อะม็อกซีซิลลิน (อังกฤษ: amoxicillin, amoxycillin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค[1] เป็นยาที่แนะนำให้ใช้เป็นลำดับแรกในการรักษาหูชั้นกลางอักเสบ[1] อาจใช้รักษาคออักเสบจากเชื้อสเตร็ป ปอดอักเสบ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอื่นๆ[1] ยานี้เป็นยากิน ส่วนการฉีดนั้นมีที่ใช้อยู่บ้างแต่น้อย[1][2]

อะม็อกซีซิลลิน
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: A
  • US: B (ไม่มีความเสี่ยงในสัตว์)
ช่องทางการรับยาOral, intravenous
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • UK: POM (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล95% oral
การเปลี่ยนแปลงยาless than 30% biotransformed in liver
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ61.3 minutes
การขับออกrenal
ตัวบ่งชี้
  • (2S,5R,6R)-6-{[(2R)-2-amino-2-(4-hydroxyphenyl)-acetyl]amino}-3,3-dimethyl-7-oxo-4-thia-1-azabicyclo[3.2.0]heptane-2-carboxylic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
ECHA InfoCard100.043.625
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC16H19N3O5S
มวลต่อโมล365.4 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Oc1ccc(cc1)[C@@H](N)C(=O)N[C@@H]1C(=O)N2[C@@H]1SC(C)(C)[C@@H]2C(=O)O
สารานุกรมเภสัชกรรม
Amoxicillin BP

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือการมีผื่น และอาการคลื่นไส้[1] หากใช้ร่วมกับกรดคลาวูลานิกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อรา และอาการท้องเสียได้[3] ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลลิน[1] หากใช้ในผู้ป่วยโรคไตอาจต้องลดขนาดยาลง[1] การใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังไม่พบว่ามีอันตราย[1]

อะม็อกซีซิลลินได้รับการค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1958 และถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1972[4][5] ได้รับการจัดเป็นหนึ่งในรายการยาสำคัญต้นแบบขององค์การอนามัยโลก และถือเป็นยาที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลดีที่สุดชนิดหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ[6] เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกสั่งใช้ในเด็กบ่อยมากที่สุดตัวหนึ่ง มีผลิตจำหน่ายได้โดยทั่วไป[1] ราคาขายส่งของยานี้ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่แคปซูลละ 0.02-0.05 ดอลลาร์สหรัฐ[7] ค่าใช้จ่ายตลอดการรักษาหากใช้เวลาสิบวันอยู่ที่ประมาณ 16 ดอลลาร์สหรัฐ[1]

ข้อบ่งชี้สำหรับการใช้ยานี้ แก้

การติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อพวก Gram-negative, Gram-positive

ผลข้างเคียงของยา แก้

  • ถ้าเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยา และ ไปพบแพทย์ทันที: หายใจถี่ เกิดเสียงวี๊ด คันลมพิษ เพราะอาจจะต้องการรักษาแบบทันท่วงที
  • ถ้าเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้รับประทานยาพร้อมอาหาร
  • ถ้าเกิดอาการท้องร่วง ผื่น ให้พบแพทย์ถ้าอาการของคุณรุนแรง หรือ มีอาการมากกว่า 2 วัน

คำเตือนและข้อควรระวัง แก้

  • หญิงตั้งครรภ์ หรือ หญิงให้นมบุตร ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้
  • ถ้ามีอาการแพ้ penicillin หรือ แพ้ยาตัวอื่น หรือ ถ้ามีอาการหอบหืด ไข้ละอองฟาง แพ้ หรือเป็นโรคไต ให้บอกแพทย์ก่อนใช้ยานี้

คำแนะนำระหว่างใช้ยานี้ แก้

  • ให้รับประทานยาจนครบตามใบสั่งแพทย์ หลังจากที่มีการติดเชื้อ ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลับมาอีกก็ได้ก่อนที่จะใช้ยานี้ ให้บอกแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง
  • ถ้าใช้ตามใบสั่งแพทย์อยู่ แต่อาการติดเชื้อยังคงอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์
  • ถ้าแพทย์สั่งให้หยุดใช้ยานี้ แสดงว่ายานี้ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย
  • ไม่ควรให้บุคคลอื่นรับประทานยานี้ร่วมกับคุณ
  • ภาชนะบรรจุ liquid และ drops จะมีบอกวันหมดอายุไว้ด้วย ฉะนั้นไม่รับประทานยาหลังจากวันหมดอายุ

ชื่อการค้า แก้

Amacin, Amoxy, Biomox, Ibiamox, Amoxil–Bencard, Amoxcillin

วิธีใช้ แก้

  • ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 500 mg วันละ 3 ครั้ง ทุก 8 ชม.
  • เด็ก รับประทานครั้งละ 250 mg วันละ 3 ครั้ง ทุก 8 ชม.

การเก็บรักษา แก้

  • เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิทและเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแดงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
  • ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Amoxicillin". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.
  2. "Amoxicillin Sodium for Injection". EMC. 10 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.
  3. Gillies, M; Ranakusuma, A; Hoffmann, T; Thorning, S; McGuire, T; Glasziou, P; Del Mar, C (17 November 2014). "Common harms from amoxicillin: a systematic review and meta-analysis of randomized placebo-controlled trials for any indication". CMAJ : Canadian Medical Association Journal. 187: E21-31. doi:10.1503/cmaj.140848. PMC 4284189. PMID 25404399.
  4. Fischer, Janos; Ganellin, C. Robin (2006). Analogue-based Drug Discovery (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 490. ISBN 9783527607495. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  5. Roy, Jiben (2012). An introduction to pharmaceutical sciences production, chemistry, techniques and technology. Cambridge: Woodhead Pub. p. 239. ISBN 9781908818041. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  6. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  7. "Amoxicillin". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.[ลิงก์เสีย]