อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์
อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ (อังกฤษ: Avenged Sevenfold, บางครั้งย่อว่า A7X) เป็นวงดนตรีร็อกชาวอเมริกันจากฮันติงตันบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 สมาชิกวงในปัจจุบันประกอบด้วย เอ็ม. แชโดวส์ นักร้องนำ, แซกกี เวนเจนซ์ มือกีตาร์จังหวะ, ซินนิสเตอร์ เกตส์ มือกีตาร์นำ, จอห์นนี ไครสต์ มือเบส, และบรุกส์ แวกเกอร์แมน มือกลอง
อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ | |
---|---|
อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ในปี พ.ศ. 2559 จากซ้ายไปขวา: เอ็ม. แชโดวส์, แซกกี เวนเจนซ์, จอห์นนี ไครสต์, ซินนิสเตอร์ เกตส์, และบรุกส์ แวกเกอร์แมน | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
รู้จักในชื่อ | A7X |
ที่เกิด | ฮันติงตันบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | เฮฟวีเมทัล, ฮาร์ดร็อก, เมทัลคอร์ (ช่วงแรก) |
ช่วงปี | พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | กูดไลฟ์เรเคิดดิงส์ (2001-2002) โฮปเลสเรเคิดส์ (2002-2004) วอร์เนอร์บราเธอร์ส (2004-2016) แคปิตอลเรเคิดส์ (2016-ปัจจุบัน) |
สมาชิก | |
อดีตสมาชิก |
|
เว็บไซต์ | avengedsevenfold |
อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์เปิดตัวด้วยแนวดนตรีเมทัลคอร์ ในอัลบัมซาวน์ดิงเดอะเซเวนท์ทรัมเปต แต่แนวเพลงของวงได้มีการพัฒนาในสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของวง ซิตีออฟอีวิล ในปี พ.ศ. 2548 ด้วยการออกจำหน่ายผ่านค่ายเพลงขนาดใหญ่ครั้งแรก มีแนวเพลงเปลี่ยนเป็นฮาร์ดร็อกและเฮฟวีเมทัล และได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจากเพลง "แบตคันทรี"[1] จากงานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ประจำปี พ.ศ. 2549 ต่อมาวงได้ทดลองเสียงใหม่ๆ ในอัลบั้มที่มีชื่อเดียวกับวง อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ และได้ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นมือกลองของวง เจมส์ "เดอะเรฟ" ซัลลิแวน ก็ได้เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552 ทำให้วงต้องคว้าตัวมือกลองคนใหม่ ไมค์ พอร์ตนอย มือกลองจากวงดรีมเธียร์เตอร์ และออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้า ไนต์แมร์ ในปี พ.ศ. 2553 พร้อมออกทัวร์คอนเสิร์ต เข้าสู่อันดับสูงสุดในบิลบอร์ด 200 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดตัวอัลบั้มแล้วได้อันดับหนึ่ง[2] และผลงานล่าสุด เฮลทูเดอะคิง ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2556 เป็นอัลบั้มแรกของมือกลองคนใหม่ แอริน อิเลไฮ เฮลทูเดอะคิง ติดอันดับ 1 ในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐอเมริกา และชาร์ตอัลบั้มเพลงสหราชอาณาจักร ตลอดจนชาร์ตในประเทศฟินแลนด์ บราซิล แคนาดา และไอร์แลนด์
ปัจจุบัน อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มทั้งหมด 8 ชุด, อัลบั้มบันทึกการแสดงสด/ดีวีดี 1 ชุด, อัลบั้มรวมเพลง 2 ชุด, 24 ซิงเกิล และจำหน่ายได้มากกว่า 8 ล้านชุดทั่วโลก[3][4]
ประวัติ
แก้การก่อตั้ง และอัลบั้ม ซาวน์ดิงเดอะเซเวนท์ทรัมเปต (2542–2545)
แก้อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ที่ฮันติงตันบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย สมาชิกในขณะนั้น ประกอบด้วย เอ็ม. แชโดวส์, แซกกี เวนเจนซ์, เดอะเรฟ และแมตต์ เวนดต์ โดยเอ็ม. แชโดวส์เป็นคนคิดชื่อของวงที่อ้างอิงมาจากเรื่องของเคนและอาเบล จากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งสามารถพบได้ในพระธรรมปฐมกาล 4:24 อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ไม่ได้เป็นวงดนตรีทางศาสนาแต่อย่างใด[5] ในขณะก่อตั้ง สมากชิกวงแต่ละคนได้นำเอานามแฝง ซึ่งมีอยู่แล้วในชื่อเล่นของพวกเขาจากสมัยที่อยู่ในโรงเรียนมัธยม[6] ต่อมาแมตต์ เวนดต์ ได้ถูกแทนที่โดยจัสติน เซน ซึ่งเป็นมือเบสเดิมของวงสเบอร์เบินเลเจินดส์ (Suburban Legends)
