อัตราดอกเบี้ย คือ อัตราที่ผู้ยืมเงิน (ลูกหนี้) จ่ายดอกเบี้ยสำหรับการใช้เงินที่ตนยืมมาจากผู้ให้ยืม (เจ้าหนี้) โดยเจาะจง อัตราดอกเบี้ยคือร้อยละของเงินต้นที่จ่ายเป็นจำนวนงวดต่อเวลาสำหรับระยะเวลาทั้งหมดระหว่างกำหนดระยะเวลาเงินกู้หรือเครดิตทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยปกติแสดงเป็นร้อยละของเงินต้นต่อระยะเวลาหนึ่งปี บางครั้งอาจแสดงสำหรับระยะเวลาอื่น เช่น เป็นเดือนหรือวัน มีอัตราดอกเบี้ยหลายอัตราสำหรับระยะเวลาเดียวกันหรือเทียบกันได้ ขึ้นอยู่กับความน่าจะผิดนัดชำระหนี้ของผู้ยืม ระยะเวลาตกค้าง เงินตราที่จ่ายคืน และตัวกำหนดอีกหลายตัวของเงินกู้หรือเครดิต ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งยืมเงินทุนจากธนาคารเพื่อซื้อสินทรัพย์ใหม่สำหรับธุรกิจของตน และเพื่อเป็นการตอบแทนผู้ให้ยืมได้สิทธิเหนือสินทรัพย์ใหม่เป็นหลักทรัพย์ประกัน และดอกเบี้ย ณ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับการยืดเวลาการใช้เงินทุนแล้วให้ยืมแก่ผู้ยืมแทน

เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือสำคัญของนโยบายการเงิน และถูกนำมาพิจารณาเมื่อจัดการกับตัวแปรอย่างการลงทุน เงินเฟ้อและการว่างงาน ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อต้องการเพิ่มการลงทุนและการบริโภคในเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี นโยบายเศรษฐกิจมหภาคอัตราดอกเบี้ยต่ำมีความเสี่ยงได้และอาจก่อให้เกิดฟองสบู่เศรษฐกิจ ซึ่งการลงทุนปริมาณมากเทเข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในประเทศพัฒนาแล้ว การปรับอัตราดอกเบี้ยจึงมีเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในพิสัยเป้าหมายสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือจำกัดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อป้องกันแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ[1]

อ้างอิง

แก้
  1. * "INSIGHT-Mild inflation, low interest rates could help economy". Reuters. 2 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.