อันโตนิโอ ปินโต

คุณพ่ออันโตนิโอ ปินโต[1] (โปรตุเกส: Antonio Pinto อังโตนียู ปิงตู) หรือ อ็องตวน ปินโต (ฝรั่งเศส: Antoine Pinto; ค.ศ. 1664 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 1696) ส่วนบันทึกโกษาปานเรียก อันตน[2] เป็นบาทหลวงชาวสยามเชื้อสายเบงกอล และเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสยามคนแรก[3]


อันโตนิโอ ปินโต
เกิดค.ศ. 1664
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
เสียชีวิต24 สิงหาคม ค.ศ. 1696 (ราว 32 ปี)
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
อาชีพบาทหลวง

ประวัติ แก้

คุณพ่ออันโตนิโอเกิดในปี ค.ศ. 1664 บิดาเป็นชาวเบงกอล ส่วนมารดาเป็นไทย[2] เข้ารีตนิกายโรมันคาทอลิกเมื่ออาแล็กซ็องดร์ อัศวินแห่งโชมง ราชทูตฝรั่งเศสมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1685[2] และเข้าศึกษา ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ กรุงศรีอยุธยา[2] ฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซี ได้บันทึกถึงความเฉลียวฉลาดสามเณรนี้ว่า "มีชายชาวสยามคนหนึ่งชื่ออันโตนิโอ ปินโต ได้มายังทำเนียบที่พักของท่านราชทูตเพื่อเฉลยวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเทววิทยาอุทิศทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [ของฝรั่งเศส] ท่านวิสัชนาและตอบข้อปุจฉาได้อย่างมีความสามารถยิ่ง"[2]

เมื่ออายุได้ 22 ปี สามเณรอันโตนิโอหรือสามเณรอันตนได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศสพร้อมกับคณะราชทูตออกพระวิสุทธสุนทรเมื่อปี ค.ศ. 1685 เพื่อศึกษาต่อที่กรุงโรม และสามเณรอันตนก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดด้วยการแสดงปุจฉาวิสัชนาประเด็นเทวศาสตร์ต่อหน้านักบวชและประชาชนในปารีส โดยมีออกพระวิสุทธสุนทรร่วมฟังด้วย[2] หลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม[3] รับศีลบวชขั้นบาทหลวงในปี ค.ศ. 1686[1] จึงได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1695 เพื่อช่วยงานพระคุณเจ้าหลุยส์ ลาโน[2]

คุณพ่ออันโตนิโอ ปินโต มรณภาพเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1696 ณ กรุงศรีอยุธยา[1][2][4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "คุณพ่ออันโตนิโอ ปินโต". หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. 22 กันยายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-12. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 ภูธร ภูมะธน. โกษาปาน ราชทูตผู้กู้แผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2555, หน้า 68
  3. 3.0 3.1 วรยุทธ กิจบำรุง, บาทหลวง. บาทหลวง. กรุงเทพฯ : สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, 2546, หน้า 21-2, 460
  4. วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, บาทหลวง. ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกไทย. มมป. : วิทยาลัยแสงธรรม, หน้า 104