ก่อนที่จะออกอัลบั้มแรกของวง อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้บันทึกเดโม 2 ชุดในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2543[7][8] ในกลางปี พ.ศ. 2544 มีรายงานว่า จัสติน เซน มือเบสของวงได้พยายามฆ่าตัวตาย [9] โดยการดื่มยาน้ำเชื่อมแก้ไอในปริมาณมาก[10] ซึ่งส่งผลกระทบให้กับงาน เทกแอกชันทัวร์ ของวง[9] ในระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล เขายังคงอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก ทำให้ถูกแทนที่โดย ดาเมียน แอช[10] อัลบั้มเปิดตัวของอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ มีชื่อว่า ซาวน์ดิงเดอะเซเวนท์ทรัมเปต บันทึกเมื่อสมาชิกทั้งหมดของวงนั้นยังอายุเพียง 18 ปีเท่านั้น และยังอยู่ในโรงเรียนมัธยม เดิมได้ออกวางขายกับสังกัด กูดไลฟ์เรเคิดดิงส์ ในปี พ.ศ. 2544[11][12] หลังจากมือกีตาร์นำ ซินนิสเตอร์ เกตส์ ได้เข้ามาร่วมกับวง ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 วงได้ทำการอัดเสียงเพลงอินโทรของอัลบั้ม ที่มีชื่อเพลงว่า "ทูเอนด์เดอะแรปเชอร์" (To End The Rapture) ใหม่ และออกจำหน่ายอีกครั้งโดยค่ายเพลง โฮปเลสเรเคิดส์ ในปี พ.ศ. 2545 ทำให้วงเริ่มได้รับความสนใจและออกแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับวงอื่น เช่น มัชรูมเฮด, แชโดวส์ฟอลล์ และได้เล่นในงาน เทกแอกชันทัวร์[13][14]
อัลบั้ม เวกกิงเดอะฟอลเลน และ ซิตีออฟอีวิล (2546–2549)
แก้หลังจากที่ได้คว้าตัวมือเบสคนใหม่ จอห์นนี คริสต์ วงก็ได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองชื่อว่า เวกกิงเดอะฟอลเลน โดยโฮปเลสเรเคิดส์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 อัลบั้มนี้มีการปรับแต่งและการผลิตเสียงอย่างเต็มรูปแบบมาขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับอัลบั้มที่ผ่านมา และได้รับคำชมจากนิตยสารโรลลิงสโตน รวมถึงได้ออกแสดงดนตรีในงานแวนส์วาปด์ทัวร์[15][16] ในปี พ.ศ. 2547 อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้ออกทัวร์อีกครั้งในงานแวนส์วาปด์ทัวร์ และบันทึกวิดีโอสำหรับเพลง "อันโฮลีคอนเฟสชันส์" ซึ่งได้ไปปรากฏในรายการเฮดแบงเกอส์บอล ของเอ็มทีวี 2[17] หลังจากที่ออกจำหน่ายอัลบั้ม เวกกิงเดอะฟอลเลน ได้ไม่นาน อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ก็ได้ออกจากค่ายโฮปเลสเรเคิดส์ และเซ็นสัญญากับวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์
อัลบั้ม ซิตีออฟอีวิล เป็นอัลบั้มลำดับที่ 3 ของวง และเป็นอัลบั้มแรกที่ออกจำหน่ายผ่านค่ายเพลงขนาดใหญ่ ซึ่งออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และเปิดตัวบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในอันดับที่ 30 มียอดจำหน่ายมากกว่า 30,000 ชุดภายในสัปดาห์แรกของการออกจำหน่าย[18][19] อัลบั้มนี้มีความเป็นคลาสสิกเมทัลมากขึ้น มากกว่าสตูดิโออัลบั้มสองชุดที่ผ่านมาของอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ ที่เดิมเป็นแนวเพลงเมทัลคอร์[20][21] ซึ่งเอ็ม. แชโดวส์เลือกที่จะไม่ร้องแบบตะโกนร้อง หรือคำรามเสียง เหมือนกับ 2 อัลบั้มแรกที่เคยทำในอัลบั้ม ซาวน์ดิงเดอะเซเวนท์ทรัมเปต และ เวกกิงเดอะฟอลเลน เพราะเขามีปัญหาเส้นเลือดแตกในลำคอ และต่อมาต้องเข้ารับการผ่าตัดช่วยเหลือให้ดีขึ้น เขาจึงบอกว่าจุดนี้ที่ทำให้เขาต้องเปลี่ยนการร้องเพลงของเขาเอง แต่ภายหลังแชโดวส์ก็สามารถฝึกร้องได้ดีขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ที่เขาต้องเข้ารับการผ่าตัด และยังได้ ร็อน แอนเดอร์สัน ผู้ซึ่งเคยทำงานร่วมกับ Axl Rose และ Chris Cornell มาช่วยฝึกด้านการใช้เสียงให้ด้วย[20][22] อัลบั้มนี้ได้รับการวิจารณ์ในด้านบวกจากนิตยสารและเว็บไซต์หลายแห่ง และได้ให้แรงผลักดันให้อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์เป็นวงดนตรีที่เป็นที่นิยมในระดับสากล
