อนุสรณ์สถานประธานเหมา

อนุสรณ์สถานประธานเหมา (จีนตัวย่อ: 毛主席纪念堂; จีนตัวเต็ม: 毛主席紀念堂; พินอิน: Máo Zhǔxí Jìniàn Táng) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สุสานของเหมาเจ๋อตง ตั้งอยู่ที่ใจกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง บนพื้นที่เดิมของอดีตประตูจงหวาเหมิน (จีนตัวย่อ: 中华门; จีนตัวเต็ม: 中華門; พินอิน: Zhōnghuámén) ซึ่งเป็นประตูหลักทางตอนใต้ของนครจักรพรรดิ ในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง เป็นสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของเหมา เจ๋อตง บิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ปี 2486 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2519

อนุสรณ์สถานประธานเหมา
毛主席纪念堂
แผนที่
ชื่ออื่นสุสานของเหมา เจ๋อตง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทอนุสรณ์สถาน, สุสาน
สถาปัตยกรรมโมเดิร์น
ที่ตั้งจัตุรัสเทียนอันเหมิน, เขตตงเฉิง, กรุงปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเทศ จีน
พิกัด39°54′04″N 116°23′29″E / 39.9010°N 116.3915°E / 39.9010; 116.3915
ตั้งชื่อให้เหมา เจ๋อตง
เริ่มสร้าง24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
แล้วเสร็จ24 มีนาคม พ.ศ. 2520
ปรับปรุงพ.ศ. 2540–41
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกสถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมปักกิ่ง
ผู้รับเหมาก่อสร้างคณะกรรมการก่อสร้างเทศบาลปักกิ่ง
เป็นที่รู้จักจากสถานที่พำนักสุดท้ายของเหมา เจ๋อตง
เว็บไซต์
jnt.mfu.com.cn

แม้ว่าเหมา เจ๋อตง จะปรารถนาให้เผาศพของเขา แต่ความปรารถนาของเขากลับถูกเพิกเฉย การก่อสร้างอนุสรณ์สถานเริ่มขึ้นไม่นานหลังจากที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม

ร่างของประธานเหมาถูกดอง และถูกเก็บรักษาไว้ในโถงกลางของอนุสรณ์ ในโลงแก้วที่มีแสงสลัว ถูกอารักขาโดยทหารกองเกียรติยศ

อนุสรณ์สถานประธานเหมาเปิดให้สาธารณชนเข้าชมทุกวันยกเว้นวันจันทร์[1]

ประวัติ แก้

 
อนุสรณ์สถานตั้งอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของประตูจงหวาเหมินมาก่อน

อนุสรณ์สถานสร้างขึ้นไม่นานหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2519 พิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 และสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ประธานฮั่ว กั๋วเฟิง ซึ่งดูแลโครงการก่อสร้างได้เขียนป้ายชื่ออนุสรณ์สถานด้วยลายมือของตนเอง

ประชาชนทั่วประเทศจีนมีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้างอนุสรณ์สถาน โดยมีผู้คน 700,000 คนจากมณฑลต่างๆ เขตปกครองตนเอง และสัญชาติต่างๆ[2]

วัสดุจากทั่วประเทศจีนถูกนำมาใช้สร้างและตกแต่งทั่วทั้งอาคาร เช่น หินแกรนิตจากมณฑลเสฉวน จานลายครามจากมณฑลกวางตุ้ง, ต้นสนจากเมืองหยานอัน ในมณฑลส่านซี, เมล็ดสาโทเลื่อยจากภูเขาเทียนชาน ในเขตปกครองตนเองซินเจียง, หินกรวดสีจากหนานจิง, ควอตซ์สีน้ำนมจากภูเขาคุนหลุน, ไม้สนจากมณฑลเจียงซี และตัวอย่างหินจากยอดเขาเอเวอเรสต์ น้ำและทรายจากช่องแคบไต้หวันยังถูกใช้เพื่อเน้นย้ำถึงการอ้างสิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน

อนุสรณ์สถานแห่งนี้ปิดปรับปรุงเป็นเวลา 9 เดือนในปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะเปิดอีกครั้งในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2541[3]

ประติมากรรม แก้

 
ประติมากรรม 1 ใน 4 ชิ้น ตั้งอยู่ใกล้ทางเข้า-ออกของอนุสรณ์สถาน

ภายในอนุสรณ์สถานมีรูปปั้นของเหมา เจ๋อตง และมีประติมากรรม 4 อีกชิ้นที่ตั้งอยู่ด้านนอกโถงอนุสรณ์สถาน

การเข้าชม แก้

ปัจจุบันอนุสรณ์สถานเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว และมักจะมีบุคคลสำคัญจากต่างประเทศและเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมาเยี่ยมชมบ่อยครั้ง ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ เช่น ฟิเดล คาสโตร ผู้นำคิวบา และประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร แห่งเวเนซุเอลา ที่มาเยี่ยมชมหอรำลึกระหว่างการเดินทางเยือนจีน[4][5]

ในวันที่ พ.ศ. 2562 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงพร้อมด้วยสมาชิกโปลิตบูโรคนอื่นๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เยี่ยมชมอนุสรณ์สถานประธานเหมา[6]

อ้างอิง แก้

  1. "毛主席纪念堂". cpc.people.com.cn. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  2. "The Chairman Mao Memorial Hall Successfully Completed", China Pictorial, 9: 4–12, 1977
  3. "Crowds flock to Mao mausoleum". BBC. January 6, 1998. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
  4. "Castro Honors Mao". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  5. "Venezuela's Maduro pays tribute to 'giant' Mao". MalayMail. September 14, 2018. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  6. "Xi bows to Mao Zedong ahead of Communist China's 70th anniversary". Al Jazeera. Al Jazeera and news agencies. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.