หินดำ (อาหรับ: ٱلْحَجَرُ ٱلْأَسْوَد, อัลฮะญะรุลอัสวัด) เป็นหินที่ตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์ อาคารโบราณที่อยู่ตรงกลางมัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุสลิมเคารพหินนี้เป็นเรลิกของอิสลาม ซึ่งมีธรรมเนียมมุสลิมระบุว่าหินนี้มีอายุตั้งแต่สมัยอาดัมและอีฟ[1]

หินดำ (ตรงกลาง ไม่ใช่ตรงที่เป็นที่ครอบด้วยเงิน) ที่ติดอยู่กับกะอ์บะฮ์

หินที่กะอ์บะฮ์ก้อนนี้ได้รับการเคารพบูชาในสมัยก่อนการมาของอิสลาม ตามธรรมเนียมอิสลามระบุว่า ศาสดามุฮัมมัดนำหินก้อนนี้มาติดที่กำแพงกะอ์บะฮ์ใน ค.ศ. 605 ห้าปีก่อนได้รับโองการแรก นับตั้งแต่นั้ันมา หินนั้นถูกทำให้แตกเป็นชิ้น ๆ และปัจจุบันนำไปครอบด้วยเงินที่มุมกะอ์บะฮ์ รูปร่างหินเป็นหินสีเข้มที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งถูกขัดให้เรียบด้วยมือของผู้แสวงบุญ และมักได้รับการกล่าวถึงเป็นอุกกาบาต[2]

ผู้แสวงบุญมุสลิมเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ (เฏาะวาฟ) ในช่วงฮัจญ์ และมีหลายคนพยายามหยุดเพื่อจุมพิตหินดำ โดยเลียนแบบการจูบตามธรรมเนียมอิสลามที่บันทึกไว้ว่าได้รับจากมุฮัมมัด[3][4] แม้ว่ามุสลิมให้การเคารพหินดำ แต่พวกเขาไม่ได้บูชามัน[5][6]

รูปลักษณ์ แก้

 
ภาพวาดด้านหน้าและด้านข้างของชิ้นส่วนหินดำในคริสต์ทศวรรษ 1850

หินดำเคยเป้นหินก้อนเดียว แต่ปัจจุบันประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นที่ประสานเข้าด้วยกัน โดยมีกรอบเงินที่ยึดด้วยตะปูเงินเข้ากับผนังด้านนอกของกะอ์บะฮ์อยู่ล้อมรอบหินนี้[7] ชิ้นส่วนเหล่านี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่าซึ่งรวมกันเป็นชิ้นส่วนหินเจ็ดหรือแปดชิ้นที่มองเห็นได้ในปัจจุบัน ส่วนที่เปิดเผยของหินมีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร (7.9 นิ้ว) กับ 16 เซนติเมตร (6.3 นิ้ว) ส่วนขนาดดั้งเดิมยังไม่เป็นที่กระจ่าง และข้อมูลมุมที่บันทึกเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เนื่องจากชิ้นส่วนหินได้รับการจัดเรียงใหม่หลายต่อหลายครั้ง[2] โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ผู้สังเกตกล่าวถึงหินนี้ว่ามีความยาวเพียง 1 Cubit (46 เซนติเมตร หรือ 18 นิ้ว) จากนั้นในช่วงต้นคริสตืศตวรรษที่ 17 มีบันทึกว่าหินมีความยาว 140 โดย 122 เซนติเมตร (4 ฟุต 7 นิ้ว โดย 4 ฟุต 0 นิ้ว) อาลี เบย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 รายงานว่าหินมีความสูง 110 เซนติเมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว) และมุฮัมมัด อะลี พาชารายงานว่าหินมีความยาว 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว) และกว้าง 46 เซนติเมตร (1 ฟุต 6 นิ้ว)[2]

หินดำติดอยู่ที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์ ซึ่งมีชื่อว่า อัรรุกนุลอัสวัด ('มุมหินดำ')[8] ส่วนหินอีกก้อนที่ตั้งอยู่มุมตรงข้ามของหินดำในมุม อัรรุกนุลยะมานี ('มุมเยเมน') มีความสูงค่อนข้างต่ำกว่าหินดำ[9] การเลือกมุมตะวันออกอาจมีความสำคัญทางพิธีกรรม เนื่องเป็นมุมที่เจอกับลมตะวันออกพัดพาฝนมา (อัลเกาะบูล) และเป็นทิศทางที่ดาวคาโนปัสขึ้น[10]

แผ่นเงินที่อยู่รอบหินดำและกิสวะฮ์หรือผ้าคลุมกะอ์บะฮ์สีดำ ได้รับการบำรุงรักษาจากสุลต่านออตโตมันในฐานะผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองมาหลายศตวรรษ แผ่นนั้นสึกหรอไปตามกาลเวลาเนื่องจากต้องรับมือกับผู้แสวงบุญเป็นอย่างมากและมีการเปลี่ยนเป็นระยะ แผ่นที่ชำรุดนำกลับไปที่อิสตันบูล โดยนำไปจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของ sacred relics ในพระราชวังโทพคาปึ[11]

ความหมายและการแสดงสัญลักษณ์ แก้

 
กะอ์บะฮ์ที่มักกะฮ์ หินดำอยู่ที่มุมตะวันออกของอาคาร

ชาวมุสลิมกล่าวว่าหินดำนี้ถูกพบโดยอับราฮัม (อิบรอฮีม) และอิชมาเอล (อิสมาอีล) บุตรชายของท่าน ในขณะกำลังหาหินเพื่อนำมาก่อสร้างกะอ์บะฮ์ โดยท่านทั้งสองตระหนักเห็นในคุณค่าของหินดำ จึงได้นำหินดำมาประดิษฐานที่มุมหนึ่งของกะอ์บะฮ์

มุสลิมเชื่อว่าหินนี้เคยมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลายเป็นสีดำเนื่องจากบาปของผู้ที่แตะต้องมัน[12][13]

ตามธรรมเนียมศาสดาบันทึกว่า "การแตะมันทั้งสอง (หินดำและ อัรรุกนุลยะมานี) เป็นการลบล้างบาป"[14] และมีฮะดีษบันทึกว่า เมื่อเคาะลีฟะฮ์ อุมัร (ค.ศ. 580–644) เดินทางมาจุมพิตหิน เขากล่าวว่า: "ข้ารู้ว่า ท่านก็คือหินก้อนหนึ่งที่ไม่มีอันตราย ไม่มีประโยชน์ และหากแม้นว่าข้าไม่เห็นท่านศาสดามุฮัมมัดจูบท่านล่ะก็ ข้าก็จะไม่จูบท่าน"[15]

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ แก้

ธรรมชาติของหินดำยังคงเป็นที่ถกเถียง โดยมีการกล่าวถึงหินหลายแบบ เช่น เป็นหินบะซอลต์, โมรา, ชิ้นส่วนแก้วธรรมชาติ หรือหินอุกกาบาต Paul Partsch [de] ภัณฑารักษ์ฝ่ายชุดสะสมแร่ธาตุของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ตีพิมพ์การวิเคราะห์หินดำอย่างครอบคลุมเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1857 โดยเขาโปรดปรานสมมติฐานต้นกำเนิดจากอุกกาบาต[16] Robert Dietz และ John McHone เสนอใน ค.ศ. 1974 ว่าหินดำแท้จริงเป็นโมรา โดยตัดสินจากลักษณะทางกายภาพของมันและมีรายงานโดยนักธรณีวิทยาชาวอาหรับว่าหินมีลักษณะการแพร่กระจายของหินโมราที่มองเห็นได้ชัดเจน[2]

เบาะแสสำคัญเกี่ยวกับธรรมชาติของมันมาจากรายงานการฟื้นฟูหินใน ค.ศ. 951 หลังหินนี้ถูกปล้นสดมออกไป 21 ปี พงศาวดารรายงานว่า หินถูกระบุด้วยความสามารถในการลอยน้ำ ถ้ารายงานนี้เป็นจริง ก็จะเป็นการชี้ขาดว่าหินดำเป็นโมรา, ลาวาบะซอลต์, หรือหินอุกกาบาต แม้ว่าจะเทียบเท่ากับแก้วหรือหินพัมมิซด้วย[7]

Elsebeth Thomsen จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนเสนออีกสมมติฐานหนึ่งใน ค.ศ. 1980 ว่าหินดำอาจเป็นชิ้นส่วนแก้ว หรือ impactite จากการพุ่งชนของอุกกาบาตที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ เมื่อ 6,000 ปีที่แล้วที่วาบัร[17] พื้นที่ในทะเลทรายรุบอุลคอลีทางตะวันออกของมักกะฮ์ 1,100 กม. การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พื้นที่วาบัรใน ค.ศ. 2004 กล่าวแนะว่าเหตุการณ์พุ่งชนเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด และอาจเกิดขึ้นในช่วง 200–300 ปีที่ผ่านมา[18]

นักธรณีวิทยามองสมมติฐานอุกกาบาตว่าเป็นที่สงสัย ทางพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของอังกฤษเสนอแนะว่ามันอาจเป็นอุกกาบาตเทียม (pseudometeorite) หรือเป็นหินบนโลกที่ถูกระบุผิดเป็นอุกกาบาต[19]

หินดำไม่เคยได้รับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และต้นกำเนิดของมันยังคงเป็นหัวข้อของการคาดเดา[20]

อ้างอิง แก้

  1. Sheikh Safi-ur-Rehman al-Mubarkpuri (2002). Ar-Raheeq Al-Makhtum (The Sealed Nectar): Biography of the Prophet. Dar-us-Salam Publications. ISBN 978-1-59144-071-0.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Burke, John G. (1991). Cosmic Debris: Meteorites in History. University of California Press. pp. 221–23. ISBN 978-0-520-07396-8.
  3. Elliott, Jeri (1992). Your Door to Arabia. Lower Hutt, N.Z.: R. Eberhardt. ISBN 978-0-473-01546-6.
  4. Mohamed, Mamdouh N. (1996). Hajj to Umrah: From A to Z. Amana Publications. ISBN 978-0-915957-54-5.
  5. Hedin, Christer (2010). "Muslim Pilgrimage as Education by Experience". Scripta Instituti Donneriani Aboensis. 22: 176. CiteSeerX 10.1.1.1017.315. doi:10.30674/scripta.67366. OCLC 7814979907. S2CID 191262972.
  6. "Do Muslims Worship The Black Stone Of The Kaaba?". bismikaallahuma.org. สืบค้นเมื่อ October 15, 2005.
  7. 7.0 7.1 Bevan, Alex; De Laeter, John (2002). Meteorites: A Journey Through Space and Time. UNSW Pres. pp. 14–15. ISBN 978-0-86840-490-5.
  8. Ali, Maulana Muhammad (25 July 2011). The Religion of Islam. Ahmadiyya Anjuman Ishaat Islam Lahore USA. p. 351. ISBN 978-1-934271-18-6.
  9. Glassé, Cyril; Smith, Huston (2003). The New Encyclopedia of Islam. Rowman Altamira. p. 245. ISBN 978-0-7591-0190-6.
  10. Al-Azmeh, Aziz (2017). The Emergence of Islam in Late Antiquity: Allah and His People. Cambridge University Press. p. 200. ISBN 978-1-316-64155-2.
  11. Aydın, Hilmi (2004). The sacred trusts: Pavilion of the Sacred Relics, Topkapı Palace Museum. Tughra Books. ISBN 978-1-932099-72-0.
  12. Saying of the Prophet, Collection of Tirmizi, VII, 49
  13. Shaykh Tabarsi, Tafsir, vol. 1, pp. 460, 468. Quoted in translation by Francis E. Peters, Muhammad and the Origins of Islam, p. 5. SUNY Press, 1994. ISBN 0-7914-1876-6
  14. ibn Isa at-Tirmidhi, Muhammad. Jami' at-Tirmidhi: Book of Hajj. Vol. 2nd, Hadith 959.
  15. University of Southern California. "Pilgrimage (Hajj)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2006.
  16. Partsch, Paul Maria (1857). "Über den schwarzen Stein der Kaaba zu Mekka, mitgetheilt aus den hinterlassenen Schriften des wirklichen Mitgliedens" (PDF). Denkschriften der Mathematisch-naturwissenschaftlichen Classe der Kaiserlichen Akademie der Wissenschaften zu Wien. Erste Abtheilung (13): 1–5.
  17. Thomsen, E. (1980). "New Light on the Origin of the Holy Black Stone of the Ka'ba". Meteoritics. 15 (1): 87. Bibcode:1980Metic..15...87T. doi:10.1111/j.1945-5100.1980.tb00176.x.
  18. Prescott, J. R. (2004). "Luminescence dating of the Wabar meteorite craters, Saudi Arabia". Journal of Geophysical Research. 109 (E1): E01008. Bibcode:2004JGRE..109.1008P. doi:10.1029/2003JE002136. ISSN 0148-0227.
  19. Grady, Monica M.; Graham, A.L. (2000). Grady, Monica M. (บ.ก.). Catalogue of meteorites: with special reference to those represented in the collection of the Natural History Museum, London. Vol. 1. Cambridge University Press. p. 263. ISBN 978-0-521-66303-8.
  20. Golia, Maria (2015). Meteorite: Nature and Culture (ภาษาอังกฤษ). Reaktion Books. ISBN 978-1780235479.

บรรณานุกรม แก้

21°25′21.02″N 39°49′34.58″E / 21.4225056°N 39.8262722°E / 21.4225056; 39.8262722