โครงการอะพอลโล 10 เป็นโครงการแบบมีนักบินอันดับที่สี่ของโครงการอะพอลโลของสหรัฐอเมริกา โดยเป็นแบบภารกิจ F ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับโครงการอะพอลโล่ 11 โดยมีการทดสอบขั้นตอนและระบบต่างๆ สำหรับการลงจอดบนดวงจันทร์โดยไม่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์จริงๆ ภารกิจของโครงการประกอบไปด้วยการส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์และทดสอบระบบของยานลงจอดในวงโคจรของดวงจันทร์ โดยวงโคจรห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 15.6 กิโลเมตร

อะพอลโล 10
ภาพยานอะพอลโล 10
ประเภทภารกิจF
ผู้ดำเนินการNASA[1]
COSPAR ID
  • CSM: 1969-043A
  • LM: 1969-043C
SATCAT no.
  • CSM: 3941
  • LM: 3948
ระยะภารกิจ8 days, 3 minutes, 23 seconds
ข้อมูลยานอวกาศ
ยานอวกาศ
ผู้ผลิต
มวลขณะส่งยาน98,273 ปอนด์ (44,576 กิโลกรัม)
มวลหลังการลงจอด10,901 ปอนด์ (4,945 กิโลกรัม)
บุคลากร
ผู้โดยสาร3
รายชื่อผู้โดยสาร
รหัสเรียก
  • CSM: Charlie Brown
  • LM: Snoopy
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นMay 18, 1969, 16:49:00 (1969-05-18UTC16:49Z) UTC
จรวดนำส่งSaturn V SA-505
ฐานส่งKennedy LC-39B
สิ้นสุดภารกิจ
เก็บกู้โดยยูเอสเอส Princeton
ลงจอดแม่แบบ:End-date UTC
พิกัดลงจอด15°2′S 164°39′W / 15.033°S 164.650°W / -15.033; -164.650 (Apollo 10 splashdown)
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงSelenocentric
ระยะใกล้สุด109.6 กิโลเมตร (59.2 ไมล์ทะเล)*
ระยะไกลสุด113.0 กิโลเมตร (61.0 ไมล์ทะเล)*
ความเอียง1.2 องศา
คาบการโคจร2 ชั่วโมง
ยานอวกาศโคจรรอบ ดวงจันทร์
ส่วนประกอบยานอวกาศCommand and service module
แทรกวงโคจรMay 21, 1969, 20:44:54 UTC
ออกวงโคจรMay 24, 1969, 10:25:38 UTC
วงโคจร31
ยานอวกาศโคจรรอบ ดวงจันทร์
ส่วนประกอบยานอวกาศLunar module
วงโคจร4
ลักษณะวงโคจร
จุดใกล้ที่สุด14.4 กิโลเมตร (7.8 ไมล์ทะเล)*
Docking with LM
Docking dateMay 18, 1969, 20:06:36 UTC
Undocking dateMay 22, 1969, 19:00:57 UTC
Docking with LM Ascent Stage
Docking dateMay 23, 1969, 03:11:02 UTC
Undocking dateMay 23, 1969, 05:13:36 UTC

ซ้ายไปขวา: เซอร์นัน, สตัฟฟอร์ด, ยัง 

ตามสถิติจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ โครงการอะพอลโล 10 ทำลายสถิติความเร็วสูงสุดเท่าที่ยานพาหนะแบบมีคนขับจะทำได้ โดยทำความเร็วได้ถึง 39,897 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระหว่างการเดินทางกลับจากดวงจันทร์ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1969

เนื่องจากได้มีการนำชื่อ ชาร์ลี บราวน์ และสนูปี้ จากการ์ตูนเรื่อง พีนัตส์ เป็นรหัสสำหรับการติดต่อสื่อสาร ทำให้สนูปี้ และ ชาร์ลี บราวน์ กลายเป็นมาสคอตของโครงการไปโดยปริยาย นอกจากนี้แล้ว นาย ชารล์ เอ็ม ชูลซ์ ผู้วาดการ์ตูนพีนัตส์ ก็ได้มีการวาดการ์ตูนเกี่ยวกับองค์กรนาซ่าเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Orloff, Richard W. (September 2004) [First published 2000]. "Table of Contents". Apollo by the Numbers: A Statistical Reference. NASA History Division, Office of Policy and Plans. NASA History Series. Washington, D.C.: NASA. ISBN 0-16-050631-X. LCCN 00061677. NASA SP-2000-4029. สืบค้นเมื่อ June 25, 2013.