องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา (อังกฤษ: Fish Marketing Organization) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2496 มีผลบังคับใช้ในวันถัดมา เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมประมง โดยในระยะแรกได้รับโอนกิจการแพปลา ของกรมการประมง มาจัดตั้งเป็นนิติบุคคล[4]

องค์การสะพานปลา
Fish Marketing Organization
เครื่องหมายราชการ

สะพานปลากรุงเทพ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง21 มกราคม พ.ศ. 2496
สำนักงานใหญ่211 ซอยเจริญกรุง 58 ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี88.7806 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อำพันธุ์ เวฬุตันติ[2], ประธานกรรมการ
  • ปรีดา ยังสุขสถาพร[3], ผู้อำนวยการ
  • สุทักษ์ จิระรัตนวงศ์, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์http://www.fishmarket.co.th

การดำเนินงาน แก้ไข

องค์การสะพานปลา เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้จากการจำหน่ายสัตว์น้ำ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมง และค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยรายได้ส่วนใหญ่มากจากค่าบริการ ค่าธรรมเนียม (95.2 ล้านบาท) และการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป (92.1 ล้านบาท) รวมมูลค่ารายได้ในปี พ.ศ. 2553 จำนวน 320 ล้านบาท แต่องค์การสะพานปลา มีรายจ่ายประจำในการบริหารและการดำเนินงานกว่า 174 ล้านบาท รวมแล้วในปี พ.ศ. 2553 มีกำไรสุทธิจำนวน 1.18 ล้านบาท[5]

องค์การสะพานปลา ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2563[6]

สะพานปลา แก้ไข

องค์การสะพานปลา มีอำนาจจัดตั้งสะพานปลา โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปัจจุบันมีสะพานในความดูแลขององค์การสะพานปลา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่[7]

  1. สะพานปลากรุงเทพ เป็นท่าเทียบติดแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 62 ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496[8] เป็นตลาดกลางในการประมูลซื้อขายแลกเปลี่ยนสัตว์น้ำแหล่งสำคัญของกรุงเทพฯ
  2. สะพานปลาสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[9]
  3. สะพานปลาสมุทรสาคร ริมแม่น้ำท่าจีน ถนนวิเชียรโชฎก ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2511[10] เป็นสะพานที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 รองจากสะพานปลากรุงเทพ[11]
  4. สะพานปลานครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547[12]

ท่าเทียบเรือประมง แก้ไข

องค์การสะพานปลา มีสำนักงานท่าเทียบเรือประมง ในความดูแลจำนวน 14 แห่ง ได้แก่

  • ระนอง
  • หัวหิน
  • อ่างศิลา
  • ตราด
  • ปราณบุรี
  • สงขลา 1
  • สงขลา 2
  • นราธิวาส
  • ชุมพร
  • ชุมพร หลังสวน
  • สตูล
  • สุราษฎร์ธานี
  • ภูเก็ต
  • ปัตตานี

อ้างอิง แก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. มติครม. 14 มีนาคม 2566
  3. เปิดวิสัยทัศน์ “ปรีดา ยังสุขสถาพร” ผอ.องค์การสะพานปลาคนใหม่
  4. พระราชบัญญัติจัดระเบียบแพปลา พ.ศ. 2496
  5. "รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-22.
  6. องค์การสะพานปลา เปิดรับสมัครหามือบริหารนั่งแท่น ผอ.อสป.คนใหม่ ภายใน 17 พ.ค.นี้
  7. ทำเนียบสะพานปลาในประเทศไทย
  8. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลากรุงเทพ
  9. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลาสมุทรปราการ
  10. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลาสมุทรสาคร
  11. สะพานปลาสุมรสาคร[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  12. ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลานครศรีธรรมราช