อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ

วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 เลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ เลขาธิการกลางคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต คนที่ 3, ผู้นำสหภาพโซเวียตคนที่ 5 และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต คนที่ 4 ถึงแก่อสัญกรรมลง ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด สิริอายุ 75 ปี การถึงแก่อสัญกรรมได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดยวิทยุและโทรทัศน์ของสหภาพโซเวียตในวันที่ 11 พฤศจิกายน[1] โดยมีรัฐพิธีศพและฝังร่างที่ กำแพงสุสานเครมลิน ยูรี อันโดรปอฟ ทายาททางการเมืองของเบรจเนฟ ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการกลางในวันที่ 15 พฤศจิกายน 5 วันหลังอสัญกรรมของเบรจเนฟ

อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ
ร่างของ เลโอนิด เบรจเนฟ นอนอยู่บนแท่นพิธี ณ ห้องโถงกลางทำเนียบสหภาพ
วันที่10–15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982
ที่ตั้งจัตุรัสแดง, มอสโก, สหภาพโซเวียต
ผู้เข้าร่วมยูรี อันโดรปอฟ, คอนสตันติน เชียร์เนนโค, นีโคไล ตีโฮนอฟ, ดมีตรี อุสตีนอฟ, มีฮาอิล กอร์บาชอฟ, บุคคลสำคัญจากโซเวียตและต่างประเทศ

ในรัฐพิธีมีประมุขแห่งรัฐจาก 32 ประเทศ, หัวหน้ารัฐบาลจาก 15 ประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 14 คน และเจ้าชายจาก 4 ประเทศมาร่วมงานนี้ ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐโรนัลด์ เรแกน ส่ง จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช รองประธานาธิบดีสหรัฐ เข้าร่วมแทน

การถึงแก่อสัญกรรมและการประกาศ แก้

เบรจเนฟได้ต่อสู้กับอาการป่วยหลายอย่างนับตั้งแต่ ค.ศ. 1974 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งในช่องปาก, โรคถุงลมโป่งพองและโรคระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งทั้งหมดได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่จัดและภาวะจากโรคอ้วนมากขึ้น มีข่าวลือเรื่องถึงแก่อสัญกรรมของเบรจเนฟตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เนื่องจากเขาได้ขาดการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ และ การทำสนธิสัญญาต่าง ๆ และมีข่าวลือว่าสุขภาพของเขากำลังแย่ลง[2] เบรจเนฟไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสาธารณชนในช่วงกลางปี ค.ศ. 1982 และมักจะอยู่ในความดูแลของหมอ แม้ว่ารัฐบาลโซเวียตยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง เขาได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างรุนแรง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1982 เขาปฏิเสธที่จะสละตำแหน่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 หลังจากประสบภาวะหัวใจวาย จากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด[3]ศพเขาได้รับเกียรติให้ฝังร่างที่สุสานกำแพงเครมลิน ที่จัตุรัสแดง หลังจากช่วงเวลาห้าวันที่มีการไว้ทุกข์ทั่วประเทศ[4]

สัญญาณแรกที่บ่งบอกถึงการถึงแก่อสัญกรรมของเขา เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 19:15 น. ตามเวลามอสโกเมื่อรายการโทรทัศน์ปกติเปลี่ยนแปลงไปจากที่ต้องถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตเพลงป๊อปได้ถูกแทนที่ด้วยสารคดีเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของวลาดิมีร์ เลนิน ทางด้านรายการ เวรียเมีย พีธีกรสวมเสื้อผ้าอึมครึมแทนการแต่งกายตามปกติ ในตอนแรกชาวโซเวียตเชื่อว่าเป็นการแถลงการเสียชีวิตของอันเดรย์ คีรีเลนโค (เขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1990) เพราะเขาไม่ได้เข้าร่วมในงานพิธีสวนสนามและเฉลิมฉลองครบรอบ 65 ปี การปฏิวัติสังคมนิยมแห่งเดือนตุลาคมอันยิ่งใหญ่ที่จัตุรัสแดง นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการโทรทัศน์อย่างฉับพลัน เช่น การเตือนภัยสงครามและการเปลี่ยนการถ่ายทอดสดการแข่งขันฮ็อกกี้น้ำแข็งบนช่องรายการ 2 ด้วยการแสดงเพลง ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ของปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี การถึงแก่อสัญกรรมของเบรจเนฟได้มีการประกาศในวันที่ 11 พฤศจิกายนพร้อมกันทางวิทยุและโทรทัศน์[1]ส่วนการประกาศทางโทรทัศน์ได้รับการแถลงการโดยอีกอร์ คีรีลลอฟ ด้วยน้ำตา ในเวลา 11.00 น. ตามเวลามอสโก[5]

ทางฝั่งโลกที่หนึ่งที่ได้คาดการณ์ว่าเลโอนิด เบรจเนฟถึงแก่อสัญกรรม หลังส่งสารแสดงความยินดีแก่ฌูแซ เอดัวร์ดู ดุช ซังตุช ประธานาธิบดีแห่งแองโกลาในวันประกาศอิสรภาพของแองโกลา จากการประกาศอันล่าช้าทางฝั่งโลกที่หนึ่งมองว่าอาจมีปัญหาในการสืบทอดอำนาจต่อจากเบรจเนฟ[4]

