องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. (อังกฤษ: Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) : DASTA) เป็นองค์การมหาชน สังกัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 49ก ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 [2] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 เล่ม 136 ตอนที่ 44ก ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 [3]
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organisation) | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 |
สำนักงานใหญ่ | 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
งบประมาณต่อปี | 469.2633 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
เว็บไซต์ | www.dasta.or.th |
ปัจจุบันองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
หน้าที่ของหน่วยงาน
แก้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีหน้าที่บริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ เป็นองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และประสานงานกับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ
ขั้นตอนการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ
แก้- คัดเลือกพื้นที่พิเศษ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้น แล้วเสนอระดับนโยบายพิจารณา
- สำรวจสภาพพื้นที่ ด้านภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ประชุมหารือร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่พิเศษ
- เสนอคณะกรรมการ กพท. พิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ
- จัดทำแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ
พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
แก้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 10 แห่ง ปัจจุบันคงเหลือที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบจำนวน 9 แห่ง ได้แก่
- หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง[4]
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้โอนไปเป็นภารกิจของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)- เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง[6]
- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร[7]
- จังหวัดเลย[8]
- เมืองเก่าน่าน[9]
- เมืองโบราณอู่ทอง[10]
- ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา[11]
- เชียงราย[12]
- คุ้งบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ[13]
-
อุทยานแห่งชาติหมู่เก่าะช้าง
-
เมืองพัทยา
-
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร
-
วัดภูมินทร์ – น่าน
-
สามเหลี่ยมทองคำ – เชียงราย
พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชน
แก้นอกจากการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว อพท. ยังได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ อพท. ได้ดำเนินการแล้วจำนวน 20 ชุมชน ประกอบด้วย
- ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
- บ้านเปร็ดใน ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
- บ้านสลัก ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
- ตำบลเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
- ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- บ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
- บ้านเขาเพ-ลา ตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- บ้านวอแก้ว ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
- บ้านบางโรง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
- ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
- ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
- ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
- วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
- ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- บ้านห้วยสะพาน ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
- อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
- อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
การบริหารงาน
แก้ปัจจุบัน อพท. มีผู้อำนวยการคือ นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี และมีสำนักงานพื้นที่พิเศษรับผิดชอบพื้นที่พิเศษในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย จำนวน 9 สำนักงาน ได้แก่
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท. หมู่เกาะช้าง)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท. พัทยา)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท. สุโขทัย)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย (อพท. เลย)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน (อพท. น่าน)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง (อพท. อู่ทอง)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (อพท. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย (อพท. เชียงราย)
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคุ้งบางกะเจ้า (อพท. คุ้งบางกะเจ้า)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 49ก ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 44ก ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดเลย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน
- ↑ ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
- ↑ ประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคุ้งบางกะเจ้า