หอเทวาลัยเกษตรพิมาน

หอเทวาลัยเกษตรพิมาน[1] เดิมเรียก หอเทวาลัยมหาเกษตร[2] เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ก่อสร้างตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เดิมเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์และพระอิศวร ปัจจุบันหอเทวาลัยเกษตรพิมานตั้งอยู่ภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ส่วนเทวรูปทั้งสองถูกจัดแสดงภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[3]

หอเทวาลัยเกษตรพิมาน
หอเทวาลัยมหาเกษตร
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทเทวาลัยทรงมณฑป
เมืองตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ประเทศไทย ประเทศไทย
ผู้สร้างพระมหาธรรมราชาที่ 1

ประวัติ แก้

หอเทวาลัยเกษตรพิมาน หรือหอเทวาลัยมหาเกษตร ก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่เป็นที่ปรากฏชัด ทราบแต่เพียงว่าในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 เป็นต้นไป[1] ใน จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ระบุว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ไว้ภายในเทวาลัยสำหรับสักการบูชาของเหล่าดาบสและพราหมณ์ทั้งหลายเมื่อปี พ.ศ. 1892[2] อันแสดงให้เห็นว่าราชสำนักสุโขทัยในขณะนั้น ให้การอุปถัมภ์ศาสนาพุทธและฮินดูไปพร้อม ๆ กัน และคาดว่าคงมีพิธีกรรมในราชสำนักเช่นเดียวกับสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์[3] ภายในเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปสำริดขนาดใหญ่สององค์คือพระอิศวรและพระนารายณ์ นอกจากนี้ยังประดิษฐานเทวรูปเล็ก ๆ องค์อื่นอีก อาทิ พระพรหม พระหริหระ และเทวีในศาสนาฮินดู (อาจเป็นพระปารวตีหรือพระลักษมี)[3]

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่าจารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) นี้คงจารึกโดยพราหมณ์ในราชสำนักที่ใช้ภาษาเขมรเป็นสำคัญ[1]

โครงสร้าง แก้

หอเทวาลัยเกษตรพิมานเป็นมณฑปขนาดใหญ่ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ตัวมณฑปมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการสร้างเสาเป็นหลักแล้วก่อผนังมาชนเสา เสาก่อด้วยอิฐรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่จำนวนแปดเสา ตัวอาคารหันไปทางทิศตะวันออก[1] ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวว่าเทวาลัยแห่งนี้เป็นมณฑปหลังเดียวโดด ๆ ไม่มีวิหารด้านหน้า และไม่มีคูน้ำล้อมรอบต่างจากขนบการสร้างวัดร่วมสมัย นอกจากนี้ฐานชุกชีทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีการลดระดับหนึ่งชั้นสำหรับประดิษฐานเทวรูป[1]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "หอเทวาลัยเกษตรพิมาน". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร)". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-07. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย, หน้า 118-120
บรรณานุกรม
  • ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561. 224 หน้า. ISBN 978-616-7674-15-5

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

17°00′20″N 99°24′40″E / 17.005565°N 99.411015°E / 17.005565; 99.411015