เขตมิสซังกรุงเทพฯ

(เปลี่ยนทางจาก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ)

เขตมิสซังกรุงเทพฯ[2] คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Archidiœcesis Bangkokensis
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
อาณาเขตกรุงเทพมหานคร
พิกัด13°25′56″N 100°18′19″E / 13.4323°N 100.3054°E / 13.4323; 100.3054
สถิติ
พื้นที่18,831 ตารางกิโลเมตร (7,271 ตารางไมล์)
ประชากร
- รวม
- คาทอลิก
(2012)
13,226,721[1]
115,945[1] (0.9%)
แพริช54[1]
ข้อมูล
นิกายคาทอลิก
Sui iuris churchคริสตจักรละติน
จารีตจารีตโรมัน
สถาปนา18 ธันวาคม 1965; 58 ปีก่อน (1965-12-18)
อาสนวิหารอาสนวิหารอัสสัมชัญ
ผู้นำปัจจุบัน
สันตะปาปาสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ประมุขว่าง
ผู้ดูแลจากสันตะสำนักวีระ อาภรณ์รัตน์
อุปมุขนายกอดิศักดิ์ สมแสงสรวง
มุขนายกกิตติคุณมีชัย กิจบุญชู (1983–ปัจจุบัน)
เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช (2009-ปัจจุบัน)
แผนที่
เว็บไซต์
www.catholic.or.th

สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

ประวัติ

แก้

เขตมิสซังกรุงเทพฯ มีพัฒนาการสืบต่อมาจากเขตมิสซังสยาม (Apostolic Vicarate of Siam) ซึ่งเป็นเขตผู้แทนพระสันตะปาปาแห่งแรกของศาสนจักรคาทอลิกในสยามที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[3] ต่อมาเขตมิสซังสยามถูกแบ่งออกเป็นสองเขตมิสซัง โดยกรุงเทพขึ้นกับเขตมิสซังสยามตะวันออก (Vicariate Apostolic of Siam Orientale) ในปี ค.ศ. 1841 และเป็นเขตมิสซังกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 1924 เมื่อเห็นว่างานเผยแผ่ศาสนาในแผ่นดินไทยมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 จึงได้ทรงสถาปนาเขตมิสซังกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล (Archdiocese) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965[4] โดยมีพื้นที่ครอบคลุมภาคกลางของประเทศไทย แต่ทางราชการไทยยังคงเรียกว่าเขตมิสซังกรุงเทพฯ พระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ องค์สุดท้ายได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกองค์แรกของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ

ต่อมาพื้นที่บริเวณภาคกลางตอนบนถูกยกสถานะขึ้นเป็นเขตมิสซังนครสวรรค์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967[4] เขตมิสซังกรุงเทพฯ ปัจจุบันจึงมีพื้นที่เหลือครอบคลุม 11 จังหวัดข้างต้น

ประมุขมิสซัง

แก้

หากไม่นับรวมประมุขมิสซังสยาม ถือว่ามิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ มีประมุขมาแล้ว 5 องค์ ได้แก่

ลำดับ รูป รายชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1   เรอเน แปร์รอส ค.ศ. 1909 ค.ศ. 1947 ผู้แทนพระสันตะปาปา
2   หลุยส์ โชแรง ค.ศ. 1947 ค.ศ. 1965 ผู้แทนพระสันตะปาปา
3   ยอแซฟ ยวง นิตโย ค.ศ. 1965 ค.ศ. 1973 มุขนายกมหานคร
4   ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ค.ศ. 1973 ค.ศ. 2009 มุขนายกมหานคร
5   ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ค.ศ. 2009 ค.ศ. 2024 มุขนายกมหานคร

สถิติ

แก้

สถิติมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มีดังนี้

ข้อมูล พ.ศ. 2554[5] พ.ศ. 2555[6] พ.ศ. 2556[7] พ.ศ. 2557[8] พ.ศ. 2558[9] พ.ศ. 2559[10] พ.ศ. 2560[11] พ.ศ. 2561[12] พ.ศ. 2564[13] พ.ศ. 2565[14]
ชาวคาทอลิก 115,945 117,017 118,442 118,654 119,497 120,764 121,039 121,354 122,094 122,554
บาทหลวงมิสซัง 143 144 144 147 149 148 151 150 150 151
บาทหลวงนักบวช 93 99 97 103 98 102 92 86 93 90
ภราดา 51 52 61 55 58 60 63 57 64 66
ภคินี 456 466 456 450 441 439 448 464 440 439
โบสถ์ 70 70 70 70 70 70 74 74 75 76

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Catholic Hierarchy: "Archdiocese of Bangkok" retrieved November 8, 2015
  2. "เอกสารกรมการศาสนา หน้า 161" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-22.
  3. วิกตอร์ ลาร์เก, ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย, แม่พระยุคใหม่, 2539, หน้า 11
  4. 4.0 4.1 เรือง อาภรณ์รัตน์, พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์, เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2535, หน้า 50-3
  5. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2556/2013, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  6. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2557/2014, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  7. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  8. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2559/2016, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  9. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  10. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2018/2561, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  11. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2019/2562, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  12. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2020/2563, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  13. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2021/2564, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  14. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2022/2565, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้