หลังจากที่เล่นในงานออซเฟสต์ในปี พ.ศ. 2549 อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้เอาชนะนักร้องริทึมแอนด์บลูส์อย่าง ริอานนา และคริส บราวน์, Panic! at the Disco, Angels & Airwaves และเจมส์ บลันต์ สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ด้วยผลงานเพลงที่มีแรงบรรดาลใจมาจากเฟียร์แอนด์โลทิงอินลาสเวกัส มีชื่อเพลงว่า "แบตคันทรี"[23] พวกเขาได้กลับมาแสดงในงานแวนส์วาปด์ทัวร์ และต่อด้วยการแสดงทัวร์ของพวกเขา "ซีตีส์ออฟอีวิลทัวร์"[24] นอกจากนี้ ซิงเกิล "แบตคันทรี" ได้เข้าสู่อันดับ 2 ในชาร์ตเมนสตรีมร็อก และอันดับ 6 ในชาร์ตโมเดิร์นร็อกของบิลบอร์ด และวิดีโอของเพลงนี้ทำให้ติดอันดับ 1 ในรายการโททอลรีเควสต์ไลฟ์ของเอ็มทีวี[25] อัลบั้มนี้มียอดจำหน่ายที่ดี และเป็นผลงานแรกของอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ที่ได้รับรางวัลระดับทองคำ[26] และได้รับรางวัลระดับทองคำขาวต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
อัลบั้ม อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ และการเสียชีวิตของ "เดอะเรฟ" (2550–2552)
แก้อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้รับเชิญให้มาเข้าร่วมงานออซเฟสต์บนเวทีหลัก ร่วมด้วยศิลปินร็อกและเฮฟวีเมทัลที่เป็นที่รู้จัก เช่น ดรากอนฟอร์ซ, Lacuna Coil, เฮตบรีด, Disturbed และซิสเตมออฟอะดาวน์ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549[27] ในปีเดียวกันนั้นพวกเขาก็ยังได้สำเร็จการทัวร์ทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร (ตลอดจนทั่วทั้งยุโรป), ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ หลักจากการโปรโมตอัลบั้ม ซิตีออฟอีวิล ได้มีการยกเลิกทัวร์ Fall 2006 เพื่อที่จะบันทึกอัลบั้มใหม่[28] ในระหว่างนั้น ทางวงได้ออกจำหน่ายดีวีดีชุดแรก มีชื่อว่า ออลเอ็กเซส เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[29] ออลเอ็กเซส ซึ่งเปิดตัวด้วยอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา ในดีวีดีมีการแสดงสดและรวมภาพหลังเวทีที่ผ่านมา 8 ปีของวง นอกจากนี้ ได้มีอัลบั้มที่จัดทำขึ้นเพื่อยกย่องวง ได้แก่ Strung Out on Avenged Sevenfold: Bat Wings and Broken Strings และ Strung Out on Avenged Sevenfold: The String Tribute ซึ่งออกจำหน่ายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550
ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้ออกอัลบั้มที่มีชื่อเดียวกันกับวง เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของวง เข้าสู่อันดับที่ 4 ในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขาย 90,000 แผ่น[30] สองซิงเกิล ได้แก่ "คริทิคัลอักเคลม" และ "ออลโมสต์อีซี" ได้ออกมาก่อนที่จะมีการออกอัลบั้ม ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้มีมิวสิกวิดีโอที่เป็นแอนิเมชันของเพลง "อะลิตเติลพีซออฟเฮฟเวน" ซิงเกิลที่สาม "แอฟเตอร์ไลฟ์" และออกมิวสิกวิดีโอเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ซิงเกิลที่สี่ "เดียร์ก็อด" ออกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551 อัลบั้มนี้มียอดขายรวม 500,000 แผ่น รวมถึงได้รางวัล "อัลบั้มแห่งปี" ของเคอร์แรง[31]
ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552 มือกลองของวง เจมส์ "เดอะเรฟ" ซัลลิแวน ถูกพบว่าเสียชีวิตที่บ้านของเขาขณะอายุ 28 ปี[32]
อัลบั้ม ไนต์แมร์ (2553–2554)
