หาดชะอำ เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว มีร้านค้าและบริการมากมายอยู่บริเวณชายหาด เช่น ร้านอาหาร บริการเช่าเตียงผ้าใบ บริการขี่ม้า บริการเรือสกี เป็นต้น

หาดชะอำ

รัฐสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีมาก จนได้ให้มีการสร้างค่ายหลวงบางทะลุ ที่หาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี แต่ที่ตำบลบางทะลุมีแมลงวันชุกชุม พระองค์จึงได้รับสั่งให้ย้ายการก่อสร้างมาทางทิศใต้ของชายฝั่งเพชรบุรี ณ หาดชะอำ เพื่อก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อนที่ก่อสร้างด้วยไม้สักทั้งองค์พระตำหนัก และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระราชวังแห่งนี้ว่า "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" โดยมีตัวพระที่นั่งที่ยื่นออกไปยังทะเล[1]

กระนั้นมาชายหาดชะอำก็ได้เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆของสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยตลอดมา

ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช แก้

ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร [2] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [3] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่ [4]

อ้างอิง แก้

  1. พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
  2. พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑
  3. "ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.
  4. ประชาสัมพันธ์การเรียกชื่อชายฝั่งทะเล ตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ถึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ว่า"ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"[ลิงก์เสีย]
  • ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนนามพระราชวังบ้านปืน และค่ายหลวงบางทลุ แขวงจังหวัดเพชรบุรี, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ก, ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๐๘