อัศนี พลจันทร

(เปลี่ยนทางจาก อัศนี พลจันทร์)

อัศนี พลจันทร หรือในนามปากกาว่า นายผี และ สหายไฟ หรือ ลุงไฟ (15 กันยายน พ.ศ. 246128 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530) นักประพันธ์และนักปฏิวัติชาวไทย รู้จักกันในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน)

อัศนี พลจันทร
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2461
จังหวัดราชบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (69 ปี)
แขวงอุดมไซ ประเทศลาว
นามปากกานายผี
ลุงไฟ
อาชีพอัยการ, นักเขียน, นักปฏิวัติ, คอลัมน์นิสต์, นักประพันธ์
สัญชาติไทย ไทย
ผลงานที่สำคัญเพลงเดือนเพ็ญ
คู่สมรสวิมล พลจันทร
บุตร4 คน

ประวัติ

แก้

อัศนี พลจันทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2461 ที่บ้านท่าเสา ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บิดาคือ พระมนูกิจวิมลอรรถ (เจียร พลจันทร) มารดาคือ สอิ้ง มนูกิจวิมลอรรถ ซึ่งหากสืบเชื้อสายทางบิดาขึ้นไปจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จะพบว่าต้นตระกูลคือ พระยาพล เดิมชื่อนายจัน เคยรบกับพม่า จนได้ชัยชนะและเป็นผู้รั้งเมืองกาญจนบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อัศนี พลจันทร จบชั้นมัธยม 5 แล้วศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2479 ในขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สนใจในด้านวรรณกรรมโดยใช้นามปากกาว่า นายผี และเป็นที่รู้จักเมื่ออัศนีได้เป็นคนควบคุมคอลัมน์กวี ในนิตยสารรายสัปดาห์ เอกชน (นิตยสาร)[1]

ชีวิตครอบครัว อัศนี สมรสกับ วิมล พลจันทร มีบุตรด้วยกัน 4 คน ทั้งหญิงชาย ได้แก่ วิมลมาลี พลจันทร กับ โกลิศ พลจันทร นกุลและสหเทพเป็นน้องฝาแฝดสุดท้อง[2]

การทำงาน

แก้

อัศนีเริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นอัยการผู้ช่วยชั้นตรี เมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ถูกย้ายไปที่จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีปัญหากับหัวหน้างาน อยู่ปัตตานีได้ 2 ปีก็ถูกสั่งย้ายไปที่สระบุรี ด้วยทางการได้ข่าวว่าให้การสนับสนุนชนชาวมลายูต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผ่านไป 4 ปีเศษมีคำสั่งให้ย้ายไปอยุธยา เนื่องจากขัดแย้งกับข้าหลวง จากนั้นถูกสั่งให้กลับมาประจำกองคดี กรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย เหตุเพราะความเป็นคนตรงไปตรงมา ภายหลังมีปัญหาท้ายที่สุดจึงตัดสินใจลาออกเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2495

ในช่วง พ.ศ. 2495 จอมพล ป. มีคำสั่งให้จับกุมนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีผลงานไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทำให้อัศนีต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลงานวรรณกรรมในช่วงนั้นคือ "ความเปลี่ยนแปลง", "เราชนะแล้วแม่จ๋า"

ในปี พ.ศ. 2504 ได้ปรากฏตัวอีกครั้งในนาม สหายไฟ ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ในแขวงอุดมไซ ประเทศลาวมีข่าวอีกกระแสว่าเสียที่เวียตนามและเวียตนามได้ฝังศพไว้รอญาติโดยจุดตะเกียงไว้ข้างหลุมในสุสาน และได้นำกระดูกกลับสู่ประเทศไทยเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[3]

ผลงานเขียน

แก้

ช่วงชีวิตของอัศนี มีงานเขียน บทกวี มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบทกวีที่ชื่อ อีศาน ที่ลงพิมพ์ในสยามสมัย นับเป็นบทกวีที่ลือเลื่อง จนกลายเสมือนเป็นตัวแทนนายผี จิตร ภูมิศักดิ์ ยกย่องกวีบทนี้ว่า ตีแผ่ความยากเข็ญของชีวิตและปลุกเร้าจิตวิญญาณการต่อสู้ของประชาชนได้อย่างเพียบพร้อม มีพลัง ทั้งเชิดชูนายผีเป็น มหากวีของประชาชน โดยผลงานได้มีการกล่าวถึงมากมายในช่วง เหตุการณ์ 14 ตุลา

เพลง คิดถึงบ้าน หรือ เดือนเพ็ญ ที่อัศนีเขียนขึ้นเพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านนับเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่างๆ มากที่สุดเพลงหนึ่ง ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง[4] ผลงานท่านอัศนีล่าสุดได้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ "อ่าน."

นามปากกา

แก้

นามปากกาของอัศนีมีเป็นจำนวนมาก เช่น

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ นายผี จาก มติชน
  2. "ครอบครัวของนายผี". เดลินิวส์.
  3. "นายผี-อัศนี พลจันทร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-02-04. สืบค้นเมื่อ 2002-02-04.
  4. ชีวประวัติบุคคลสำคัญ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้