อัปเปอร์มุสตางค์

มุสตางค์ (ทิเบต: སྨོནཋང möntang; เนปาล: मुस्तांग Mustāṃg "ที่ราบอันอุดม") เดิมคือ อาณาจักรโล เป็นดินแดนอันโดดเดี่ยวและห่างไกลแถบเทือกเขาหิมาลัยของประเทศเนปาล ปัจจุบันพื้นที่ของอดีตอาณาจักรโลเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งขึ้นกับอำเภอมุสตาง จังหวัดคัณฑกีประเทศ ประเทศเนปาล ปัจจุบันเรียก อัปเปอร์มุสตางค์ (อังกฤษ: Upper Mustang) แต่เดิมดินแดนแห่งนี้เป็นพื้นที่ปลอดทหารจนกระทั่ง ค.ศ. 1992 ทำให้อัปเปอร์มุสตางค์เป็นภูมิภาคที่คงลักษณะดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาทิเบตในการสื่อสาร ทั้งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของทิเบตไว้โดยตัดขาดกับโลกภายนอก

อาณาจักรโล

ธงชาติมุสตางค์
ธงชาติ
ที่ตั้งของอำเภอมุสตาง (สีเหลือง) หนึ่งในสี่อำเภอของอดีตพื้นที่เธาลาคิรี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดคัณฑกีประเทศ) ประเทศเนปาล
ที่ตั้งของอำเภอมุสตาง (สีเหลือง) หนึ่งในสี่อำเภอของอดีตพื้นที่เธาลาคิรี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดคัณฑกีประเทศ) ประเทศเนปาล
เมืองหลวงโลมันถาง
ภาษาราชการ
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
สถาปนาค.ศ. 1380
พื้นที่
• รวม
2,020[1] ตารางกิโลเมตร (780 ตารางไมล์)
ประชากร
• ประมาณ
7,000[1]
3.47 ต่อตารางกิโลเมตร (9.0 ต่อตารางไมล์)

อัปเปอร์มุสตางค์มีพื้นที่สองในสามของอำเภอมุสตาง สามอำเภอทางใต้เรียกว่า "ถัก" เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวถกาลี (थकाली) ซึ่งมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างทิเบตและเนปาล ระบบเศรษฐกิจของมุสตางค์ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว การเลี้ยงสัตว์ และการค้า

สถานะการเป็นราชอาณาจักรของมุสตางค์ซึ่งขึ้นกับเนปาลสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2008 หลังราชอาณาจักรเนปาลเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ อิทธิพลจากโลกภายนอกเริ่มเข้าสู่มุสตางค์มากขึ้นโดยเฉพาะจากจีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อวิถีชีวิตของชาวมุสตางค์[2]

ประวัติ แก้

ในอดีตอัปเปอร์มุสตางค์เคยเป็นรัฐอิสระเรียกว่า อาณาจักรโล ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 พวกเขามีวัฒนธรรมด้านภาษาและศาสนาถอดแบบมาจากทิเบต ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศทำให้มุสตางค์มีอำนาจควบคุมเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับอนุทวีปอินเดีย ทว่าปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโลถูกผนวกและกลายเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรเนปาลตั้งแต่ ค.ศ. 1795 เป็นต้นมา[3] กระนั้นมุสตางค์ยังคงมีการแต่งตั้งราชา (หรือกเยลโป) สืบราชสมบัติมาตลอด จนกระทั่งรัฐบาลเนปาลมีคำสั่งให้ยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2008[4]

ราชาหรือกเยลโปคนสุดท้ายของมุสตางค์คือจิกมี ดอร์เจ ปัลบาร์ บิสตา (Jigme Dorje Palbar Bista; 1930–2016)[5] ผู้สืบสันดานมาจากอาเม ปัล (Ame Pal) นักรบผู้ก่อตั้งอาณาจักรที่นับถือศาสนาพุทธตั้งแต่ ค.ศ. 1380[6] และเขาผู้นี้คือผู้สร้างเมืองโลมันถางอันมีกำแพงรอบเมือง ปัจจุบันเมืองดังกล่าวแทบไม่มีความเปลี่ยนแปลงอันใดเลย ตั้งแต่ยุคแรกสร้าง[7]

ค.ศ. 2007 มีการค้นพบภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติจำนวน 55 ภาพในถ้ำแห่งหนึ่ง[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Raffaele, Paul (April 1998). "Into the Forbidden Kingdom of Mustang". Reader's Digest. 421. 71.
  2. Mustang: A Kingdom on the Edge Al Jazeera Correspondent
  3. https://flagspot.net/flags/np-must.html
  4. China View news
  5. Royal Ark
  6. Wild, windy and harsh, yet stunningly beautiful; The Sunday Tribune; April 21, 2002
  7. Peissel, Michel (1992) [1967]. Mustang - A Lost TIbetan Kingdom (2nd ed.). Book Faith India, Delhi. pp. 227–31.
  8. Shepherd leads experts to ancient Buddha cave paintings; Guardian Unlimited; May 4, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้