อบ บุญติด(พ.ศ. 2447-1 เมษายน พ.ศ. 2521) อดีตดาราชายอาวุโส ชาวไทย ผู้มีประสบการณ์แสดงยาวนานตามที่มีหลักฐานปรากฏ ตั้งแต่ช่วงแรกของยุคหนังเงียบหรือ "หนังหลวงกล" ซึ่งต่อมาคือบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

เริ่มชีวิตการแสดงจากเล่นจำอวด กับคณะนายทิ้ง มาฬมงคล ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการสวดคฤหัสถ์ มีทั้งบทร้องและกลอนสด [1][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] ก่อนเข้าสู่วงการละครเวที ภาพยนตร์ และโทรทัศน์จำนวนมากมาย

อบ บุญติด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2521 สิริอายุ 74 ปี

ในวงการบันเทิง แก้

แสดงจำอวดกับนายทิ้ง มาฬมงคล ในหนังเงียบทดลองของพี่น้องวสุวัต พ.ศ. 2473 (ปีก่อนหน้า แฉล้ม บัวเปลี่ยนสี เป็นพระเอก รบระหว่างรัก ของหัสดินทร์ภาพยนตร์ ซึ่งต่างยังคงแสดงทั้งจอเงินจอแก้วต่อมาจนถึงต้นทศวรรษ 2510 [2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] ในหนังทีวีชุดแนวนิทานพื้นบ้านและจักรวงศ์)[3][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] และอาจเคยร่วมแสดงในฉากเพลงเงี้ยว เรื่อง หลงทาง ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งกาญจนาคพันธุ์ เคยกล่าวถึงเพลงนี้ว่าร้องโดย นายทิ้ง มาฬมงคล กับพวก [4]

ราวทศวรรษ 2480-2490 ยุคทองของละครเวที แสดงร่วมกับ ดอกดิน กัญญามาลย์ ,มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ,อธึก และ สมศรี อรรถจินดา ฯลฯ [5]

ช่วงทศวรรษ 2500-2510 แสดงภาพยนตร์ของผู้สร้าง/กำกับที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ,พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ,ครูเนรมิต ,สนาน คราประยูร ,สุพรรณ พราหมพันธุ์ และ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และทีวี เช่น นันทาเทวี ทางช่อง 4 บางขุนพรหม ,หนังชุดของดาราฟิล์ม /ดาราวิดีโอ ช่อง 7 สี

นอกจากนี้เคยร่วมแสดงใน This Angry Age (Sea Wall) ของโคลัมเบีย พิคเจอร์ส พ.ศ. 2501 กำกับโดย ดิโน เดอ ลอเรนติส ซึ่งต้องเดินทางไปถ่ายทำที่หาดเจ้าสำราญ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ สตูดิโอในกรุงโรม อิตาลี [6]

เกียรติยศ แก้

แม้ไม่เคยได้รับรางวัลใดในอาชีพการแสดง แต่นับว่าเป็นดาราคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากผู้สร้าง/กำกับชั้นนำและผู้ชมทุกวัย อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นกำเนิดหนังไทยนานถึงราวกึ่งศตวรรษ

ปัจจุบันยังมีผลงานหลายเรื่องเผยแพร่ในรูปแบบวีดิทัศน์ เช่น เชลยศักดิ์ ,เรือนแพ ,เงิน เงิน เงิน ,ผู้ชนะสิบทิศ ,ประกาศิตจางซูเหลียง ,เกาะสวาทหาดสวรรค์ ,อินทรีทอง และ ผมไม่อยากเป็นพันโท เป็นต้น

ผลงาน แก้

การแสดงสด แก้

  • 2473: จำอวด คณะนายทิ้ง มาฬมงคล
  • 2482-2493: ตัวตลกละครเวที

ภาพยนตร์ แก้

  • 2471: ใครเป็นบ้า
  • 2478: พญาน้อยชมตลาด
  • 2482: ลูกทุ่ง
  • 2482: ปิดทองหลังพระ
  • 2493: ชายใจเพชร
  • 2493: พันท้ายนรสิงห์
  • 2494: สามเกลอตามนาง
  • 2494: กฤษดาอภินิหาร
  • 2495: สามเกลอถ่ายหนัง
  • 2496: วนิดา
  • 2496: ไซอิ๋ว
  • 2496: สมิงสาว
  • 2496: ฟ้าคำรณ
  • 2496: ตรางดวงใจ
  • 2496: แม่เสือไพรวัลย์
  • 2497: เพลิงชีวิต
  • 2497: สามเกลอปาบวายร้าย
  • 2498: เหยื่อกามเทพ
  • 2498: ซนแต่สวย
  • 2498: วังนางโรม
  • 2498: โตเกียวพิศวาส
  • 2499: สายรุ้ง
  • 2499: เทพธิดาฮ่อ
  • 2499: สร้อยไข่มุก
  • 2499: สามเกลอหักด่าน
  • 2499: ปีศาจคะนองรัก
  • 2499: ลูกแก้วเมียขวัญ
  • 2499: ฟ้าธรรมาธิเบศร์
  • 2499: สุภาพบุรุษเสือผา
  • 2499: เกียรติศักดิ์รักของข้า
  • 2500: ผิดถนน
  • 2500: หักหลัง
  • 2500: จอมไพร
  • 2500: เล็บครุฑ
  • 2500: มัสยา
  • 2500: ไฟแค้น
  • 2500: รักจำแลง
  • 2500: ทุ่วรวงทอง
  • 2501: ไปดาวพระศุกร์
  • 2501: หลินฟ้า
  • 2501: ไกรทอง
  • 2501: การะเกด
  • 2501: สองพี่น้อง
  • 2501: พล นิกร กิมหงวน ตอน เวทีถล่มและพิชิตเมีย
  • 2502: ภูติเหลือง
  • 2502: เชลยศักดิ์
  • 2502: สิบสองนักสู้
  • 2503: สองฝั่งฟ้า
  • 2503: มนุษย์ผีสิง
  • 2503: ทัดดาวบุษยา
  • 2503: แม่นาคคืนชีพ
  • 2504: เรือนแพ
  • 2504: ดรรชนีนาง
  • 2504: มังกรหยก
  • 2504: ลั่นทมสะอื้น
  • 2505: รุ่งทิพย์
  • 2505: สุริยาที่รัก
  • 2505: จ้าวชีวิต
  • 2505: มนต์รักบ้านนา
  • 2506: ใจเดียว
  • 2506: เอื้อมเดือน
  • 2506: เพลิงทรนง
  • 2507: วันปืน
  • 2507: หัวใจเถื่อน
  • 2507: มังกรคนอง
  • 2507: ศึกประจันตคาม
  • 2508: ชื่นชีวัน
  • 2508: นางไม้
  • 2508: ชบาไพร
  • 2508: ขวัญชีวิต
  • 2508: สันดานดิบ
  • 2508: ชาติฉกรรจ์
  • 2508: กำไลหยก
  • 2508: แผ่นดินสวรรค์
  • 2508: เลือดนอกอก
  • 2508: แว่วเสียงยูงทอง
  • 2508: เงิน เงิน เงิน
  • 2509: พิษพยศ
  • 2509: ปีศาจดำ
  • 2509: ศึกบางระจัน
  • 2509: พระอภัยมณี
  • 2509: โสนน้อยเรือนงาม
  • 2509: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล
  • 2510: ใจนาง
  • 2510: แสนรัก
  • 2510: เหนือเกล้า
  • 2510: โป๊ยเซียน
  • 2510: สิงห์สองแผ่นดิน
  • 2510: เทพธิดาบ้านไร่
  • 2511: พันดง
  • 2511: แมวไทย
  • 2511: ระฆังผี
  • 2511: เงินจ๋าเงิน
  • 2511: ยอดชีวิต
  • 2511: แสนสงสาร
  • 2511: ปราสาทรัก
  • 2511: ฝนหลงฟ้า
  • 2511: ทรามวัยใจเพชร
  • 2512: เกาะสวาทหาดสวรรค์
  • 2512: ผีเสื้อ
  • 2512: ขวัญหล้า
  • 2512: จ้าวป่าช้า
  • 2512: อภินิหารอาจารย์ทอง
  • 2512: ขวัญหล้า
  • 2513: อินทรีทอง
  • 2513: ว่าวน้อย
  • 2513: จุ๊บแจง
  • 2513: แม่ย่านาง
  • 2513: รักนิรันดร์
  • 2513: แม่นาคพระนคร
  • 2513: ลูกหนี้ทีเด็ด
  • 2513: รักชั่วฟ้า
  • 2513: กายทิพย์
  • 2514: วิวาห์พาฝัน
  • 2514: น้องนางบ้านนา
  • 2514: โกรธกันทำไม
  • 2514: น้ำใจพ่อค้า
  • 2514: เชิงชายชาญ
  • 2514: ลมรักทะเลใต้
  • 2514: เจ้าจอม
  • 2515: ศาลาลอย
  • 2515: อเวจีสีชมพู
  • 2515: ขวัญใจลูกทุ่ง
  • 2515: วิวาห์ลูกทุ่ง
  • 2515: แม่ยาย
  • 2515: ฝนสามฤดู
  • 2515: บัวลำพู
  • 2516: ไอ้แดง
  • 2517: รักครั้งแรก
  • 2517: ทองประกายแสด
  • 2518: ผมไม่อยากเป็นพันโท

ละครโทรทัศน์ แก้

  • 2507: นันทาเทวี (ข้าราชบริพาร)[7]
  • 2510: บทขุนนางเสนาบดี ในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์หลายเรื่องตลอดทศวรรษ (2510-2519)

อ้างอิง แก้

  1. เจนภพ จบกระบวนวรรณ ,จำอวดตัวเด่น คอลัมน์ข้าวเกรียบลูกทุ่ง 2009 siamdara.com
  2. กาญจนาคพันธุ์ ,ดูหนังดูละคร จากอนุสรณ์วันพระราชทานตุ๊กตาทอง 17 มีนาคม 2508
  3. ภาพประกอบประวัติเยาวเรศ นิศากร ดาราภาพ เมษายน 2512
  4. ขุนวิจิตรมาตรา ,หลักหนังไทย ,หอภาพยนตร์ชาติ (องค์การมหาชน),2555 ISBN 978-616-543-150-7 หน้า 241-243
  5. อิงคศักดิ์ เกตุหอม ,นี่คือชีวิตของ...ดอกดิน ,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน),2554 ISBN 978-616-543-135-4 หน้า 30
  6. ดำรัส โรจนพิเชฐ ,เมื่อดิโน เดอ ลอเรนติส มาเปิดกล้องกำแพงทะเลที่กรุงเทพ(2),ไทยโพสต์ 28 พย.2553
  7. อารีย์ นักดนตรี โลกมายาของอารีย์ กายมารุต ISBN 974-91018-4-7 หน้า 233