ตระกูลภาษาอัลไต

(เปลี่ยนทางจาก อัลไตอิก)

ตระกูลภาษาอัลไต (อังกฤษ: Altaic languages; บางครั้งเรียกว่า ทรานส์ยูเรเชีย (Transeurasian)) เป็นตระกูลภาษาในสมมติฐานที่มีข้อโต้แย้ง[1] ซึ่งเสนอว่า กลุ่มภาษาเตอร์กิก กลุ่มภาษามองโกล และกลุ่มภาษาตุงกูซิกมีภาษาบรรพบุรุษร่วมกัน บางครั้งสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตยังรวมกลุ่มภาษาญี่ปุ่นและกลุ่มภาษาเกาหลีไว้ด้วย[2]: 73  ผู้พูดภาษาเหล่านี้ในปัจจุบันกระจายทั่วเอเชียบริเวณเหนือเส้นขนานที่ 35 องศาเหนือ และในยุโรปตะวันออกบางส่วน ในขอบเขตลองจิจูดจากตุรกีถึงญี่ปุ่น[3] ภาษาตระกูลนี้ได้รับชื่อจากเทือกเขาอัลไตในเอเชียกลาง ตระกูลภาษาอัลไตเป็นข้อเสนอที่ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปในสาขาภาษาศาสตร์เชิงประวัติ แม้ว่าจะมีส่วนน้อยยอมรับก็ตาม[2][4][5] การวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดภาษาศาสตร์ทั่วไปโดยประมาณ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบคติชาวบ้านและเทพปกรณัมต่าง ๆ ในกลุ่มชนเตอร์กิก, ชาวมองโกลดั้งเดิม และชาวตุงกุส[6]

ตระกูลภาษาอัลไต
(โต้แย้ง)
ภูมิภาค:เอเชียเหนือและกลาง
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ข้อเสนอตระกูลภาษาหลักของนักภาษาศาสตร์บางกลุ่ม
ภาษาดั้งเดิม:ภาษาอัลไตดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:tut
กลอตโตลอก:None
{{{mapalt}}}
(บางครั้ง) (บางครั้ง) (แทบไม่รวม)

มีการเสนอตระกูลภาษาอัลไตครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเคยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และยังคงพบในสารานุกรมและหนังสือคู่มือหลายเล่ม[2]

ลักษณะของภาษาในตระกูล แก้

ภาษาต่าง ๆ ในตระกูลภาษานี้มีลักษณะที่ร่วมกันอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้

  • การเรียงลำดับคำแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
  • ไม่ระบุเพศ พจน์ของคำ
  • มีการใช้คำปรบท (Postposition) ซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกันกับคำบุพบท เพียงแต่ว่าจะปรากฏอยู่ด้านหลังของคำที่จะกล่าวถึง
  • ไม่มีคำประพันธสรรพนาม (relative pronouns)
  • ไม่ปรากฏคำกิริยา “มี” แต่ใช้การเติมปัจจัย (Suffix) หรือสัมพันธการก (Genitive case) ท้ายคำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทน
  • เป็นภาษารูปคำติดต่อ (Agglutinative language) กล่าวคือ มีการเติมหน่วยคำอิสระหรืออนุภาค (Particle) ท้ายคำเพื่อแสดงหน้าที่ของคำในระบบวากยสัมพันธ์
  • มีความสอดคล้องกลมกลืนของสระ (Vowel harmony) กล่าวคือ ระบบสระในคำหนึ่งคำจะต้องเป็นสระประเภทเดียวกัน
  • ไม่มีการเติมอุปสรรคแต่ใช้ปัจจัยท้ายคำเพื่อบอกหน้าที่คำในประโยค
  • ระบบเสียงพยัญชนะไม่สลับซับซ้อนรวมทั้งเป็นคำแบบพยางค์ปิดเป็นส่วนใหญ่

สาขาย่อย แก้

ตระกูลภาษาอัลตาอิกนี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิก (Turkic subfamily) แก้

มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน รวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองราว 200 ล้านคน ใช้พูดในประเทศตุรกี เอเชียกลาง สาธารณรัฐยาคุต สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน สาธารณรัฐตาตาร์สถาน ในประเทศรัสเซีย และ มณฑลซินเจียงอุยกูร์ในประเทศจีน กลุ่มภาษาเตอร์กิกส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40% ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหมด สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิกแบ่งออกได้เป็น

สาขากลุ่มภาษามองโกล (Mongolic subfamily) แก้

มีผู้พูดประมาณ 10 ล้านคน ใช้มากในประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ดินแดนจุงกาเรียในประเทศจีน สาธารณรัฐคัลมืยคียาและสาธารณรัฐบูรยาเทียในประเทศรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาตุงกูซิก (Tungusic subfamily) แก้

มีผู้พูดประมาณ 80,000 คน ใช้มากในไซบีเรียตะวันออก และแถบแมนจูเรียในประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

สาขาภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่น (Korean-Japonic subfamily) แก้

มีผู้พูดประมาณ 180 ล้านคนในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและหมู่เกาะโอกินาวา แบ่งออกได้ดังนี้

อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย

ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม (Proto-Altaic) เดียวกัน

อ้างอิง แก้

  1. Martine Robbeets & Alexander Savelyev, "Introduction", The Oxford Guide to the Transeurasian Languages (2020, Oxford, pp. 1-3). "The Transeurasian languages are among the most fervently debated language families in modern linguistics..." (pg. 1)
  2. 2.0 2.1 2.2 Georg, Stefan; Michalove, Peter A.; Ramer, Alexis Manaster; Sidwell, Paul J. (1999). "Telling general linguists about Altaic". Journal of Linguistics. 35 (1): 65–98. doi:10.1017/S0022226798007312. S2CID 144613877.
  3. "Interactive Maps The Altaic Family from The Tower of Babel". Starling.rinet.ru. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  4. Campbell, Lyle (2007). Glossary of Historical Linguistics. Edinburgh University Press. p. 7. ISBN 978-0-7486-3019-6. While 'Altaic' is repeated in encyclopedias and handbooks most specialists in these languages no longer believe that the three traditional supposed Altaic groups ... are related. In spite of this, Altaic does have a few dedicated followers.
  5. Starostin, George (2016). "Altaic Languages". Oxford Research Encyclopedia of Linguistics. doi:10.1093/acrefore/9780199384655.013.35. ISBN 9780199384655. Despite the validity of many of these objections, it remains unclear whether they are sufficient to completely discredit the hypothesis of a genetic connection between the various branches of “Altaic,” which continues to be actively supported by a small, but stable scholarly minority.
  6. 毕桪 (2011). "论阿尔泰比较神话学". ใน 那木吉拉 (บ.ก.). 阿尔泰神话研究回眸 [Selected research papers on the Altaic mythologies]. Beijing: 民族出版社. pp. 12–22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้