อัตเลติกเดบิลบาโอ

สโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศสเปน
(เปลี่ยนทางจาก อัตเลติกบิลบาโอ)

อัตเลติกกลุบ (Athletic Club) หรือที่เรียกกันว่า อัตเลติกเดบิลบาโอ (Athletic de Bilbao) และ บิลโบโกอัตเลติกกลูบา (บาสก์: Bilboko Athletic Kluba) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า อัตเลติก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศสเปน ตั้งอยู่ในเมืองบิลบาโอ แคว้นประเทศบาสก์ ประเทศสเปน ปัจจุบันลงเล่นอยู่ในลาลิกา โดยใช้สนามกีฬาซานมาเมสเป็นสนามเหย้า โดยใช้สีเสื้อชุดเหย้าเป็นสีแดงลายขาว กางเกงสีดำ

อัตเลติกเดบิลบาโอ
ชื่อเต็มอัตเลติกกลุบ[1]
ฉายาโลสเลโอเนส ("สิงโต")
ก่อตั้ง1898; 126 ปีที่แล้ว (1898)
สนามซานมาเมส
Ground ความจุ53,289 ที่นั่ง[2]
ประธานไอตอร์ เอลิเซกี
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเอร์เนสโต บัลเบร์เด
ลีกลาลิกา
2022–23ลาลิกา อันดับที่ 8 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

ผู้เล่นของสโมสรได้รับสมญานามว่าเป็น โลสเลโอเนส ("เหล่าสิงโต") เพราะสนามกีฬาของพวกเขาสร้างขึ้นใกล้กับโบสถ์ที่เรียกว่า "ซานมาเมส" ("นักบุญมัมเมส") มัมเมสเป็นคริสเตียนยุคแรกที่ถูกชาวโรมันโยนให้สิงโต แต่ทำให้สิงโตสงบลงได้ ต่อมาจึงได้รับการยกย่องเป็นนักบุญ อัตเลติกเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นลำดับที่สี่ในลาลิกา จากการชนะเลิศ 8 สมัย และโกปาเดลเรย์ 23 สมัย เป็นรองเพียงบาร์เซโลนาเท่านั้น และเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแคว้นประเทศบาสก์ สโมสรเป็นหนึ่งในกสามสมาชิกของ ลาลิกา ซึ่งไม่เคยตกชั้นลงไปจากลีกสูงสุดนับตั้งแต่ลีกก่อตั้งใน ค.ศ. 1929 เช่นเดียวกับเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา สโมสรทั้งสามนี้พร้อมด้วยโอซาซูนา เป็นสโมสรสี่สโมสรที่ไม่ใช่บริษัทกีฬา แต่สมาชิกสโมสรจะเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยเลือกตั้งประธานสโมสรเข้าไปทำหน้าที่ คู่แข่งหลักของอัตเลติกคือเรอัลโซซิเอดัดซึ่งร่วมลงแข่งขันในเอวส์กัลเดร์บิอา และเรอัลมาดริดเนื่องจากเอกลักษณ์ทางกีฬาและการเมือง นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งขันรองลงมาคือบาร์เซโลนาเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ในช่วงต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ของสโมสร พวกเขายังเป็นคู่แข่งร่วมแคว้นกับเดปอร์ติโบอาลาเบส เอย์บาร์ และโอซาซูนา

สโมสรนี้ขึ้นชื่อในเรื่อง กันเตรา หรือนโยบายการพัฒนาผู้เล่นเยาวชน รวมถึงการสรรหาผู้เล่นจากสโมสรบาสก์อื่น ๆ อัตเลติกยังมีนโยบายอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ นักฟุตบอลทุกคนของสโมสรต้องเป็นผู้เล่นพื้นเมืองหรือผู้เล่นที่ฝึกฟุตบอลในภูมิภาคประเทศบาสก์ซึ่งรวมถึงในบิซกายา, กิปุซโกอา, อาลาบา และนาวาร์ในสเปน และลาบูร์, ซูร์ และนาวาร์ตอนล่างในฝรั่งเศส[3] นโยบายนี้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 ถือได้ว่าเป็นเรื่องพิเศษเฉพาะในฟุตบอลยุโรป[4] และทำให้อัตเลติกได้รับทั้งเสียงชื่นชมและเสียงวิจารณ์ สโมสรได้รับการยกย่องในการส่งเสริมผู้เล่นที่เติบโตในบ้านเกิด และความจงรักภักดีต่อสโมสร กฎนี้ไม่ได้ใช้กับเจ้าหน้าที่ฝึกสอน โดยมีตัวอย่างหลายคนที่ไม่ใช่ชาวบาสก์ทั้งจากสเปนและต่างประเทศที่เป็นผู้จัดการทีมให้กับทีมชุดใหญ่

