ญะอ์ฟัร อัศศอดิก
ญะอ์ฟัร อิบน์ มุฮัมมัด อัศศอดิก (อาหรับ: جعفر بن محمد الصادق; อังกฤษ: Jaʿfar ibn Muhammad al-Sādiq) หรือเรียกสั้น ๆ ในภาษาไทยว่า อิมามศอดิก เป็นอิมามที่ 6 ของชีอะฮ์ เกิดในปี ฮ.ศ. 83 (ค.ศ. 702) เป็นบุตรของอิมามบากิร และนางอุมฟัรวะหฺ บุตรีกอซิม บินมุฮัมมัด บินอะบีบักรฺ เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 148 (ค.ศ. 765)
ญะอ์ฟัร อัศศอดิก | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | อิมามะฮ์
รายการ
|
ชื่ออื่น | ญะฟัร อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อะลี |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | ป. ค.ศ.702 17 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ.83[2] |
มรณภาพ | ค.ศ.765 15 เชาวาล ฮ.ศ.148 (63 ปี) [4] |
ที่ฝังศพ | อัลบะกีอ์, มะดีนะฮ์, ประเทศซาอุดีอาระเบีย 24°28′1″N 39°36′50.21″E / 24.46694°N 39.6139472°E |
ศาสนา | อิสลาม |
คู่สมรส | Fatima bint al-Hussain'l-Athram Hamīdah al-Barbariyyah[3] |
บุตร | รายการ
|
บุพการี | Muhammad al-Baqir Farwah bint al-Qasim |
สาย | บนูฮาชิม |
ชื่ออื่น | ญะฟัร อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อะลี |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง | ค.ศ.733–765 |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า | มุฮัมมัด อัล-บากีร์ |
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมา | เป็นที่โต้แย้ง ชีอะฮ์สิบสองอิมาม — มูซา อัล-คาดิม อิสมาอีลียะฮ์ — อิสมาอิล อิบน์ ญะฟัร อัฟตาฮิยะฮ์ — อับดุลลอฮ์ อัล-อัฟตะฮ์ Shumattiyyah - มุฮัมมัด อิบน์ ญะฟัร อัศศอดิก อะลี อัล-อุไรดี อิบน์ ญะฟัร อัศศอดิก |
อิมามอัศศอดิกมีชีวิตใน 10 แผ่นดิน นั่นคือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเคาะลีฟะฮ์ถึงสิบคนในสองอาณาจักร คือ อาณาจักรอุมัยยะฮ์และอาณาจักรอับบาซียะฮ์
ท่านมีสานุศิษย์ 4,000 คน ในจำนวนนั้นได้แก่ ญาบิร บินฮัยยาน, อะบูหะนีฟะฮ์ และมาลิก บินอะนัส
บทบาทของอิมามอัศศอดิก
แก้อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ) สามารถเผยแผ่วิชาการอิสลามได้มากกว่ายุคใดทั้งหมด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าอิมามอัลบากิร (อ) ได้สร้างฐานเอาไว้แล้วส่วนหนึ่ง ท่านได้เผยแผ่และเชิญชวนผู้คนมาสู่อิสลามเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งผู้คนเหล่านั้นต่างกระหายในวิชาการอิสลามและความรู้ของอะหฺลุลบัยตฺ ไม่ใช้อิสลาม
อีกด้านหนึ่ง ราชวงศ์อุมัยยะฮ์กำลังจะสิ้นสุดอำนาจและราชวงศ์อับบาสก็ยังยึดอำนาจไม่ได้ทั้งหมด ซึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจของพวกอับบาสได้โดยอาศัยบารมีของอะหฺลุลบัยต (อ) โดยใช้การโศกนาฏกรรมของบรรดาอะหลุลบัยตฺในกัรบะลาอ์เป็นสิ่งนำและเรียกร้องความสนใจของประชาชน
ขณะที่อิมามอัศศอดิก (อ) ได้สั่งสอนและขยายความรู้ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยมีผู้รู้นักปราชญ์และนักวิชาการจากทั่วสารทิศแห่กันมายังนครมะดีนะหฺ เพื่อมาศึกษาหาความรู้จากอิมามอัศศอดิก (อ) ในศาสตร์ต่าง ๆ จนได้รับฉายานามว่า "บิดาแห่งความรู้" ท่านเป็นคนแรกที่สอนวิทยาศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
อิมามอัศศอดิก (อ) ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้คนมากมายหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา ต่อมาท่านได้สอนลูกศิษย์ให้มีความรอบรู้และความสันทัดด้านวิทยาศาสตร์ไว้หลายคนด้วยกัน มีตำราหลายร้อยเล่มที่ได้บันทึกฮะดีษต่าง ๆ คำอธิบายและถ่ายทอดความรู้ของอิมามศอดิกเอาไว้ ตำราเหล่านั้นเรียกว่า "อุศูล"
อิมามอัศศอดิก (อ) ได้หยิบฉวยโอกาสสั้น ๆ นั้นสั่งสอนลูกศิษย์และสร้างนักปราชญ์เอาไว้มากมายในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับอิสลามและวัฒนธรรมอิสลาม จำนวนลูกศิษย์ที่ได้รับความรู้โดยตรงจากอิมามอัศศอดิก (อ) มีมากเกิน 4,000 คน อิมามอัศศอดิก (อ) ได้สั่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านให้จดบันทึกความรู้เอาไว้และรักษาความรู้เหล่านั้นไว้ให้ดี เพราะท่านทราบดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกอิสลามในวันข้างหน้า ถึงเวลานั้นตำราเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะมันจะเป็นทีย้อนกลับของศาสนาความรู้และมวลมุสลิมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาลูกศิษย์ของอิมามอัศศอดิก (อ) จึงเตรียมสมุดปากกามาทุกครั้งเพื่อจดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินจากอิมามอัศศอดิก (อ)
อิมามอัศศอดิก (อ) ได้ใช้เวลาส่วนมากในการสอนสานุศิษย์มากกว่าทำอย่างอื่น ความรู้ของท่านได้ซึมลึกลงไปในหมู่ของประชาชนที่มีทั้งฉลาดและโง่เขลา อิมามอัศศอดิกเป็นเสมือนกระจกเงาแห่งวิชาการของท่านศาสดา (ศ) ที่แท้จริง หลังจากที่ความรู้ของท่านศาสดาได้ถูกคนทรยศทำลาย มันได้ถูกฟื้นฟูให้รุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งโดยอิมามศอดิก ด้วยเหตุนี้เอง ต่อมาภายหลังจึงขนานนามท่านว่าเป็นผู้สถาปนาแนวทางของชีอะฮ์และเรียกกันจนติดปากว่า "ตะชัยยุอฺ"หรือ"ญะอฺฟะรีย์"
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 A Brief History of The Fourteen Infallibles. Qum: Ansariyan Publications. 2004. p. 123. ISBN 964-438-127-0.
- ↑ Gleaves, Robert. "JAʿFAR AL-ṢĀDEQ i. Life". Encyclopedia Iranica. สืบค้นเมื่อ 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) According to Gleaves, most sources give 702 as the year of his birth, but there are some which give 699 and others which give 705. - ↑ A Brief History of The Fourteen Infallibles. Qum: Ansariyan Publications. 2004. p. 131. ISBN 964-438-127-0.
- ↑ Gleaves, Robert. "JAʿFAR AL-ṢĀDEQ i. Life". Encyclopedia Iranica. สืบค้นเมื่อ 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)