รัฐพิธีศพ แก้

วันที่ 11 พฤศจิกายน ยูรี อันโดรปอฟ ได้รับเลือกให้เป็นประธานในพิธีศพ ตามความคิดในโลกที่หนึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ายูรี อันโดรปอฟได้รับการสืบทอดอำนาจต่อจากเบรจเนฟ[6] ในช่วงงานร่างของผู้นำสหภาพโซเวียตถูกจัดแสดงบนเบาะกำมะหยี่ ซึ่งจัดขึ้นในขบวนที่อยู่เบื้องหลังโลงศพ [7] มีเจ้าหน้าที่คุ้มกันของร่างเบรจเนฟร่วม 44 คน[7]

กาลินา เบรจเนฟ ลูกสาวของ เบรจเนฟ ถูกเชิญตัวเขามาในพิธีพร้อมกับการ์ดสองคนตามหลัง อันโดรปอฟ ผู้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการพรรคเข้ากอด วิคตอเรีย เบรจเนฟ ภรรยาของเบรจเนฟ แต่อันโดรปอฟถูกกล่าวหาว่าไม่ให้ความสำคัญกับ กาลินา [8] ข้อกล่าวหานี้ถูกโต้แย้งด้วยบทความในนิตยสาร ไทม์ ในปี ค.ศ. 1982 อ้างว่า อันโดรปอฟ กอดทั้งสองและไม่ใช่แค่ วิคตอเรีย [9] แม้กระนั้นในช่วง 15 เดือนที่อันโดรปอฟปกครอง กาลินาหยุดปรากฏตัวต่อสาธารณชน[8] ในงานรัฐพิธีศพ อันโดรปอฟกล่าวยกย่องเบรจเนฟว่า "การต่อสู้ของเขานั้นได้ทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างประเทศและพามนุษยชาติรอดพ้นภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์" และยกย่องนโยบายผ่อนคลายของเขา[10] อันเดรย์ คีริเลนโค สมาชิกโปลิตบูโร ต่างหลั่งน้ำตาให้กับวิคตอเรียในงานรัฐพิธีศพ[9]

มีลิตซียา ในมอสโกได้ทำการปิดกรุงมอสโก [11] ในระหว่างงานศพในวันที่ 15 พฤศจิกายน[12] เส้นทางใหญ่ได้รับการคุ้มกันอย่างแน่นหนาโดยตำรวจและทหารรักษาการณ์ของมอสโก ทหารผู้ยืนอยู่หน้าทำเนียบสหภาพสวมชุดรัดแขนสีแดงดำ ทำเนียบสหภาพได้รับการตกแต่งด้วยธงสีแดงและริ้บบินสีดำจำนวนมากและสัญลักษณ์คอมมิวนิสต์แบบต่าง ๆ [11] ในวันที่สาม โลงที่มีร่างของเลโอนิด เบรจเนฟ ถูกวางไว้บนรถปืนใหญ่ซึ่งลากจูงด้วยรถหุ้มเกราะบีอาร์ดีเอ็ม-2 สีเขียวมะกอกของกองทัพโซเวียต มีการนำพวงมาลัยหลายสิบชิ้นรวมถึงเครื่องอิสริยาภรณ์ของเบรจเนฟจากเจ้าหน้าที่ทหารของโซเวียตและผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ ประดับตลอดเส้นทางไปยังสุสานเลนิน บนจัตุรัสแดง อันโดรปอฟเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์เป็นคนแรก ตามด้วยดมีตรี อุสตีนอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อะนาโตลี อะเลคซันดรอฟ นักฟิสิกส์และประธานบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์ และคนงานในโรงงาน[13] หลังการกล่าวสุนทรพจน์ก็มีการได้แบกโลงศพนำโดย อันโดรปอฟ และ นีโคไล ตีโฮนอฟ ประธานสภารัฐมนตรีไปยังบริเวณใกล้สุสาน ครอบครัวเบรจเนฟอำลาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่นำร่างและโลงลงหลุมฝัง วิคตอเรีย จูบบนใบหน้าเบรจเนฟตามประเพณีของรัสเซีย ในขณะที่ร่างกายของเบรจเนฟถูกนำลงไปไว้ในหลุมฝังศพ ทหารวงดุริยางค์ได้บรรเลงเพลงชาติโซเวียต

ตามรายงานระบุว่าได้มีการทำร่างเบรจเนฟตกพื้นสองครั้ง ขณะที่ยกโลงศพขึ้นไปบนแท่นพิธีในทำเนียฟสหภาพ โลงศพของเบรจเนฟกลับตกลงไปด้านล่าง หลังจากนั้นก็มีการสร้างโลงศพใหม่ที่ทำจากโลหะและเมื่อนำลงไปไว้ในหลุมฝังศพ คนงานไม่สามารถจัดการน้ำหนักของโลงศพได้ทำให้โลงศพตกลงไปในหลุมฝังศพอย่างรวดเร็ว[14] ถึงอย่างไรก็ดีเรื่องราวนี้กลับได้รับการโต้แย้งโดย เกออร์กี โควาเลนโค หนึ่งในคนงาน โดยกล่าวว่าทุกอย่างเรียบร้อย และโลงศพถูกลดระดับตามเสียงกระดิ่ง[15]

