หัมปี (Hampi) หรือ หัมเป (Hampe) หรือเรียกว่า กลุ่มอนุสรณ์สถานที่หัมปี (Group of Monuments at Hampi) เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย[1]

กลุ่มโบราณสถานที่หัมปี
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ที่ตั้งอำเภอพาลลรี, รัฐกรณาฏกะ, ประเทศอินเดีย
รวมถึงวิรูปักษะมนเทียร
เกณฑ์พิจารณาCultural: i, iii, iv
อ้างอิง241
ขึ้นทะเบียน1986 (สมัยที่ 10)
ภาวะอันตราย1999-2006
พื้นที่4,187.24 ha
พื้นที่กันชน19,453.62 ha
เว็บไซต์Archaeological Survey of India - Hampi
พิกัด15°20′04″N 76°27′44″E / 15.33444°N 76.46222°E / 15.33444; 76.46222
หัมปีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
หัมปี
ที่ตั้งหัมปี ในประเทศอินเดีย
หัมปีตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
หัมปี
หัมปี (รัฐกรณาฏกะ)

ในอดีต หัมปีเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิวิชัยนคร ในศตววรณที่ 14[2] บันทึกเหตุการณ์ของนักเดินทางชาวเปอร์เซียและยุโรปโดยเฉพาะชาวโปรตุเกส ระบุว่าหัมปีเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง, มั่งคั่ง และยิ่งใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตุงคภัทร ในเมืองเต็มไปด้วยวิหาร บ้านเรือน และตลาด ในช่วงปี 1500 หัมปีวิชัยคร เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองในบรรดาเมืองยุคกลาง เป็นรองเพียงปักกิ่ง และเป็นไปได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในอินเดียในยุคนั้น มีทั้งผู้ค้าจากเปอร์เซียและโปรตุเกส[3][4]จักรวรรดิวิชัยนครสิ้นสุดลงหลังพ่ายแพ้ภายหลังการปะทะกับรัฐสุลต่านมุสลิม เมืองหลวงหัมปีถูกยึดครอง ทุบทำลายและลักเอาของมีค่าไปโดยกองทัพของสุลต่านในปี 1565 หลังจากนั้นหัมปีก็อยู่ในสภาพเป็นซากปรักหักพังมาโดยตลอด[2][5][6]

ปัจจุบันหัมปีตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ ใกล้กับเมืองโหสปีตี ซากปรักหักพังของหัมปีกินพื้นที่มากกว่า 4,100 เฮกตาร์ (16 ตารางไมล์) และยูเนสโกได้ยกย่องให้หัมปีเป็น "แหล่งที่ขึงขังและยิ่งใหญ่ (austere, grandiose site)" ที่มี 1,600 อาคารที่ยังหลงเหลือมาถึงในปัจจุบัน ของอาณาจักรฮินดูอันยิ่งใหญ่อาณาจักรสุดท้ายของอินเดียใต้ ประกอบไปด้วยทั้ง "ป้อมปราการ, พื้นที่ริมแม่น้ำ, หมู่อาคารหลวงและศาสนสถาน, เทวาลัย, ศาล, หอที่มีเสา, มณฑป, อนุสาวรีย์, สิ่งก่อสร้างเพื่อขนส่งน้ำและอื่น ๆ"[7]

หัมปีมีอายุเก่าแก่กว่าอาณาจักรวิชัยนคร มีหลักฐานแสดงในจารึกยุคพระเจ้าอโศกมหาราชและมีปรากฏใน รามายณะ และบรรดาปุราณะในศาสนาฮินดูด้วยชื่อปัมปา (ปารวตี) เทวีตีรถะเกษตร[2][8] ในปัจจุบัน หัมปียังคงมีความสำคัญในทางศาสนา เช่นวิรูปักษะมนเทียร ซึ่งเป็นเทวาลัยของอาทิศังการะ และยังคงมีผู้เข้ามาสักการะรวมถึงมีพิธีกรรมอยู่ตลอด[5][9]

คำว่าหัมปีมาจากภาษากันนาดาเก่า ปัมปา (Pampaa) อันแปลว่าใหญ่หรือยิ่งใหญ่

อ้างอิง แก้

  1. "Group of Monuments at Hampi". World Heritage. สืบค้นเมื่อ 20 December 2006.
  2. 2.0 2.1 2.2 Anila Verghese 2002, pp. 1–18
  3. Michael C. Howard (2011). Transnationalism and Society: An Introduction. McFarland. pp. 77–78. ISBN 978-0-7864-8625-0.
  4. Nicholas F. Gier (2014). The Origins of Religious Violence: An Asian Perspective. Lexington. pp. 11–14. ISBN 978-0-7391-9223-8., Quote: "In its peak of glory, ca. 1500, with a population of about 500,000 and sixty square miles in area, Vijayanagara was the second largest city in the world behind Beijing."
  5. 5.0 5.1 Fritz & Michell 2016, pp. 11–23, backpage
  6. Lycett, Mark T.; Morrison, Kathleen D. (2013). "The Fall of Vijayanagara Reconsidered: Political Destruction and Historical Construction in South Indian History 1". Journal of the Economic and Social History of the Orient. 56 (3): 433–470. doi:10.1163/15685209-12341314.
  7. Group of Monuments at Hampi, UNESCO
  8. John M. Fritz; George Michell; Clare Arni (2001). New Light on Hampi: Recent Research at Vijayanagara. Marg Publications. pp. 1–7. ISBN 978-81-85026-53-4.
  9. Joan-Pau Rubiés (2002). Travel and Ethnology in the Renaissance: South India Through European Eyes, 1250–1625. Cambridge University Press. pp. 234–236. ISBN 978-0-521-52613-5.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้