อาการบวมน้ำ (อังกฤษ: edema หรือ oedema, อังกฤษ: fluid retention, dropsy, hydropsy) หรือ การบวม (อังกฤษ: swelling) เป็นการสะสมของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกาย[1] พบบ่อยที่แขนและขา[1] อาการมักประกอบด้วยความรู้สึกตึงที่ผิวหนัง อาจรู้สึกหนัก และไขข้อที่ได้รับผลกระทบจะเคลื่อนไหวยากเช่นกัน[1] ส่วนอาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับต้นเหตุของโรค[2]

บวมน้ำ
ชื่ออื่นEdema, Oedema, œdema, fluid retention, water retention, dropsy, hydropsy, swelling
อาการบวมน้ำแบบ "กดบุ๋ม"
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยาหัวใจ, วิทยาไต
อาการอาการรู้สึกตึงแน่นที่ผิวหนัง อาจรู้สึกหนัก[1]
การตั้งต้นฉับพลัน / ค่อยเป็นค่อยไป[2]
ประเภทกระจาย / เฉพาะจุด[2]
สาเหตุโรคหลอดเลือดดำ, หัวใจล้มเหลว, โรคไต, โปรตีนในเลือดต่ำ, โรคตับ, ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึก, บวมน้ำเหลือง[1][2]
วิธีวินิจฉัยตามการตรวจร่างกาย[3]
การรักษาตามต้นเหตุโรค[2]

สาเหตุอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดดำ, หัวใจล้มเหลว, โรคไต, ระดับโปรตีนต่ำ, โรคตับ, หลอดเลือดดำลึกอุดตัน, การติดเชื้อ, แองจิอีดีมา, ยาบางชนิด และ ลิมฟีดีมา[1][2] นอกจากนี้อาจพบได้ในผู้ที่นั่งหรือยืนนานเกินไป รวมถึงอาจพบได้ในผู้ที่อยู่ระหว่างช่วงเกิดประจำเดือนหรือตั้งครรภ์[1] อาการจะน่าเป็นห่วงมากหากเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หรือพบปัญหาในการหายใจร่วมด้วย[2]

การรักษากระทำโดยรักษาต้นเหตุของอาการ[2] หากกลไกเกิดโรคเกี่ยวข้องกับการคั่งของโซเดียม อาจแนะนำผู้ป่วยลดการบริโภคเกลือและให้ทานยาขับปัสสาวะ[2] การยกขาขึ้นและไม้ค้ำยันอาจช่วยผู้ป่วยที่บวมที่ขาได้[3] อาการบวมน้ำพบมากกว่าในผู้สูงอายุ[3] รากศัพท์ในภาษาอังกฤษมาจากภาษากรีก οἴδημα oídēma แปลว่า 'การบวม'[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Causes and signs of edema (ภาษาอังกฤษ). Institute for Quality and Efficiency in Health Care (IQWiG). 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Edema - Cardiovascular Disorders". Merck Manuals Professional Edition. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Edema: Causes, Symptoms, Diagnosis & Treatment". familydoctor.org. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
  4. Liddell, Henry. "A Greek-English Lexicon, οἴδ-ημα". www.perseus.tufts.edu. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้