อัจฉรา ภาณุรัตน์
รองศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ภาณุรัตน์ [1] อดีตรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
อัจฉรา ภาณุรัตน์ | |
---|---|
เกิด | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2497 |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | Ph.D. |
อาชีพ | ข้าราชการ |
ประวัติ แก้
รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ รับราชการครั้งแรก 19 มกราคม 2520 ที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 1 มิถุนายน 2521 โอนเข้าเป็นข้าราชการตำแหน่งอาจารย์วิทยาลัยครู สุรินทร์จนถึงปัจจุบัน ตำแหน่งทางวิชาการเป็น รองศาสตราจารย์ สังกดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
การศึกษา พ.ศ. 2510 เรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2514 ศึกษาระดับประกาศนียบัตรครูประถมศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยครูมหาสารคาม พ.ศ. 2516-2518 ศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต วิชาเอกคณิตศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม พ.ศ. 2527-2528 เรียนระดับปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกการอุดมศึกษา (หลักสูตรและการสอน) ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพฯ พ.ศ. 2531-2534 เรียนระดับปริญญาเอก ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต วิชาเอกอุดมศึกษา(การบริหาร) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
ตำแหน่งการบริหารงาน ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนา 2529–2532 สถาบันราชภัฏสุรินทร์ เลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ 2534–2542 สถาบันราชภัฏสุรินทร์ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 2534– ปัจจุบัน สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ประธานศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ 2542– ปัจจุบัน สถาบันราชภัฏสุรินทร์ รองอธิการบดีสถาบันราชภัฏสุรินทร์ 2538 –2540 สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย 2541–2542 โรงกลันนํ้ามันบางจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2542 –2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประธานสาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค 2547 – ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประธานมูลนิธิซิป SIFF 2548 – ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
รางวัลเกียรติ์คุณ รางวัล "สิงห์ทอง" (รางวัลธรรมาภิบาล) จาก ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์องคมนตรี ณ ศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ วันที่ 30 มีนาคม 2559
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง แก้
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๙๒, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