องศาเรอเมอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
องศาเรอเมอร์ (อังกฤษ: Rømer Scale, สัญลักษณ์: °Rø) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กโอเล คริสเตนเซน เรอเมอร์ โดยตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1701 ไล่เรี่ยกันกับองศานิวตัน[1] โดยกำหนดให้ 7.5°Rø เป็นจุดเยือกแข็งของน้ำ และ 60°Rø เป็นจุดเดือดของน้ำ โดย 0°Rø คือจุดเยือกแข็งของน้ำ น้ำแข็ง และ เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ (คล้ายกับฟาเรนไฮต์)[2] โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1°Rø คือ 40/21°C เป็นหน่วยอุณหภูมิแรกที่มีการกำหนดตัวเลขอุณหภูมิอย่างชัดเจนร่วมกับองศานิวตัน (ก่อนหน้านั้น เทอร์โมมิเตอร์วัดได้แค่ร้อนหรือเย็นเท่านั้น)[3] เรอเมอร์เป็นคนที่วัดความเร็วแสงได้อย่างเที่ยงตรงเป็นคนแรก[4] จากการสังเกตการณ์สุริยุปราคา และ กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ ได้นำองศาเรอเมอร์มาปรับปรุงในปี ค.ศ.1708 และประดิษฐ์มาตรวัดอุณหภูมิองศาฟาเรนไฮต์[5] ที่กลายเป็นมาตรวัดอุณหภูมิอย่างเป็นทางการในหน่วยวัดแบบอังกฤษ และกลายเป็นที่นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา และ จักรวรรดิบริเตนในอดีต
จากองศาเรอเมอร์ | แปลงให้เป็นองศาเรอเมอร์ | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = ([°Rø] − 7.5) × 40⁄21 | [°Rø] = [°C] × 21⁄40 + 7.5 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = ([°Rø] − 7.5) × 24⁄7 + 32 | [°Rø] = ([°F] − 32) × 7⁄24 + 7.5 |
เคลวิน | [K] = ([°Rø] − 7.5) × 40⁄21 + 273.15 | [°Rø] = ([K] − 273.15) × 21⁄40 + 7.5 |
องศาแรงคิน | [°R] = ([°Rø] − 7.5) × 24⁄7 + 491.67 | [°Rø] = ([°R] − 491.67) × 7⁄24 + 7.5 |
องศาเดลิเซิล | [°De] = (60 − [°Rø]) × 20⁄7 | [°Rø] = 60 − [°De] × 7⁄20 |
องศานิวตัน | [°N] = ([°Rø] − 7.5) × 22⁄35 | [°Rø] = [°N] × 35⁄22 + 7.5 |
องศาโรเมอร์ | [°Ré] = ([°Rø] − 7.5) × 32⁄21 | [°Rø] = [°Ré] × 21⁄32 + 7.5 |
การเปรียบเทียบอุณหภูมิ
แก้เคลวิน | องศาเซลเซียส | องศาฟาเรนไฮต์ | องศาแรงคิน | องศาเดลิเซิล | องศานิวตัน | องศาโรเมอร์ | องศาเรอเมอร์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศูนย์สัมบูรณ์ | 0.00 | −273.15 | −459.67 | 0.00 | 559.73 | −90.14 | −218.52 | −135.90 |
อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก[6] | 184 | −89.2[6] | −128.6[6] | 331 | 284 | −29 | −71 | −39 |
อุณภูมิของน้ำแข็ง น้ำ และ เกลือของฟาเรนไฮต์ | 255.37 | −17.78 | 0.00 | 459.67 | 176.67 | −5.87 | −14.22 | −1.83 |
จุดเยือกแข็งของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) | 273.15 | 0.00 | 32.00 | 491.67 | 150.00 | 0.00 | 0.00 | 7.50 |
อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก | 288 | 15 | 59 | 519 | 128 | 5 | 12 | 15 |
อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ | 310 | 37 | 98 | 558 | 95 | 12 | 29 | 27 |
อุณหภูมิที่สูงที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก[7] | 331 | 58[7] | 136.4[7] | 596 | 63 | 19 | 46 | 38 |
จุดเดือดของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) | 373.1339 | 99.9839 | 211.97102[8] | 671.64102[8] | 0.00 | 33.00 | 80.00 | 60.00 |
จุดหลอมเหลวของไททาเนียม (ณ ระดับน้ำทะเล) | 1941 | 1668 | 3034 | 3494 | −2352 | 550 | 1334 | 883 |
อุณหภูมิของพื้นผิวดวงอาทิตย์ | 5800 | 5500 | 9900 | 10400 | −8100 | 1800 | 4400 | 2900 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Popularization and People (1911–1962). Elsevier. 22 October 2013. pp. 431–. ISBN 978-0-08-046687-3.
... letter from Fahrenheit to his Dutch colleague Hermann Boerhaave (1668–1738) dated 17 April 1729 in which Fahrenheit describes his experience at Rømer's laboratory in 1708.
- ↑ Susan Wills, Steven R. Wills, Meteorology: Predicting the Weather, pp. 19-21, The Oliver Press, Inc., 2003 ISBN 1881508617.
- ↑ Jonathan Shectman, Groundbreaking Scientific Experiments, Inventions, and Discoveries of the 18th Century, pp. 248–49, Greenwood Publishing Group, 2003 ISBN 0313320152.
- ↑ Saito, Yoshio (June 2005). "A Discussion of Roemer's Discovery concerning the Speed of Light". AAPPS Bulletin. 15 (3): 9–17.
- ↑ Neil Schlager; Josh Lauer (2001). Science and Its Times: 1700–1799. Gale Group. pp. 341–. ISBN 978-0-7876-3936-5.
In 1708 Fahrenheit visited Ole Romer (1644–1710). Since at least 1702 Romer had been making alcohol thermometers with two fixed points and a scale divided into equal increments. He impressed upon Fahrenheit the scientific importance of ...
- ↑ 6.0 6.1 6.2 The Coldest Inhabited Places on Earth; researchers of the Vostok Station recorded the coldest known temperature on Earth on July 21st 1983: −89.2 °C (−128.6 °F).
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "World: Highest Temperature". Arizona State University, School of Geographical Sciences. November 12, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2013.
an Italian weather station in al 'Aziziyah (Libya) measured a temperature of 58 °C (136.4 °F) on September 13th 1922. "Although this record has gained general acceptance as the world's highest temperature recorded under standard conditions, the validity of the extreme has been questioned."
- ↑ 8.0 8.1 "Comparison of temperature scales". Tampile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-22.