้น โดยแพทย์อาจแนะนำให้ไปหาแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์โรคทางเดินอาหาร[17]

ส่วนอาการแสบร้อนกลางอกหรือเจ็บปวดหน้าอกหลังทานอาหารหรือดื่มน้ำบวกกับปัญหาการกลืนลำบาก ก็อาจบ่งชี้ภาวะหลอดอาหารกระตุก[18]

การลองรักษาด้วยยา แก้

ถ้าอาการบรรเทาภายใน 5-10 นาทีหลังได้ยาน้ำเป็นยาชาเฉพาะที่คือ ลิโดเคนบวกกับยาลดกรดก็จะเพิ่มโอกาสว่า ความเจ็บมีเหตุจากหลอดอาหาร[19] ถึงกระนั้น ก็ยังไม่สามารถกันเหตุเกี่ยวกับหัวใจออกได้[20] เพราะความเจ็บหน้าอกเหตุหัวใจในคนไข้ 10% จะบรรเทาเมื่อทานยาลดกรด[21]

การตรวจความเป็นกรดด่าง แก้

แพทย์สามารถวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหารโดยส่งสายยางบาง ๆ ผ่านจมูกลงไปในหลอดอาหารส่วนล่าง เพราะความเป็นกรดด่างที่ต่าง ๆ กันถึงระดับหนึ่งก็ปกติ และการไหลย้อนแบบน้อย ๆ ก็เป็นเรื่องค่อนข้างสามัญ การวัดความเป็นกรดด่างก็จะช่วยให้เห็นเหตุการณ์กรดไหลย้อนในเวลาจริงได้

วิธีทางกายภาพอื่น ๆ แก้

ในการวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร (manometry) แพทย์จะใส่สายบาง ๆ ผ่านเข้าจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งคนไข้จะทำการกลืนเมื่อแพทย์ค่อย ๆ ดึงสายออกมากสู่หลอดอาหาร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกแรงบีบของกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของหลอดอาหาร[17]

การส่องกล้องสามารถทำให้เห็นเยื่อเมือกหลอดอาหารได้โดยตรง ซึ่งทำโดยส่งเส้นใยนำแสงบาง ๆ ประกอบด้วยกล้องส่องเข้าไปผ่านปากเพื่อตรวจหลอดและกระเพาะอาหาร โดยวิธีนี้ ก็จะสามารถได้หลักฐานว่าหลอดอาหารอักเสบและสามารถตัดเนื้อออกตรวจได้ถ้าจำเป็น เพราะวิธีนี้ทำให้แพทย์สามารถตรวจทางเดินอาหารส่วนบนได้ จึงอาจช่วยกำหนดความเสียหายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรู้ไดโดยวิธีอื่น ๆ

แพทย์สามารถตัดเนื้อชิ้นเล็ก ๆ ออกเมื่อกำลังส่องกล้อง แล้วตรวจดูการอักเสบ เซลล์มะเร็ง และปัญหาอื่น ๆ

การรักษา แก้

ยาลดกรด เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต บ่อยครั้งจะสามารถใช้แก้ปัญหาในเบื้องต้น[22] แต่การรักษาต่อ ๆ ไปจะขึ้นอยู่กับเหตุ ยาเช่น สารต้านตัวรับเอช2หรือยายับยั้งการหลั่งกรด มีประสิทธิผลต่อกระเพาะอักเสบและกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นเหตุสามัญที่สุดของอาการนี้ โดยจะใช้ยาปฏิชีวนะถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori

ความระบาด แก้

ประชากรประมาณ 42% ในสหรัฐจะประสบกับอาการแสบร้อนกลางอกในช่วงชีวิต[23]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "Heartburn", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) อาการแสบร้อนกลางอก
  2. heartburn ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  3. 3.0 3.1 Differential diagnosis in primary care. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. 2008. p. 211. ISBN 0-7817-6812-8.
  4. "Pyrosis Medical Definition - Merriam-Webster Medical Dictionary". merriam-webster.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  5. "Heartburn". National Library of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 Kato, H; Ishii, T; Akimoto, T; Urita, Y; Sugimoto, M (April 2009). "Prevalence of linked angina and gastroesophageal reflux disease in general practice". World J. Gastroenterol. 15 (14): 1764–8. doi:10.3748/wjg.15.1764. PMC 2668783. PMID 19360921.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Duvnjak, Marko, บ.ก. (2011). Dyspepsia in clinical practice (1. Aufl. ed.). New York: Springer. p. 2. ISBN 9781441917300. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2015.
  8. Delaney, B; Ford, AC; Forman, D; Moayyedi, P; Qume, M (2005). Delaney, Brendan (บ.ก.). "Initial management strategies for dyspepsia". Cochrane Database Syst Rev (4): CD001961. doi:10.1002/14651858.CD001961.pub2. PMID 16235292.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Sajatovic, Martha; Loue, Sana; Koroukian, Siran M. (2008). Encyclopedia of aging and public health. Berlin: Springer. p. 419. ISBN 0-387-33753-9.
  10. Waller, CG (December 2006). "Understanding prehospital delay behavior in acute myocardial infarction in women". Crit Pathw Cardiol. 5 (4): 228–34. doi:10.1097/01.hpc.0000249621.40659.cf. PMID 18340239.
  11. Woo, KM; Schneider, JI (November 2009). "High-risk chief complaints I: chest pain--the big three". Emerg. Med. Clin. North Am. 27 (4): 685–712, x. doi:10.1016/j.emc.2009.07.007. PMID 19932401.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. "Heartburn and Regurgitation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-16. สืบค้นเมื่อ 21 June 2010.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Fass, R (January 2009). "Functional heartburn: what it is and how to treat it". Gastrointest. Endosc. Clin. N. Am. 19 (1): 23–33, v. doi:10.1016/j.giec.2008.12.002. PMID 19232278.
  14. 14.0 14.1 "The Mayo Clinic Heartburn page". Mayo Clinic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2010.
  15. "The MedlinePlus Heartburn page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016.
  16. "โรคกรดไหลย้อน". รศ.นพ.อุดม คชินทร (หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล), ผศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ (อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล). สนุก! Woman. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2009. สืบค้นเมื่อ 28 August 2018.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 "Acid Reflux (GER & GERD) in Adults". The National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  18. "Esophageal spasms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2010.
  19. Differential diagnosis in primary care. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. 2008. p. 213. ISBN 0-7817-6812-8.
  20. Swap, CJ; Nagurney, JT (November 2005). "Value and limitations of chest pain history in the evaluation of patients with suspected acute coronary syndromes". JAMA. 294 (20): 2623–9. doi:10.1001/jama.294.20.2623. PMID 16304077.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. Hanke, Barbara K.; Schwartz, George Robert (1999). Principles and practice of emergency medicine. Baltimore: Williams & Wilkins. p. 656. ISBN 0-683-07646-9.
  22. "What Are Antacids? - TUMS®". www.heartburn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2018.
  23. Kushner, PR (April 2010). "Role of the primary care provider in the diagnosis and management of heartburn". Curr Med Res Opin. 26 (4): 759–65. doi:10.1185/03007990903553812. PMID 20095795.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้