แก้สมาชิกของวงได้ยอมรับในหลาย ๆ การสัมภาษณ์ว่าวงอาจจะต้องหยุดลงในเวลานี้[33][34] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้กล่าวว่าพวกเขาจะเข้าสู่สตูดิโอ ด้วยสมาชิกคนใหม่ ไมค์ พอร์ตนอย ซึ่งเป็นมือกลองจากวงดรีมเทียเตอร์ ที่จะมาทำหน้าที่เป็นมือกลองให้กับวงอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ แทนเดอะเรฟ[35]
ซิงเกิล "ไนต์แมร์" ออกจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[36][37] ก่อนหน้านี้ ตัวอย่างของเพลงได้ออกในวันที่ 6 พฤษภาคม ในเว็บไซต์ Amazon.com แต่ได้ถูกลบออกในเวลาต่อมา[37] อัลบั้มได้ทำการรวมเพลงเสร็จสมบูรณ์ในนครนิวยอร์ก และออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้าของวง ไนต์แมร์ ทั่วโลกในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[38] ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้ประกาศในเฟซบุ๊กว่า แอริน อิเลไฮ อดีตมือกลองจากวงคอนไฟด์ จะเริ่มออกทัวร์กับอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ แต่เขาก็ยังไม่ได้ถือว่าเป็นสมาชิกของวงอย่างเต็มรูปแบบในเวลานั้น[39][40]
อัลบั้ม เฮลทูเดอะคิง (2555–2557)
แก้แอริน อิเลไฮ ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าตนเป็นสมาชิกวงอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์อย่างเต็มรูปแบบ และรับหน้าที่แทนเดอะเรฟ เอ็ม. แชโดวส์ บอกว่าอัลบั้มนี้มีแนวเพลงที่มีอิทธิพลจากบลูส์ร็อกมากยิ่งขึ้น และคล้ายกับคลาสสิกร็อกหรือเมทัล เหมือนกับวงแบล็กแซ็บบาธ และวงเลด เซพเพลิน[41]
อัลบั้มนี้มีชื่อว่า เฮลทูเดอะคิง ออกจำหน่ายในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556[42] เป็นอัลบั้มแรกของอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ที่ไม่มีเดอะเรฟเป็นส่วนร่วมในการบันทึก ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มออกจำหน่ายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เฮลทูเดอะคิงได้ติดอันดับ 1 ในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐอเมริกา และชาร์ตอัลบั้มเพลงสหราชอาณาจักร ตลอดจนชาร์ตในประเทศฟินแลนด์ บราซิล แคนาดา และไอร์แลนด์
อัลบั้ม เดอะสเตจ (2558–ปัจจุบัน)
แก้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 เอ็ม. แชโดวส์ ได้ยืนยันว่าวงจะเริ่มทำผลงานอัลบั้มชุดที่เจ็ดในช่วงหน้าร้อนกลางปี พ.ศ. 2558 และมีคาดว่าจะมีกำหนดการออกอัลบั้มในปี พ.ศ. 2559[43] เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทางเว็บไซต์ของอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้ประกาศว่าพวกเขาได้แยกทางกับมือกลอง แอริน อิเลไฮแล้ว [44]
ในวันที่ 29 คุลาคม พ.ศ. 2558 ทางวงได้เปิดว่ากำลังทำเพลงชื่อว่า “Jade Helm” ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงเพื่อใช้เป็นซาวด์แทร็กให้กับโหมดมัลติเพลย์เยอร์ของเกม Call of Duty: Black Ops III ที่กำลังจะวางจำหน่ายในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 นี้ด้วย [45]
ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทางวงประกาศว่าบรุกส์ แวกเกอร์แมน จะเข้ามาแทนที่แอริน อิเลไฮ ในฐานะมือกลองของวงอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ [46]
แนวเพลงและอิทธิพลดนตรี
แก้อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ได้มีอิทธิพลดนตรีมาจาก กันส์แอนด์โรสเซส, ไอเอิร์นเมเดน, Pantera, Bad Religion, ดรีม เธียร์เตอร์, มอเตอร์เฮด, เมกาเดธ,[47] เมทัลลิก้า, แบล็กแซ็บบาธ, เลด เซพเพลิน, เดอะโรลลิงสโตนส์[48] เอซี/ดีซี, NOFX, อลิซอินเชนส์, Black Flag, Corrosion of Conformity, Suicidal Tendencies, มิสฟิตส์, สเลเยอร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมาชิก
แก้- สมาชิกปัจจุบัน
- เอ็ม. แชโดวส์ (M. Shadows) – ร้องนำ (พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน)
- แซกกี เวนเจนซ์ (Zacky Vengeance) – จังหวะกีตาร์, กีตาร์นำ, ร้องประสาน (พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน)
- ซินนิสเตอร์ เกตส์ (Synyster Gates) – กีตาร์นำ, ร้องประสาน (พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน)
- จอห์นนี ไครสต์ (Johnny Christ) – กีตาร์เบส, ร้องประสาน (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)
- บรุกส์ แวกเกอร์แมน (Brooks Wackerman) – กลอง (พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน)
- อดีตสมาชิก
- เดอะเรฟ (The Rev) – กลอง, เปียโน, ร้องประสาน (พ.ศ. 2542–2552; เสียชีวิต พ.ศ. 2552)
- แมตต์ เวนดต์ (Matt Wendt) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 2542–2543)
- จัสติน เซน (Justin Sane) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 2543–2544)
- เดเมียน แอช (Dameon Ash) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 2544–2545)
- แอริน อิเลไฮ (Arin Ilejay) – กลอง (พ.ศ. 2554–2558)
- สมาชิกร่วมบันทึกเสียงและร่วมทัวร์
- ไมค์ พอร์ตนอย (Mike Portnoy) - กลอง (พ.ศ. 2553)[49]
- เส้นเวลา
ผลงาน
แก้- สตูดิโออัลบั้ม
- Sounding the Seventh Trumpet (2001)
- Waking the Fallen (2003)
- City of Evil (2005)
- Avenged Sevenfold (2007)
- Nightmare (2010)
- Hail to the King (2013)
- The Stage (2016)
- Life Is but a Dream... (2023)
รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง
แก้ปี | ผลงานที่เสนอชื่อ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2006 | Band: Avenged Sevenfold | MTV Music Awards: Best New Artist | ชนะ |
Band: Avenged Sevenfold | Golden God Awards: Best International Band | ชนะ | |
Synyster Gates on City of Evil | Total Guitar: Guitarist of the Year | ชนะ | |
Synyster Gates on City of Evil | Dimebag Darrell "Young Shredder" Award | ชนะ | |
Band: Avenged Sevenfold | Kerrang! Awards: Best Band on the Planet | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2008 | Band: Avenged Sevenfold | Kerrang! Awards: Best International Band | เสนอชื่อเข้าชิง |
Band: Avenged Sevenfold | Kerrang! Awards: Best Live Band | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Avenged Sevenfold | Kerrang! Awards: Album of the Year | ชนะ | |
2010 | The Rev on Nightmare | Golden God Awards: Best Drummer | ชนะ |
Band: Avenged Sevenfold | Kerrang! Awards: Best International Band | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2011 | Mike Portnoy on Nightmare | Golden God Awards: Best Drummer[50] | ชนะ |
Synyster Gates & Zacky Vengeance on Nightmare | Golden God Awards: Best Guitarists[50] | ชนะ | |
M. Shadows on Nightmare | Golden God Awards: Best Vocalist[50] | ชนะ | |
Nightmare | Golden God Awards: Album of the Year[50] | ชนะ | |
Best Live Band | Golden God Awards: Best Live Band | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Best Live Band | Kerrang! Awards: Best Live Band | เสนอชื่อเข้าชิง | |
"Nightmare" | Kerrang! Awards: Best Single | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Nightmare | Kerrang! Awards: Best Album | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Band: Avenged Sevenfold | Kerrang! Awards: Best International Band | เสนอชื่อเข้าชิง | |
"Buried Alive" | Revolver Magazine: Song of the Year | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2012 | Best Live Band | Golden God Awards: Best Live Band | ชนะ |