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

ณ วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2023[5]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   อูไน ซิมอน
2 DF   อาเลกซ์ เปตชา
4 DF   Aitor Paredes
5 DF   เยไร อัลบาเรซ
6 MF   มิเกล เบสกา
7 FW   อาเลกซ์ เบเรงเกร์
8 MF   โอยัน ซันเซต
9 FW   อิญญากิ วิลเลียมส์
10 FW   อิเกร์ มูนิไอน์ (กัปตัน)
11 FW   นิโก วิเลียมส์
12 DF   ดานิเอล บิเบียน
13 GK   โยกิน เอซกิเอตา
14 MF   ดานิ การ์ซิอา
15 DF   อิญญิโก เลกูเอ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 MF   อูไน เบนเซดอร์
17 DF   ยูริ เบร์ชิเช
18 MF   โอสการ์ เด มาร์โกส (กัปตันที่สอง)
19 MF   โอเยร์ ซาร์รากา
20 FW   อาซิเอร์ บิยาลิเบร
21 MF   อันเดร์ เอร์เรรา
22 FW   ราอุล การ์ซิอา (กัปตันที่สาม)
24 DF   มิเกล บาเลนซิอากา
26 GK   ยูเลน อาร์กิเรซาลาบา
31 DF   ไอตอร์ ปาเรเดส
32 MF   เบญญัต ปราโดส
33 FW   นิโก เซร์ราโน
34 FW   ฆวน อาร์โตลา

ทีมสำรอง แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ยืมตัวออก แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF   อิมาโนล การ์ซิอา เด อัลเบนิซ (ไปมิรันเดส จนถึง 30 มิถุนายน 2022)
FW   อิญญิโก กอร์โดบา (ไปโกอะเฮดอีเกิลส์ จนถึง 30 มิถุนายน 2022)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
FW   อิญญิโก บิเซนเต (ไปมิรันเดส จนถึง 30 มิถุนายน 2022)

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF   เอนริก ซาโบริต (ยืมตัวไปมายอร์กา จนถึง 30 มิถุนายน 2015)
DF   โคนัส รามัลโย (ยืมตัวไปฌิโรนา จนถึง 30 มิถุนายน 2015)
DF   อูไน อัลบีซัว (ยืมตัวไปเตเนรีเฟ จนถึง 30 มิถุนายน 2015)
MF   อีเกร์ กวาร์โรเชนา (ยืมตัวไปเตเนรีเฟ จนถึง 30 มิถุนายน 2015)
MF   อีญีโก รุยซ์ เด กาลาร์เรตา (ยืมตัวไปซาราโกซา จนถึง 30 มิถุนายน 2015)

เกียรติประวัติ แก้

ระดับประเทศ แก้

  • ลาลิกา
    • ชนะเลิศ (8) : 1929–30, 1930–31, 1933–34, 1935–36, 1942–43, 1955–56, 1982–83, 1983–84
  • โกปาเดลเรย์
    • ชนะเลิศ (24) : 1903, 1904, 1910, 1911, 1914, 1915, 1916, 1921, 1923, 1930, 1931, 1932, 1933, 1943, 1944, 1944–45, 1949–50, 1955, 1956, 1958, 1969, 1972–73, 1983–84 , 2023-24

ระดับทวีปยุโรป แก้

อ้างอิง แก้

  1. "About the club". Athletic Bilbao. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  2. "UEFA EURO 2020 Evaluation Report" (PDF). Uefa.com. สืบค้นเมื่อ 23 January 2017.
  3. "Philosophy: What is it". Athletic Bilbao. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  4. "Virtues and consequences of being a club fielding only homegrown talent". Athletic Bilbao. 28 June 2018. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  5. "Team 2020-21". Athletic Club. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้