บุคคลสำคัญจากต่างประเทศ แก้

ในงานรัฐพิธีศพเข้าร่วมจากต่างประเทศได้แก่ ประมุขแห่งรัฐจาก 32 ชาติ ผู้นำประเทศจาก 15 ชาติ รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 14 ชาติและเจ้าชายจาก 4 ชาติ[16] ในบรรดาผู้ทรงเกียรติต่างชาติเข้าร่วมงานรัฐพิธีศพอาทิ อินทิรา คานธีจากประเทศอินเดีย, ปีแยร์ โมรัว จากประเทศฝรั่งเศส, บาบรัค คาร์มาล จากประเทศอัฟกานิสถาน, ฟีเดล กัสโตรจากประเทศคิวบา, หวง ฮ่าจากประเทศจีน, ยัสเซอร์ อาราฟัตจากองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์, วอยแชค ยารูแซลสกี จากประเทศโปแลนด์, เมนกิสตู ไฮเล มาเรียม จากประเทศเอธิโอเปีย, โมสซา ทราออเร จากประเทศมาลี, เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี, นิโคไล เชาเชสกู จากประเทศโรมาเนียและ ฮาฟิซ อัลอะซัด จากประเทศซีเรีย และอีกมากมาย[16] ซึ่งอัลอะซัดได้ให้ชาวซีเรียไว้ทุกข์เป็นเวลา 7 วัน หลังการประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของเบรจเนฟ[12] นอกจากนี้ปีแยร์ ทรูโดนายกรัฐมนตรีแคนาดาได้ส่งนำลูกชายของเขาจัสติน ทรูโดไปร่วมในพิธีซึ่งในอนาคตจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี[17]ทางด้านประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โรนัลด์ เรแกนไม่ได้เข้าร่วมพิธี แต่ส่งคณะผู้แทนนำโดยรองประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จอร์จ ชูลท์ซ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง วิลเลียม เจ. เคซี และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ วิลเลียม พี. คลาร์ก จูเนียร์[18]

การแสดงความอาลัย แก้

ท่ามกลางความเสียใจอย่างเด่นชัด จากโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ เมื่อเวลา 3:35 น. เขาเขียนข้อความสองย่อหน้าเกี่ยวกับเบรจเนฟว่า "เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดในโลกมาเกือบสองทศวรรษ" และแสดงความหวังในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา [11] สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2ให้สัญญาว่า"เราจะคิดถึงเป็นอย่างยิ่งสำหรับความทรงจำของผู้จากไปที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง"[11] ขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันตก เฮลมุท ชมิดท์ พูดถึงการถึงแก่อสัญกรรมของเบรจเนฟ "เป็นความรู้สึกที่เจ็บปวด" [11] รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและอินทิรา คานธีนายกรัฐมนตรีอินเดียกล่าวว่า "เขา (เบรจเนฟ) จะยืนอยู่ข้างเราในยามที่เราต้องการ"[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Soviets: Changing the Guard". Time. 22 November 1982. p. 1. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.[ลิงก์เสีย]
  2. Blake, Patricia (22 November 1982). 00.html "The Soviets: A Mix of Caution and Opportunism". Time. p. 1. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. Service 2009, p. 426.
  4. 4.0 4.1 "1982: Brezhnev rumours sweep Moscow". BBC Online. 10 November 1982. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
  5. Schmidt-Häuer 1986, p. 80.
  6. White 2000, p. 211.
  7. 7.0 7.1 "Most Pompous Funeral Ceremonies of All Times Were Held in Soviet Union". Pravda. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  8. 8.0 8.1 Nikolaevna 1994, p. 211.
  9. 9.0 9.1 00.html "The Soviets: Changing the Guard". Time. 22 November 1982. p. 2. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. Raymond 1994, p. 86.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 00.html "The Soviets: Changing the Guard". Time. 22 November 1982. p. 3. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  12. 12.0 12.1 Seale 1990, p. 398.
  13. Blake, Patricia; Amfitheatrof, Erik (29 November 1982). 00.html "Soviet Union: The Andropov Era Begins". Time. p. 1. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  14. Bacon, Edward; Sandle, Mark 2002, p. 3.
  15. "ru:Прощание с Великими" (ภาษารัสเซีย). Gazeta 2.0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  16. 16.0 16.1 00.html "The Soviets: Changing the Guard". Time. 22 November 1982. p. 4. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  17. Trudeau, Justin (17 October 2014). "Justin Trudeau's memoir: 'My father was never the same man'". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 2 April 2017.
  18. 00.html "The Soviets: Changing the Guard". Time. 22 November 1982. p. 4. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้