Most Dedicated Fans | Golden God Awards: Most Dedicated Fans | ชนะ | |
2013 | Carry On | Golden God Awards: Song of the Year | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ 2006 Video Music Awards เก็บถาวร 2013-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mtv.com
- ↑ Avenged Sevenfold Scores First No. 1 Album on Billboard 200 Billboard.com August 4, 2010
- ↑ RIAA's Gold & Platinum Program searchable database Search Term: Avenged Sevenfold. Accessed: May 18, 2011
- ↑ "Gold Platinum Database". Musiccanada.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-02-20.
- ↑ Decker, Ashley Interview with Avenged Sevenfold เก็บถาวร 2011-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Skratch Magazine.
- ↑ Interview with Avenged Sevenfold through Jacky Bam Bam เก็บถาวร 2011-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "I think we all kind of had [the pseudonyms] before we were in the band." 93.3 WMMR Radio. March 19, 2009.
- ↑ "Avenged Sevenfold". Monsters and Critics.
they released two demos in the years 1999 and 2000, entitled "1999 Demo" and "2000 Demo".
- ↑ Metalkingdom.net discography listing เก็บถาวร 2014-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, including the two demos. Accessed November 8, 2014.
- ↑ 9.0 9.1 "Interview with A7X". Seizethedaywitha7x.tripod.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-26. สืบค้นเมื่อ 2013-02-20.
- ↑ 10.0 10.1 "Thursday, Avenged Sevenfold, Poison the Well Take Action Against Suicide". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ December 28, 2012.
- ↑ Fuoco, Christina Fuoco. "Avenged Sevenfold". Allmusic.com. Rovi. สืบค้นเมื่อ November 8, 2014.
- ↑ "AOL.com". Music.aol.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-17. สืบค้นเมื่อ September 18, 2010.
- ↑ Brace, Eric. "The Circuit." The Washington Post. Accessed via LexisNexis. "Cleveland's excellent envelope-pushing metal band Mushroomhead performs Wednesday night at Jaxx (703-569-5940), along with Shadows Fall, Avenged Sevenfold and High on Fire." October 18, 2002.
- ↑ Take Action Tour 2003 เก็บถาวร 2009-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NinerOnline. September 19, 2003.
- ↑ "Artists to Watch: Avenged Sevenfold." Billboard. "Orange County, Calif.'s Avenged Sevenfold stands at a crossroads. Kielty, Tom "Music Review The Vans Off the Wall Tour Suicide Machines, the Unseen and Avenged Sevenfold" The Boston Globe. Accessed via LexisNexis. "Earlier, Avenged Sevenfold showed a dramatic flair, opening its set with a sample of the theme from "The Exorcist" before combining impressive harmonies with a muscular melody that recalled early A.F.I."
- ↑ Vans Warped Tour 2003 News Unrated Magazine. Publicity Release.
- ↑ "Headbanger's Ball spawns second compilation" BPI Entertainment News Wire. "Here is the MTV2 Headbanger's Ball, Volume 2" track list... Disc one... 'Unholy Confessions,' Avenged Sevenfold." August 2, 2004.
- ↑ Whitmire, Margo Coldplay Earns First Billboard 200 No. 1 Billboard. June 15, 2005.
- ↑ Avenged Sevenfold's "City of Evil" Unleashed June 7 เก็บถาวร 2009-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Market Wire. June 22, 2005.
