ห้างทอง ธรรมวัฒนะ
ห้างทอง ธรรมวัฒนะ (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 – 6 กันยายน พ.ศ. 2542) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย สังกัดพรรคประชากรไทย และอดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ห้างทอง ธรรมวัฒนะ | |
---|---|
ห้างทอง ในปี พ.ศ. 2533 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 |
เสียชีวิต | 6 กันยายน พ.ศ. 2542 (50 ปี) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | พรรคประชากรไทย |
คู่สมรส | นางหยิน เหยา นางอัญชลี ธรรมวัฒนะ |
ประวัติ
แก้นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายอาคม ฉัตรชัยยนต์ และ นางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ[1] สำเร็จการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจาก University of Texas, Austin และวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตจาก Asian Institute of Technology (A.I.T.)
งานการเมือง
แก้ห้างทอง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชากรไทย ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[2] ปฏิบัติหน้าที่ประจำรัฐมนตรีช่วยฯ (ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์)
ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[3] ปฏิบัติหน้าที่ประจำรัฐมนตรีช่วยฯ (ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์)
จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 เขาเสียชีวิตในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ห้างทอง ธรรมวัฒนะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
การเสียชีวิต
แก้ห้างทอง ธรรมวัฒนะ เสียชีวิตอย่างปริศนาจากการถูกอาวุธปืนยิงที่ศีรษะ ในบ้านพักของตนเอง เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2542 ขณะมีอายุ 50 ปี[4] ในขณะนั้น นพดล ธรรมวัฒนะ น้องชายของเขา ตกเป็นผู้ต้องหาว่าฆ่าพี่ชายของตนเอง[5] ต่อมาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องนายนพดล เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
การเสียชีวิตของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ นำไปสู่การฟ้องร้องกันเองระหว่างญาติพี่น้องของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ[6]จำนวนกว่า 48 คดี
ต่อมาลูกชายนาย ห้างทอง ได้ยื่นฟ้อง ณฤมล ธรรมวัฒนะกรณีถอดถอนเขาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ ๒๔๓/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี (นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ)เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗๔ง วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๕๘๗/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ)เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๐๑ง วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ "ย้อนรอยคดีมรดกเลือด"ธรรมวัฒนะ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2013-09-23.
- ↑ ปิดฉากศึกชิงมรดกตระกูล "ธรรมวัฒนะ" 14 ปี 48 คดีที่คาศาล
- ↑ http://www.tnews.co.th/html/contents/99111/[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.dailynews.co.th/crime/400039
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