อดุลย์ เหลืองบริบูรณ์

อดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 3 สมัย และอดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี

อดุลย์ เหลืองบริบูรณ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้านพดล พลเสน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2550)
ชาติไทยพัฒนา (2550–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 3 สมัย และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี

ประวัติการทำงาน

แก้
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 3 สมัย
  • ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี
  • รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี
  • ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส.ชาดา ไทยเศรษฐ์
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี
  • กรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร

งานการเมือง

แก้

ภายหลังจากที่นายนพดล พลเสน อดีต ส.ส.อุทัยธานีคนเดิม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการยุบพรรคชาติไทย นายอดุลย์ ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมในนามพรรคชาติไทยพัฒนา ต่อมา กกต. ได้ตัดสิทธิ์นายอดุลย์ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 90 วัน แต่ภายหลังศาลได้ตัดสินแล้วว่า นายอดุลย์ มีคุณสมบัติครบถ้วน จึงให้เป็นผู้สมัครต่อไป ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 นายอดุลย์ ได้รับการเลือกตั้ง ด้วยคะแนน 84,940 คะแนน

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 นายอดุลย์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 ในสังกัดพรรคเดิม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[1]

ต่อมานายอดุลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ผลการนับคะแนนบัตรเลือกตั้งส.ส.จังหวัดอุทัยธานีอย่างไม่เป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-27.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