- ↑ 20.0 20.1 Warped Tour outlasted by putting teenagers' interests first The Orange County Register. July 6, 2005. "We were lumped into metalcore, but with this record we really wanted to get out of it... We didn't even know why we were screaming. One day, we were just like, ' (Bleep) this, there's no way we're gonna scream on the next record.'"
- ↑ "Avenged Sevenfold: City of Evil." The New Zealand Herald accessed via LexisNexis. September 11, 2005. "But City Of Evil is some of the most exciting and epic rock'n'roll around at the moment. In fact, this album is a snorting and snarling mongrel that is as much for fans of classic rock as it is for those into metal."
- ↑ Avenged Sevenfold Interview Blistering.
- ↑ Rollingstone.com เก็บถาวร 2010-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Rolling Stone.
- ↑ Avenged Sevenfold's Cities Of Evil Tour 2005 to Begin October เก็บถาวร 2018-04-17 ที่ Wikiwix Market Wire through Warner Bros. Records. Sep 13, 2005.
- ↑ Moss, Corey Avenged Sevenfold: Appetite for Destruction เก็บถาวร 2015-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV.
- ↑ "Roadrunnerrecords.com". Roadrunnerrecords.com. สืบค้นเมื่อ September 18, 2010.
- ↑ Harris, Chris Avenged Sevenfold Confirmed for Ozzfest's Main Stage เก็บถาวร 2007-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News. May 19, 2006.
- ↑ Moss, Corey Avenged Sevenfold Seek Rat-Infested Garage to Record Next LP เก็บถาวร 2010-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News. October 4, 2006.
- ↑ Avenged Sevenfold Brings "All Excess" to the Big Screen Market Wire. July 11, 2007.
- ↑ "Eagles Fly Past Britney to Debut at No. 1", Billboard.com, November 7, 2007.
- ↑ Avenged Sevenfold Won Kerrang's 'Album of the Year' Award Ultimate Guitar. August 22, 2008.
- ↑ "RoadRunnerRecords.com". RoadRunnerRecords.com. สืบค้นเมื่อ September 18, 2010.
- ↑ "Avenged Sevenfold". Rock Sound.
- ↑ "Avenged Sevenfold". Rock in Town. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-11. สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
- ↑ "AvengedSevenfold.com". AvengedSevenfold.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-22. สืบค้นเมื่อ September 18, 2010.
- ↑ "AVENGED SEVENFOLD To Release Nightmare Single This Month". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. May 7, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-11. สืบค้นเมื่อ May 12, 2010.
- ↑ 37.0 37.1 "Avenged Sevenfold Nightmare – Further Details Made Available!". Metal Hammer. May 7, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ May 12, 2010.
- ↑ "Late AVENGED SEVENFOLD Drummer 'Appears' On Band's New Album". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. May 14, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-17. สืบค้นเมื่อ May 14, 2010.
- ↑ "Message from A7X". Facebook. January 20, 2011.
- ↑ "News | Avenged Sevenfold announce Arin Ilejay as new drummer". Alt Press. 2011-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
- ↑ "M Shadows Wants The New Avenged Sevenfold Album To Be A Metal/Rock Classic". Metal Hammer. 2013-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
- ↑ http://www.revolvermag.com/news/avenged-sevenfold-reveal-cover-art-title-and-release-date-of-new-album.html
- ↑ News, Desk (October 26, 2014). "Avenged Sevenfold To Begin Writing New Album By Next Summer". Blabbermouth.net. สืบค้นเมื่อ November 8, 2014.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-31. สืบค้นเมื่อ 2015-07-24.
- ↑ http://www.blabbermouth.net/news/avenged-sevenfold-contributes-instrumental-song-jade-helm-to-call-of-duty-black-ops-iii-soundtrack.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ http://loudwire.com/avenged-sevenfold-new-drummer-brooks-wackerman.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "Avenged Sevenfold influences". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-20. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
- ↑ http://www.blabbermouth.net/news/avenged-sevenfold-bassist-interviewed-on-spokanes-rock-94-and-12-video/
- ↑ "Upcoming shows". Avenged Sevenfold. 2011-07-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
- ↑ 50.0 50.1 50.2 50.3 "Avenged Sevenfold Dominate The 2011 Golden Gods Awards". Star Pulse. April 21, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-23. สืบค้นเมื่อ September 14, 2011.